2696_9705
7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๙ เดือนเมษายน ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ งานวรรณกรรมทุกแขนงไว้เป็นจำนวนมากไว้กว่า ๗๐ เรื่อง ทั้งร้อยแก้วและร้อย- กรอง ในรูปของบทละคร เรื่องสั้น สารคดี งานแปลและงานปรับแปลงเพื่อให้เหมาะ สมแก่รสนิยมของคนไทย ทรงฟื้นฟูการละครทั้งแบบไทยและแบบตะวันตก ดังนั้น ประชาชาติไทยจึงถวายพระสมัญญาภิไธยแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งแปลว่า ผู้ทรงเป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ วรรณกรรมรามเกียรติ์ในภาษาไทย พบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และกรุง รัตนโกสินทร์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด มีครบทุกตอนแต่ต้นจนจบ บทละครรามเกียรติ์ พระราช- นิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ไม่จบทั้งเรื่อง เริ่มต้นตั้งแต่พระรามให้หนุมานไปถวายแหวนแก่ นางสีดา ไปจนถึงราชาภิเษกพระราม อีกตอนหนึ่งเริ่มตั้งแต่พระรามประพาสป่า นาง อดูลปีศาจลวงนางสีดา ไปจึงถึงการอภิเษกพระรามกับนางสีดาที่เขาไกรลาสแล้วทั้ง สองเสด็จกลับเมือง นอกจากนี้ยังมีบทพากย์โขนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอน นางลอย นาคบาศ พรหมาสตร์ ศึกมังกรกรรฐ์ และเอราวัณ ในสมัยพระบาทสมเด็จ- พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีโคลงภาพรามเกียรติ์จารึกใต้แผ่นศิลาจำหลักติด พนักรอบพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ มีไม่ครบทั้งเรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดงเพียงตอน เดียว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงพระ ราชนิพนธ์โคลงรามเกียรติ์ด้วยพระองค์เอง ๒๒๔ บท และทรงชักชวนพระบรมวงศา- นุวงศ์และนักปราชญ์ข้าราชการร่วมกันแต่งโคลงอธิบายภาพรามเกียรติ์ไว้ที่ผนังพระ ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้งเรื่อง รวมเป็นโคลงจำนวน ๔๙๘๔ บท บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า- เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้หลายตอนเพื่อใช้ แสดงโขน มีเป็นลำดับชุดดังต่อไปนี้ ๑. สีดาหาย ตอนที่ ๑ : สูรปะนขาหึง ตอนที่ ๒ : ตามกวาง ๒. เผาลงกา ๓. พิเภษณ์ถูกขับ ๔. จองถนน (มี ๒ ตอน) ๕. ประเดิมศึกลงกา ตอนที่ ๑ : ศุกะสารัณปลอมพล ตอนที่ ๒ : สุครีพหักฉัตร์ ตอนที่ ๓ : องคทสื่อสาร ๖. นาคบาศ เหตุผลที่ทรงพระราชนิพนธ์และความแตกต่างจากบทละครที่มีมาก่อน ดังที่ทรง อธิบายไว้ในคำนำบทละครเรื่องรามเกียรติ์ว่า “บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่รวมอยู่ใน เล่มนี้ เป็นบทที่ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นเป็นครั้งคราวสำหรับเล่นโขน มิได้ตั้งใจที่จะให้เป็น