2696_9705

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขา วิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง กฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติของไทย ความโดยสรุปว่า เมื่อรัฐจำเป็นต้องมีการปกครองรัฐ เรื่องราวเกี่ยวกับผู้ปกครองหรือ ประมุขของรัฐย่อมเป็นกฎเกณฑ์การปกครองรัฐประการหนึ่งซึ่งจะต้องกำหนดรูปแบบ คุณสมบัติ วิธีเข้าสู่ตำแหน่ง วาระ อำนาจหน้าที่ และการพ้นจากตำแหน่งให้ชัดเจน ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมาแต่โบราณ คุณลักษณะสำคัญของพระ มหากษัตริย์คือการเป็นที่พึ่งแก่ราษฎรได้ ที่พึ่งในที่นี้หมายถึงทั้งในด้านการบำรุงขวัญ การทำให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินได้ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งเป็นเรื่อง ของพิธีกรรมและบุญญาธิการ ในด้านการปกป้องคุ้มครองจากภยันตรายต่าง ๆ โดย เฉพาะข้าศึกศัตรู ซึ่งเป็นเรื่องของการเป็นนักรบผู้เก่งกล้าสามารถ และในด้านการ บำบัดทุกข์บำรุงสุขซึ่งเป็นเรื่องของการให้ความเป็นธรรม ประมุขแบบนี้มีการสืบทอด ความเป็นผู้นำและผู้นำไม่มีวาระ ฝ่ายศาสนาและนักปราชญ์จึงได้สร้างหรือนำหลัก ธรรมต่าง ๆ เข้ามาช่วยเป็นเครื่องกำกับและเหนี่ยวรั้งมิให้การสืบทอดอำนาจและการ ไม่มีวาระกลายเป็นโทษแก่ราษฎร การสืบราชสมบัติจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันความคงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะจะทำให้รู้ว่า ประมุขในรูปแบบนี้มีที่มาอย่างไรและจะยังคงอยู่ต่อไปไม่ขาดช่วง ทั้งจะเกิดความ แน่นอน และไม่ทำให้ราษฎรสับสน ในบางประเทศได้กำหนดกฎเกณฑ์นี้ไว้ในกฎหมาย สูงสุดของประเทศที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ ในบางประเทศที่จัดทำกฎเกณฑ์นี้คนละเวลา กับช่วงที่จัดทำรัฐธรรมนูญก็จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการนี้เป็นการเฉพาะ ประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศหลังตามกฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติของไทยในความหมายที่ว่า เป็น “กฎ” คือ สิ่งที่ตราขึ้นไว้เป็นแบบแผนและ “เกณฑ์” คือสิ่งที่ถือปฏิบัติตามที่เป็น จริงดังที่ได้พัฒนามาบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ คตินิยมทางศาสนา จารีตประเพณี การเมือง และกฎหมาย ในช่วงศตวรรษแรกของการสถาปนากรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๑๑) ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าการสืบราชสมบัติมีกฎเกณฑ์หรือไม่ และ มีว่าอย่างไร แต่การที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงตั้งพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระนามพระราเมศวร ไปครองเมืองลพบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่านติดต่อ กับชายแดนอาณาจักรขอมและอาณาจักรสุโขทัย ทั้งต่อมาพระราเมศวรก็ได้ขึ้นครอง ราชย์ เป็นเหตุให้ในรัชกาลหลัง ๆ มีธรรมเนียมตั้งพระราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นพระ ราเมศวร และได้ขึ้นครองราชย์เช่นกัน แสดงว่าน่าจะมีกฎเกณฑ์บ้างแล้ว การสืบราช- สมบัติในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงใช้ธรรมเนียมเช่นเดียวกับสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนปลายคือการมอบราชสมบัติแด่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระ มหาอุปราชซึ่งเป็นการอนุโลมตามกฎมณเฑียรบาล ในสถานการณ์ที่ไม่มีสมเด็จหน่อ พระพุทธเจ้า แต่ถ้ากรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตไปก่อนแล้ว และพระมหากษัตริย์ไม่ ได้ทรงตั้งกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ใหม่ บรรดาผู้มีส่วนได้เสียสำคัญในแผ่นดินคือ “พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี สมณชีพราหมณ์” จะถือเป็นอำนาจและหน้าที่ประชุม ปรึกษากันอัญเชิญเจ้านายพระองค์หนึ่งขึ้นสืบราชสมบัติ การสืบราชสมบัติในอนาคตกาลหากราชบัลลังก์จะว่างลงจึงต้องดำเนินการตาม กฎและเกณฑ์ดังกล่าวคือมาตรา ๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรที่ว่าเมื่อเป็น กรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการ สืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธาน รัฐสภาในขณะนั้นทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมสภาทั้งสองร่วมกัน ใน กรณีที่เหตุเกิดระหว่างการยุบสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ ให้ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา และให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในเรื่องนี้ได้ ในการประชุม รัฐสภาให้ประธานรัฐสภาแจ้งรัฐสภาเพื่อทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระ รัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ ประชาชนทราบ ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องการความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งตรงกับ ข้อความในมาตรา ๖ แห่งกฎมณเฑียรบาลที่ว่า “เมื่อใดถึงกาละอันจำเป็น