2696_9705

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๙ เดือนเมษายน ๒๕๕๔ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก ทำให้รัฐบาลต้องมีนโยบายในการจัดการภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตโดยมีมิติที่ต้องพิจารณาคือ การจัดการ ด้านภัยพิบัติ การเฝ้าระวังและระบบเตือนภัย การฟื้นฟูครอบครัวผู้รอดชีวิต ชุมชน และธรรมชาติให้กลับคืน บทความนี้เป็นการปรับปรุงมาจากโครงการการจัดการภัย พิบัติในเอเชีย (Disaster Management in Asia) ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ และโครงการภัยพิบัติสึนามิเป็นโครงหนึ่งที่ได้รับความสนับสนุนจากสมาพันธ์ นักสังคมสงเคราะห์นานาชาติ (International Federation for Social Workers) ใน ประเด็นการจัดการภัยพิบัติสึนามิในประเทศไทยนั้น มีองค์การนานาชาติจำนวนมากที่ มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่ช่วงที่เกิดเหตุการณ์จนถึงปัจจุบัน เช่น องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้สนับสนุนการทำงานด้าน การเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต การเยียวยาและการฟื้นฟู กิจกรรมเพื่อส่งเสริม สุขภาพที่ดี เช่น การเสริมสร้างสถาบันครอบครัวและเด็ก สำนักโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ (UNDP) ในประเทศไทย เน้นโครงการฟื้นฟูทางสังคม การจัดโครงการ หมุนเวียนเงินลงทุน การฝึกอาชีพ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและ การท่องเที่ยว การปลูกต้นสนตามป่าชายเลนเพื่อป้องกันภัยพิบัติ การสร้างศูนย์ ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับระบบการเตือนภัย การพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีใน การป้องกันภัยพิบัติ และยังมีความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งจากภาครัฐ ภาค เอกชน ในประเทศและระหว่างประเทศยังคงดำเนินต่อไป นอกจากนี้ การศึกษา หาความรู้ในด้านการจัดการภัยภิบัติจากอดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนผลกระทบต่อ เศรษฐกิจครอบครัวและสังคมยังคงเป็นประเด็นในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ การเพิ่มความ สามารถในการถ่ายเทความร้อนในระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น (Heat Transfer Enhancement in Refrigeration and Air Conditioning System) ” ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner) และอุปกรณ์ทำความเย็น (Refrigerator) ถือเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ของสังคมไทย ประกอบกับประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศและ เครื่องทำความเย็นและส่งออกสินค้าประเภทนี้เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก การทำวิจัยและ พัฒนา ตลอดจนการเตรียมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้อย่างลึกซึ้ง ถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยปรกติกระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างของไหล ๒ ชนิดที่มี อุณหภูมิแตกต่างกันสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความ ร้อน (Heat Exchanger) ถ้าอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนถูกออกแบบมาอย่างดี การถ่ายเทความร้อนก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มความสามารถในการ ถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer Enhancement) ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเพิ่ม สมรรถนะ (Performance) ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการ ประหยัดพลังงานหรือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า การบรรยายในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอผลงานของผู้บรรยายและคณะ โดยจะ กล่าวถึงการนำศาสตร์ทางการถ่ายเทความร้อนและมวล (Heat and Mass Transfer) กลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics) และเธอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics) มาประยุกต์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนให้มี สรรถนะสูงขึ้น โดยเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็น ความรู้ใหม่ต่าง ๆ ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานเหล่านี้ สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์ให้มีสมรรถนะสูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ อุตสาหกรรมโดยตรง ทางกลุ่มวิจัยได้ทำงานวิจัยลงลึกในแต่ละส่วนของเครื่อง ทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ อย่างละเอียดลึกซึ้งและต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจาก งานวิจัยพื้นฐาน (Basic research) เข้าสู่งานวิจัยประยุกต์ (Applied research) จนถึงการจดสิทธิบัตร ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาสัตวแพทย์ศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ ดัชนีชี้วัดภาวะ oxidative stress ในพลาสม่าของโคนมพันธุ์ผสมที่เลี้ยงในโรงเรือนที่ทำความเย็นและ การให้เสริมรีคอมบิแนนท์โบวายโซมาโตโทรปิน ” ความโดยสรุปว่า การเลี้ยงโคนมใน ภูมิภาคเขตร้อนชื้นเช่นประเทศไทย การผลิตน้ำนมมักได้รับผลผลกระทบจากสภาพ อากาศร้อน