หนังสือกวีนิพนธ์สำหรับอ่านเพราะ ๆ หรือดำเนินเรื่องราวติดต่อกันฉะนั้นเลย บท เหล่านี้ได้แต่งขึ้นสำรับความสะดวกในการเล่นโขนโดยแท้ จึงมีทั้งคำกลอนอันเป็น บทร้อง บทพากย์ และเจรจาอย่างโขนระคนกันอยู่ ตามแต่จะเหมาะแก่การเล่น ออกโรงจริง ๆ” และทรงออกตัวว่า “ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจเลยที่จะแต่งบทเหล่านี้ขึ้นใหม่ เพื่อแข่งขันกับพระราชนิพนธ์เก่า เป็นแต่มีความตั้งใจที่จะดำเนินเรื่องโดยทางที่แปลก กว่าที่เคยมีมาแล้ว เพื่อชวนให้คนดูนึกแปลกหน่อยเท่านั้น” และทรงอธิบายว่ามิได้ ทรงพระราชนิพนธ์โขนที่เรียกว่าชุดใหญ่ เช่น ชุดนางลอย เพราะทรงทราบดีว่า “ถึง ข้าพเจ้าจะแต่งขึ้นใหม่ก็คงสู้บทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ไม่ได้เลยเป็นแน่นอน” ส่วน ชุดพรหมาสตร์ก็ทรงรู้สึกอีกว่า “คงจะแต่งสู้พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ไม่ได้” ส่วน เหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ ทั้ง ๒ ชุดนี้ไม่ปรากฏในเรื่องรามายณะของพระวาลมีกิ ส่วนในชุดจองถนนเรื่องนางมัจฉากับปลาบริวารมาขนศิลาไปนั้นก็ไม่มีในรามายณะ “ในบทละครของข้าพเจ้าจึงไม่มี” อีกประการหนึ่งนามตัวละครในบทรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ ๖ เขียนสะกดตัว อักษรต่างกับที่เคยใช้กันมา เช่น “พระลักษมณ์” (แทน “พระลักษณ์”) “สูรปะนขา” (แทน “สำมะนักขา”) “ทูษณ์” (แทน “ทูต”) “มารีจ” (แทน “มารีศ”) “องคท” (แทน “องคต”) ทศกรรฐ์ (แทน “ทศกัณฐ์”) “พิเภษณ์” (แทน “พิเภก”) “กุมภกรรณ” (แทน “กุมภกรรฐ์”) “มหาปรรศวะ” หรือ “มหาปรรศวาสูร” (แทน “เปาวนาสูร”) “ที่เขียน สะกดใหม่เช่นนี้เพื่อให้ถูกต้องตามของเดิมในคัมภีร์รามายณะ มิใช่แผลงเล่นเฉย ๆ ” ส่วนชื่อวานรและรายละเอียดเกี่ยวกับพญาวานรบางตัวก็ทรงถือตามรามายณะ เช่น นิลนลในรามเกียรติ์ ในรามายณะคือนลลูกพระวิศวกรรม จึงแต่งเสื้อดำหน้าดำ ส่วนนิลภัทร์ในรามเกียรติ์คือ นิล ในรามายณะ เป็นลูกพระเพลิง แต่งเสื้อแดงหน้า แดง ชมพูพาน ในรามายณะเป็นหมี จึงแต่งเครื่องเป็นหมีในรามเกียรติ์ของพระองค์ นอกจากนี้ทรงพบยักษ์ชื่อใหม่ ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในรามเกียรติ์ จึงทรงคิดหน้าโขนขึ้นใหม่ เช่น ประหัสต์ เสนาบดีของทศกรรฐ์ ทรงให้มีหน้าม่วงแก่ มงกุฎกนก เป็นต้น ทรง กล่าวไว้ด้วยว่า ธิดาของพิเภษณ์ในรามายณะชื่อ นันทา มิใช่เบญกายดังในรามเกียรติ์ ชื่อศรของพระรามซึ่งมีทั้งหมด ๕ เล่ม บางเล่มเรียกเพี้ยนไปในรามเกียรติ์ ส่วนในเนื้อเรื่องนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า “แท้จริงเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ฉบับของข้าพเจ้ากับฉบับพระราชนิพนธ์ก่อน ๆ นี้ก็ไม่ผิด เพี้ยนกันปานใดนัก เป็นแต่แปลกในวิธีดำเนินการบางตอนเท่านั้น” ตัวละครที่แปลกไป จากรามเกียรติ์ฉบับก่อน ๆ มากก็คือ พิเภษณ์ ลักษณะเด่นของพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๖ ประการที่ ๑ เนื่องจากรามเกียรติ์ในฉบับรัชกาลที่ ๖ แต่งขึ้นเพื่อใช้เล่นโขน จึง มีทั้งบทเล่าเรื่อง บทเจรจา บทพากย์ มิใช่ดำเนินเรื่องไปเรื่อย ๆ ดังรามเกียรติ์ในฉบับ รัชกาลที่ ๑ ทรงเลือกเฉพาะตอนที่เหมาะแก่การแสดงโขนมาทรงพระราชนิพนธ์ มิได้ ดำเนินเรื่องไปตามลำดับติดต่อกันไป ประการที่ ๒ แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะตรัสว่าทรงพระราช- นิพนธ์ตามรามายณะของอินเดีย แต่มิได้ทรงพระราชนิพนธ์ตามเรื่องเดิมทุกตอน (เช่น หนุมานก็ยังคงเป็นลูกพระพาย มิใช่ลูกพระอิศวร) และบางตอนก็คล้ายรามเกียรติ์ ฉบับรัชกาลที่ ๑ เช่น ดับไฟที่หางด้วยการเอาหางอมในปาก เพียงแต่ไม่ต้องไปขอคำ แนะนำจากฤษีก่อนดังเช่นในฉบับรัชกาลที่ ๑ ประการที่ ๓ ในเรื่องที่ผิดกับของเดิมไปมากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงยึดของเดิมเป็นหลักเพื่อความเป็นธรรมแก่ตัวละคร ดังจะเห็นได้ว่าชุด พิเภษณ์ถูกขับ ทรงให้พิเภษณ์เป็นยักษ์มีเหตุผล กล้าพูดกล้าทำไม่เกรงกลัวทศกรรฐ์จน กลายเป็นตัวตลกดังในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ ๑ พิเภษณ์กล้าทัดทานทศกรรฐ์และติ เตียนอินทรชิต เมื่อถูกทศกรรฐ์ขับไล่ก็มาขอพึ่งพระราม ประการที่ ๔ เรื่องพิเภษณ์เป็นโหรนั้น ไม่มีในฉบับรัชกาลที่ ๖ เมื่อศุกะและ สารัณปลอมเป็นลิงเข้าไปสืบข่าวในค่ายพระราม พิเภษณ์ดูออกว่าเป็นยักษ์แปลงมา เพราะยักษ์ด้วยกันจะดูท่าทางลักษณะออก ในศึกนาคบาศ พิเภษณ์และ ๔ เสนีคู่ใจก็ ออกรบอย่างองอาจด้วย โดยพยายามเข้าห้ามอินทรชิต แต่อินทรชิตไม่ฟังพิเภษณ์ กลับต่อสู้กัน พิเภษณ์ป้องกันตัว แต่ไม่ต้องการฆ่าหลาน พวกวานรเกรงว่าอากับหลาน จะฆ่ากันจึงเข้าไปรบกับอินทรชิตและไพร่พล อินทรชิตนิมิตรูปมายาของตนเองไว้ ๘ ทิศ ล่อให้วานรไล่จับรูปมายา ตนเองแผลงศรนาคบาศไปยังพระรามและพระลักษมณ์ โขนชุดนาคบาศฉบับรัชกาลที่ ๖ และฉบับรัชกาลที่ ๒ มีรายละเอียดไม่เหมือน เช่น อินทรชิตแผลงศรไปต้องพระลักษมณ์สลบเพียงองค์เดียว และพระรามแผลงศรเป็น ครุฑไปสังหารนาค พระลักษมณ์จึงฟื้น ส่วนยักษ์ผู้สร้างรูปนิมิตขึ้นจำนวนหนึ่งเพื่อล่อ พระรามคือมังกรกัณฐ์ พระรามต้องยิงด้วยศรพรหมาสตร์ มังกรกัณฐ์จึงตาย สรุปได้ ว่าโขนฉบับรัชกาลที่ ๖ แสดงต่างไปจากฉบับรัชกาลที่ ๒ พอควร ความแตกต่าง เป็นการสร้างเรื่องให้น่าสนใจและแปลกใหม่ อีกประการหนึ่งพระบาทสมเด็จ- พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคงทรงเห็นว่าเนื้อเรื่องในฉบับรัชกาลที่ ๒ ค่อนข้างสับสน เช่น มีตอนที่อินทรชิตชุบศรพรหมาสตร์ ซึ่งเป็นชื่อศรของพระราม ท่านจึงทรงข้าม ตอนนี้ไป.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=