ก็ให้พระรัช- ทายาทพระองค์นั้นเสด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวในพระบรมโกศโดยทันทีให้สมดังพระบรมราชประสงค์ที่ได้ทรงประกาศไว้นั้นแล” แต่หากเป็นกรณีที่ไม่มีพระรัชทายาทไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ซึ่งเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ ให้คณะองคมนตรีเป็นผู้เสนอพระนามผู้สืบราชสันตติ- วงศ์ตามนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลที่ได้จัดลำดับไว้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยัง รัฐสภาเพื่อรัฐสภาเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก มาตรา ๒๓ วรรคสองบัญญัติว่าในการ นี้ (คณะองคมนตรี) จะเสนอพระนามพระราชธิดา(ของพระมหากษัตริย์)ก็ได้ ซึ่ง หมายความว่าหากไปติดขัดที่เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดที่เป็นหญิง และ เดิมตามมาตรา ๑๓ “ห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใด ๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราช- สันตติวงศ์เป็นอันขาด” ก็เป็นอันว่าไม่ต้องห้ามอีกต่อไป คือให้ถือเสมือนว่าเป็นพระ ราชโอรสอีกพระองค์ด้วยนั่นเอง แต่ทรงมีสิทธิ์ภายหลังพระราชโอรส และไม่ต้องถือ ตามลำดับในกฎมณเฑียรบาลที่ใช้เกณฑ์จากพระราชโอรสลงไปสู่พระราชนัดดา เพราะ แม้รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่งกล่าวถึงการสืบราชสมบัติว่าให้เป็นไปโดยนัย แห่งกฎมณเฑียรบาลแต่ก็ได้บัญญัติว่า การนำกฎมณเฑียรบาลมาใช้ต้องอยู่ “ภายใต้ บังคับมาตรา ๒๓” ซึ่งมาตรา ๒๓ ให้เสนอพระนามราชธิดาได้ โดยไม่กล่าวถึงการจัด ลำดับใด ๆ นอกจากเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ และเป็นกรณีที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบกับการเสนอพระนามพระราชธิดานั้น อนึ่ง ถ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถอนพระรัชทายาทออกจากตำแหน่ง หรือพระรัช- ทายาทตกอยู่ในลักษณะบกพร่องหรือลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเสียแล้ว “บรรดาพระโอรสอีกทั้งบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ยกเสียจาก ลำดับสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น” เพราะถือว่าการแต่งตั้งพระรัชทายาทซึ่งอาจมา จากเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดก็ได้เป็นการเฉพาะพระองค์เท่านั้น ไม่ เกี่ยวกับพระโอรสในลำดับถัดลงไปอีกชั้นหนึ่งดังกรณีสมเด็จหน่อพุทธเจ้าหรือพระ ราชโอรสอื่น ๆ นับเป็นเวลานานเกือบ ๖๐๐ ปี กว่าการเข้ารับตำแหน่งเป็นประมุขของไทยจะ เป็นกฎและมีเกณฑ์ที่ชัดเจนดังในปัจจุบัน ซึ่งบัดนี้ใช้ธรรมเนียมการตั้งสมเด็จพระบรม- โอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ และ พ.ศ.๒๔๓๗ เป็นเกณฑ์และใช้นัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ซึ่งตราขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นหลักประการแรก ใช้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งวางหลักใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔ และผิดแผกไปจากเดิมเมื่อเปลี่ยนแปลงการ ปกครองใหม่ ๆ ใน พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นหลักคู่กันโดยให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญเสียก่อน ว่ามีการแต่งตั้งพระรัชทายาทตามธรรมเนียมข้างต้นและตามกฎมณเฑียรบาลไว้แล้ว หรือไม่ หากได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อราชบัลลังก์ว่างลงก็ใช้วิธีเสนอพระนามให้รัฐสภารับ ทราบ หากไม่ได้แต่งตั้งไว้หรือเป็นกรณีไม่มีพระรัชทายาทด้วยเหตุใดก็ตาม ให้ พิจารณาพระนามเจ้านายตามลำดับชั้นผู้ควรสืบราชสันตติวงศ์และไม่มีลักษณะต้อง ห้ามตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ.๒๔๖๗ ถ้าหากใช้กฎมณเฑียรบาลโดยตรงไม่ได้ก็ให้ เทียบเคียงโดยอนุโลม เช่น ตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ไม่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล ก็ควรเทียบได้กับพระรัชทายาท สมเด็จพระยุพราช และ สมเด็จหน่อพุทธเจ้าตามกฎมณเฑียรบาล ในบัดนี้สะใภ้หลวงที่เป็นพระชายาเอกของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ควรเทียบได้กับตำแหน่งที่กฎมณเฑียรบาลเรียกว่าพระ อัครชายาของสมเด็จหน่อพุทธเจ้า เป็นต้น นอกจากนั้นอาจมีการเสนอพระนามพระ ราชธิดาของพระมหากษัตริย์ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาตามลำดับชั้นในกฎมณเฑียรบาล ต่อจากนั้นจึงนำรัฐธรรมนูญมาใช้พิจารณาขั้นตอนการเสนอเรื่องไปยังรัฐสภา ใน ระหว่างนั้นเมื่อยังไม่มีประกาศอัญเชิญพระรัชทายาทหรือเจ้านายผู้ควรทรงราชย์ขึ้น สืบราชสันตติวงศ์ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการ ชั่วคราวไปพลางก่อน เว้นแต่ในระหว่างนั้นได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้ ก่อนแล้วก็ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้นทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ประกาศอัญ- เชิญผู้มีสิทธิเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ • วันพุธที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชา อภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง สวัสดิการครอบครัวและเด็กในสังคมไทย : กรณีศึกษาภัยพิบัติสึนามิ ความโดยสรุปว่า ภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=