แม้จะมีการคัดเลือกโคที่มีการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างโคพื้นเมืองกับโคพันธุ์ แท้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ช่วยให้การเลี้ยงโคที่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี ขึ้น แต่แม่โคพันธุ์ผสมยังมีการให้ผลผลิตน้ำนมต่ำและอัตราการกินอาหารลดลง จึงมี การหาวิธีการต่าง ๆ ในการลดภาวะเครียดจากความร้อนของโคนมพันธุ์ผสมที่ยังมี สายเลือดพันธุ์แท้สูงที่ลี้ยงในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิสูง การใช้พัดลมพ่นละอองน้ำเป็น วิธีหนึ่งที่ถูกเลือกใช้ในการลดภาวะ Heat stress เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมในแม่โค นอกจากนี้การเพิ่มผลผลิตน้ำนมในแม่โคโดยการใช้ฮอร์โมน bovine somatotropin (bST) พบว่าแม่โคมีการตอบสนองในการให้ผลผลิตนมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ ๑๕- ๒๕ โดยแม่โคจะต้องได้รับอาหารเพียงพอสำหรับใช้ในการสังเคราะห์น้ำนม ในขณะ เดียวกันแม่โคจะมีการสร้างความร้อนภายในร่างกายเพิ่มขึ้นจากการเผาผลาญอาหาร และการสังเคราะห์น้ำนมที่เพิ่มขึ้นจากผลของ bST อย่างไรก็ตามข้อมูลด้านการ เปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากภาวะเครียดจากความร้อนที่มีผลต่อกลไกการเกิด oxidative stressที่จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายและผลผลิตน้ำนมในแม่โคนม พันธุ์ผสมยังมีรายงานน้อยโดยเฉพาะ ในโคนมที่ได้รับการฉีดฮอร์โมน bST และเลี้ยง ในโรงเรือนภายใต้ระบบพัดลมพ่นละอองน้ำ การศึกษาผลของการให้รีคอมบิแนนท์โบวายโซมาโตโทรปินเสริมในโคนมที่เลี้ยง ในโรงเรือนที่มีการทำให้เย็นโดยการใช้พัดลมพ่นละอองน้ำ ต่อการเปลี่ยนแปลงของ ดัชนีชี้วัด oxidative stress ในพลาสม่าของโคนมพันธุ์ผสมโฮสไตน์ ร้อยละ ๘๗.๕ จำนวน ๑๐ ตัว โดยแบ่งโคนมที่ศึกษาออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๕ ตัว ที่เลี้ยงอยู่ในโรง เรือนปกติ (NS) เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับความเย็นและกลุ่มที่อยู่ในโรงเรือนที่มีพัดลมพ่น ละอองน้ำเป็นกลุ่มที่ได้รับความเย็น (MF) โคนมแต่ละตัวในทั้ง ๒ กลุ่มจะได้รับการ เสริมรีคอมบิแนนท์โบวายโซมาโตโทรปิน (rbST) โดยการฉีด rbST เข้าใต้ผิวหนังขนาด ๕๐๐ ม.ก. ติดต่อกัน ๓ ครั้งห่างกันทุก ๑๔ วัน ในแต่ละระยะของการให้นม (ระยะต้น ระยะกลาง และระยะท้ายของการให้นม) จากการวัดอุณหภูมิแวดล้อม ในโรงเรือน MF ในช่วงเวลา ๑๓.๐๐ น. พบว่า จะต่ำกว่าในโรงเรือน NS อย่างมีนัยสำคัญแต่ ความชื้นสัมพัทธ์จะสูงกว่า โคนมที่เลี้ยงในโรงเรือน NS จะมีอุณหภูมิร่างกายทาง ทวารหนักและอัตราการหายใจสูงกว่าโคนมที่เลี้ยงในโรงเรือน MF อัตราการให้นมจะ เพิ่มขึ้นในโคนมทั้งที่เลี้ยงอยู่ในที่เย็นและโรงเรือนปกติเมื่อมีการให้ rbST ในทุกระยะ ของการให้นม การตรวจระดับความเข้มข้นของค่า sulfhydryl (SH) residue และ thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) ในพลาสม่าไม่พบการ เปลี่ยนแปลงในโคนมทั้ง ๒ กลุ่ม ไม่ว่าจะได้รับสารเสริม rbST หรือไม่ แต่ค่าความ เข้มข้นของ ascorbic acid ในพลาสม่าและในน้ำนมของโคนมที่เลี้ยงในโรงเรือน NS จะมีค่าต่ำกว่าโคนมที่อยู่ในโรงเรือน MF ในระยะต้นและระยะกลางของการให้นม จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับ ascorbic acid ที่เป็น สารต้านอ๊อกซิเดชั่น ทั้งในพลาสม่าและในน้ำนมจะเป็นตัวดัชนีชี้วัด ที่ไวต่อภาวะ oxidative stress ในโคนมพันธุ์ผสม เมื่ออยู่ในภาวะแวดล้อมอุณหภูมิสูง ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาการประมง บรรยายเรื่อง “ มาตรา ๖๗ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยกับระบบนิเวศของลุ่มแม่น้ำโขง ” ความโดยสรุปว่า มาตรา ๖๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ระบุถึงสิทธิของบุคคลในการที่จะมี ส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในหมวดที่สองของมาตรานี้ได้กำหนดให้มีองค์การ อิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (NGOs) และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้ ดำเนินการให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเฉพาะกาล (กอสส.) ขึ้น และมีการเสนอร่าง พรบ. องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎร หน้าที่ของ กอสส. คือการให้ความเห็นแก่โครงการหรือกิจกรรมที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ แม่น้ำโขงได้เอื้อประโยชน์ให้กับประชากรมากกว่า ๖๐ ล้านคนที่อาศัยอยู่ใน บริเวณลุ่มน้ำแห่งนี้ตั้งแต่ตอนบนจนถึงตอนล่าง การใช้ประโยชน์ในอดีตไม่ค่อยเป็น ปัญหามากนักในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุลของปริมาณการไหลของแม่น้ำ เพราะส่วนใหญ่เป็นการใช้ไปในกิจกรรมทางการเกษตรและการประมง ต่อมาการเพิ่ม ของราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้มีการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการ ป้องกันภาวะน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและเพิ่มปริมาณน้ำในหน้าแล้ง อย่างไรก็ดีการ สร้างเขื่อนก่อให้เกิดประเด็นปัญหาสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการประมงและภาวะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=