2696_9705

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สมดุลของนิเวศวิทยาของแม่น้ำได้ นอกจากนี้ภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผล ทำให้อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นก็เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ธารน้ำแข็งหลายแห่งที่ให้น้ำแก่ แม่น้ำโขงในบริเวณต้นน้ำมีสภาพที่ลดขนาดลง เนื่องจากการละลายที่เร็วกว่าการ สะสมตัวของน้ำแข็ง ซึ่งในระยะต่อมาก็จะมีผลทำให้การให้น้ำแม่น้ำโขงลดลง ภาวะ ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นภาวะคุกคามที่มีต่อแม่น้ำซึ่งควรได้รับการศึกษาอย่าง จริงจัง และควรมีความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในปัจจุบันมี เขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำที่สร้างเสร็จและดำเนินการแล้ว ๓ แห่งในแม่น้ำโขงที่อยู่ในเขต ประเทศจีน ประเทศจีนมีโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอีกหลายแห่งในแม่น้ำโขงใน อีก ๑๐ ปีข้างหน้า ขณะนี้ยังไม่มีเขื่อนที่จะสร้างขวางแม่น้ำโขงในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงตอนล่างถึง ๑๑ แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งอยู่ในระยะการพัฒนาที่แตกต่างกัน และมีอยู่หนึ่งแห่งที่จะเป็นเขื่อน กั้นแม่น้ำสายหลักในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี กิจกรรมดังกล่าวอาจก่อให้เกิดภาวะ คุกคามต่างๆ มีผลต่อความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งต่อมาอาจยังผลให้มีการเปลี่ยนแปลง ในวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ดังนั้นมาตรา ๖๗ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน ย่อมต้องให้ความคุ้มครอง สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชา ภาษาไทย บรรยายเรื่อง การทำให้เป็นไทย Thai-ization ความโดยสรุปว่า “การ ทำให้เป็นไทย” มีทั้งความหมายกว้างและความหมายแคบ ความหมายกว้างหมายถึง การทำให้เป็นไทยที่อาจรวมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่นับว่า “เป็นไทย” ทั้งที่แสดงออก ทางกาย วาจา และใจ ดังเช่นที่สังคมอังกฤษในสมัยโบราณเคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของ สังคมโรมัน จึงเกิดกระบวนการที่เรียกว่า Romanization หรือการทำให้เป็นโรมันใน ด้านวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การแต่งกาย ฯลฯ เพราะเกิดความนิยม ว่าวัฒนธรรมโรมันเป็นวัฒนธรรมที่สูงกว่าวัฒนธรรมเดิม “การทำให้เป็นไทย” ในความหมายทางด้านวัฒนธรรมบางครั้งก็สร้างความไม่ พอใจให้แก่คนบางกลุ่ม เช่น ผู้คนในบางท้องถิ่นในประเทศไทยที่ไม่ต้องการให้วิถีชีวิต ของคนในถิ่นถูก “ทำให้เป็นไทย” ในทำนองเดียวกับที่คนไทยบางกลุ่มก็ไม่ต้องการให้ สังคมไทยตกอยู่ใต้อิทธิพลของ Americanization, Japanization หรือ Koreanization “การทำให้เป็นไทย” ในความหมายแคบหมายถึงการใช้ตัวอักษรไทยเขียนคำใน ภาษาที่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรไทย หรือเขียนคำในภาษาที่ไม่เคยมีระบบเขียนมาก่อน อักษรโรมันหรืออักษรละตินคือชุดตัวอักษรที่ภาษาส่วนใหญ่ในยุโรปและอเมริกา นำมาใช้เป็นตัวแทนในระบบการเขียน ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่ภาษาในทวีปอื่น ๆ อีก ทั้งในออสเตรเลีย แอฟริกา และเอเชีย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน แต่ละภาษาก็ได้นำ อักษรโรมันไปใช้แทนเสียงในภาษาของตน โดยอาจจะดัดแปลงรูปร่างไปบ้างและอาจ จะไม่ได้ใช้เสียงเดียวกันกับที่ภาษาอื่นนำไปใช้ก็ได้ เช่น ในระบบพินยินของภาษาจีน ตัว b ออกเสียงคล้าย ป ปลา ในภาษาไทย ไม่เหมือนกับเสียง b ในภาษาอังกฤษ ซึ่ง ออกเสียงคล้าย บ ใบไม้ ในภาษาไทย ฉะนั้นเมืองหลวงของประเทศจีน Beijing จึง อ่านว่า [เป่ย์จิง] ไม่ใช่ [เบจิง] ในทำนองเดียวกันการนำอักษรไทยไปใช้ในระบบการเขียนของภาษาอื่น ไม่ว่า ภาษานั้นจะมีระบบการเขียนอยู่แล้วหรือไม่ก็อาจจะเรียกได้ว่า Thai-ization หากเรา เรียกการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันหรือการเขียนภาษาไทยด้วยอักษรโรมันว่า Romanization (การถอดอักษรอื่นเป็นอักษรโรมัน) การใช้อักษรไทยเขียนแทนอักษร อื่นก็น่าจะเรียกได้ว่า Thai-ization (การถอดอักษรอื่นเป็นอักษรไทย) เช่นกัน ในกรณีของภาษาที่ยังไม่เคยมีระบบเขียนมาก่อน เราก็อาจจะนำตัวอักษรชุดใด ชุดหนึ่งเข้าไปเป็นตัวแทนของเสียงในภาษานั้น ๆ ได้ ดังเช่นที่คณะนักสอนศาสนา อเมริกันได้ใช้อักษรโรมันเขียนภาษาฮาวายใน ค.ศ. ๑๘๒๖ (พ.ศ. ๒๓๖๙) วิธีการเช่นนี้ อาจจะเรียกได้ว่า การใช้อักษรโรมันแทนเสียง (Romanized transcription) ในกรณีของภาษาไทยท้องถิ่นที่ยังไม่มีตัวอักษรใช้ เราก็อาจจะนำตัวอักษรไทยไป ใช้เขียนภาษาเหล่านั้นได้ วิธีการเช่นนี้ก็น่าจะเรียกว่า การใช้อักษรไทยแทนเสียง (Thai-ized transcription) ได้เช่นกัน ดังในกรณีของภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาใน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร ใช้พูดกันในหมู่ชาวชองใน ระยอง จันทบุรีและตราด มีผู้พูดทั้งหมด ๕,๕๐๐ คน ในกัมพูชามี ๕๕,๐๐ คน ตามแนว ชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างจังหวัดจันทบุรีของไทยกับจังหวัดโพธิสัตว์ของกัมพูชา การฟื้นฟูภาษาท้องถิ่นด้วยการใช้อักษรไทยเขียนนี้นับว่าเป็นการรักษา วัฒนธรรมท้องถิ่นไว้มิให้สูญสิ้น ราชบัณฑิตยสถานจึงได้ตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้น มาเพื่อให้ทำหน้าที่นี้ นั่นคือ คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่ม ชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย ในกรณีที่ภาษามีระบบการเขียนอยู่แล้ว ก็อาจจะมีการเสนอให้ใช้อักษรอีกชุด หนึ่งเขียนภาษานั้นเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น การใช้อักษรไทยเขียน คำภาษาสันสกฤต การใช้อักษรโรมันเขียนคำภาษาไทย ที่เรียกกันว่า การถอดอักษร ไทยเป็นอักษรโรมัน ภาษาที่คณะกรรมการฯ เสนอใช้อักษรไทยเพื่อระบบการเขียน ภาษาหนึ่งก็คือ ภาษามลายูปาตานี ซึ่งใช้กันในพื้นที่ซึ่งเป็นอาณาเขตของ “เมืองปา- ตานี” ในอดีต อันหมายรวมถึงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในปัจจุบัน แต่ เดิมมาภาษานี้เขียนด้วยอักษรยาวี ซึ่งเป็นอักษรอาหรับที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเขียน คำภาษามลายู ระบบการเขียนภาษามลายูปาตานีที่ใช้อักษรไทยเป็นฐานนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ ใช้ในโครงการการเรียนการสอนแบบทวิภาษา โดยให้ผู้เรียนใช้ภาษามลายูถิ่น (มลายู ปาตานี/สตูล) และภาษาไทยเป็นสื่อ ผู้เรียนซึ่งเริ่มหัดอ่านเขียนผ่านภาษามลายูปา- ตานีด้วยอักษรไทยก่อนก็จะสามารถถ่ายทอดทักษะการอ่านเขียนด้วยอักษรไทย เพื่อ เชื่อมโยงไปสู่การเรียนภาษาไทยได้ดีขึ้น ส่วนข้าราชการที่ปฏิบัติงานในจังหวัด ชายแดนภาคใต้และผู้สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้ภาษามลายูได้ง่ายขึ้น เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ได้มีรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ว่านักเรียนในโรงเรียน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทดลองเรียนแบบนี้มีผลการ เรียนภาษาไทยดีขึ้นถึง ๓๕ เปอร์เซ็นต์ นักเรียนส่วนใหญ่มีความสุขในห้องเรียนและ หนีเรียนน้อยลง ทั้งนี้ก่อนที่จะเริ่มการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ว่านี้ นักเรียนไม่มีความ สุขกับบทเรียน เพราะทุกอย่างสอนเป็นภาษาไทยโดยไม่มีตัวเชื่อมหรือตัวช่วย เมื่อนำ ภาษาท้องถิ่นมาช่วยก็ทำให้การเรียนดีขึ้นเป็นอย่างมาก ฉะนั้นการใช้อักษรไทยเขียนภาษาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นแบบ Thai-ization (การถอด อักษรอื่นเป็นอักษรไทย) หรือ Thai-ized transcription (การใช้อักษรไทยแทนเสียง) จึงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียนในท้องถิ่นที่มิได้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาแม่ ผลที่ตามมาก็คือความเข้าใจอันดีของคนในชาติเดียวกันที่แม้ว่าจะใช้ ภาษาแม่ต่างกันก็ตาม • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง พระรามดก ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุเจริญ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง แบบเรียนวิชาการประสานเสียง ฉบับทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายของพระเจนดุริยางค์ ความโดยสรุปว่า การประสานเสียง (harmony) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการวางเสียงประสาน เป็นกระบวนการกำหนดกลุ่ม เสียงหรือคอร์ด และกำหนดกุญแจเสียง เสียงประสานเป็นส่วนประกอบสำคัญของ ดนตรีที่เกิดขึ้นในแนวตั้งพร้อมสอดประสานรับกับทำนองได้อย่างเหมาะสม การประสานเสียงเป็นกระบวนการที่มีหลักการที่เป็นแบบแผนชัดเจนมาเป็น เวลากว่า ๔๐๐ ปีแล้ว และยังคงเป็นหัวใจของดนตรีสากล เป็นเนื้อหาวิชาการด้าน ดนตรีซึ่งผู้เรียนดนตรีทั่วทุกมุมโลกต้องศึกษา เมื่อเป็นรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัย ย่อมมีความต้องการตำราด้านนี้ ในประเทศไทย แบบเรียนวิชาการ ประสานเสียง ฉบับทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ของพระเจนดุริยางค์ เป็นตำราการ ประสานเสียงที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกของประเทศ โดยพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เนื่องจากตำราการประสานเสียงทุกยุคทุกสมัย ยังคงอิงเนื้อหาเดิมเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาจึงอยู่ในกรอบเดิมมาตลอด แต่จุดที่เปลี่ยนไป จากตำรารุ่นเก่า ก็คือ การใช้ภาษา แบบเรียนวิชาการประสานเสียง ฉบับทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย ของพระเจนดุริยางค์ มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย หลายแง่ เช่น การเลือกใช้คำ การบัญญัติศัพท์ การสร้างคำ การทับศัพท์ การย่อคำ การใช้อักษรย่อ ฯลฯ รวมถึงการใช้สำนวนภาษาที่ไม่คุ้นหูในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมี ข้อคิดที่ดีสำหรับนักดนตรี นับเป็นตำราที่มีคุณค่าด้านดนตรี ด้านประวัติศาสตร์ เนื้อหาไม่ล้าสมัย สมควรที่จะได้รับการแผยแพร่ให้กว้างขวางต่อไป • วันอังคารที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขา วิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ บรรยายเรื่อง พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยอย่างยิ่งต่องานวรรณกรรมทั้งไทยและต่างประเทศ ทรงพระราชนิพนธ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=