2694_6723

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ พจนานุกรม แสดงศัพทมูล (etymon) ของ อสงไขย ไว้ว่า [ป. อสงฺเขยฺย; ส. อสํขฺย] ศัพทมูลของคำว่า อสงไขย ตามรูปคำ ศัพทมูลของ อสงไขย น่าจะเป็นคำ บาลี คือ อสงฺเขยฺย และไม่น่าจะตรงกับคำสันสกฤต คือ อสํขฺย ในภาษาบาลี คำที่ สื่อความหมายว่า “ อสงไขย ” มี ๒ รูป คือ อสงฺขิย และ อสงฺเขยฺย ทั้ง ๒ รูปมีที่มา อย่างเดียวกันกล่าวคือ อสงฺขิย มาจาก สํ อุปสรรค + ขยา (> ขา ) ธาตุ > สงฺขา “นับ; คำนวณ” ลง อิ อาคม + ( ณฺ ) ย ปัจจัย “อันพึง” จากนั้นเติม อ นิบาต “ไม่” หน้าศัพท์ สำเร็จรูปเป็น อสงฺขิย แปลว่า “ไม่พึงนับ; ไม่อาจคำนวณได้; ไม่อาจนับ จำนวนได้” อสงฺเขยฺย มาจาก สํ อุปสรรค + ขฺยา (> ขา ) ธาตุ > สงฺขา “นับ; คำนวณ” + ( ณฺ ) ย (> เอยฺย ) ปัจจัย “อันพึง” จากนั้นเติม อ นิบาต “ไม่” หน้าศัพท์ สำเร็จรูปเป็น อสงฺเขยฺย แปลอย่างเดียวกันว่า “ไม่พึงนับ; ไม่อาจคำนวณได้; ไม่อาจ นับจำนวนได้” ส่วนคำสันสกฤตก็มี ๒ รูปเช่นกัน คือ อสํขฺย และ อสํเขฺยย ซึ่งมีที่มา อย่างเดียวกัน อสํขฺย มาจาก สํ อุปสรรค + ขฺยา ธาตุ > สํขฺยา “นับ; คำนวณ” + ( ณฺ ) ย ปัจจัย “อันพึง” จากนั้น เติม อ นิบาต “ไม่” หน้าศัพท์สำเร็จรูปเป็น อสํขฺย แปลว่า “ไม่พึงนับ; ไม่อาจคำนวณได้; ไม่อาจนับจำนวนได้” อสํเขยฺย มาจาก สํ อุปสรรค + ขฺยา ธาตุ > สํขฺยา “นับ; คำนวณ” + ( ณฺ ) ย (> เอย ) ปัจจัย “อันพึง” จากนั้น เติม อ นิบาต “ไม่” หน้าศัพท์ สำเร็จรูปเป็น อสํเขฺยย แปลว่า “ไม่พึงนับ; ไม่อาจคำนวณได้; ไม่อาจนับจำนวนได้” รูปสันสกฤตที่เทียบเท่ากับรูปบาลี อสงฺขิย คือ อสํขฺย ส่วนรูปสันสกฤตที่เทียบเท่ากับรูปบาลี อสงฺเขยฺย คือ อสํเขฺยย อสงฺเขยฺย ~ อสํเขฺยย เมื่อใช้เป็นคำนามก็อาจหมายความว่า “จำนวนขนาดใหญ่มาก” สรุปว่า ศัพทมูลของ อสงไขย คือคำบาลี อสงฺเขยฺย เทียบได้กับสันสกฤต อสํเขฺยย (มิใช่ อสํขฺย อย่างที่แสดงไว้ใน พจนานุกรมฯ ) ส่วนคำนามที่มาจากรากศัพท์เดียวกัน และ สื่อความหมายว่า “การนับ; การคำนวณ” รูปสันสกฤตใช้ว่า สํขฺยา บาลีมีใช้ ๒ รูป คือ สงฺขฺยา และ สงฺขา คำบาลี สงฺขฺยา กลายมาเป็น สังขยา [สัง-ขะ-หยา] ใน ภาษาไทย ซึ่งพ้องรูปตัวเขียนและพ้องเสียงกับคำที่ใช้เป็นชื่อขนม การเปลี่ยนแปลงความหมาย อสงไขย ที่ใช้หมายถึง “จำนวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกำลัง ๒๐” สันนิษฐานว่าน่าจะเนื่องมาจากใช้ร่วมกับคำอื่นที่ใช้บอก จำนวนนับ ดังเช่นในวลีว่า “ในสื่อสงไขยแสนกัป” เมื่อวิเคราะห์ความหมายของคำ ก็สรุปได้ว่า อสงไขย มีการเปลี่ยนแปลงความหมายจาก “จำนวนที่ไม่กำหนดค่า ตายตัว (indefinite number)” เป็น “จำนวนที่กำหนดค่าตายตัว (definite number)” แต่เมื่อวิเคราะห์ความหมายหลักที่มุ่งสื่อก็ยังเหมือนเดิม กล่าวคือ อสงไขย ใช้หมายถึง “จำนวนขนาดใหญ่มากจนนับไม่ถ้วน” เมื่อใช้ร่วมกับคำบอก ระยะเวลา คือ กัป จึงสื่อความหมายว่า “ระยะเวลายาวนานมากจนไม่อาจนับได้ว่า ยาวนานขนาดไหน” อสงไขย = โกฏิ ๒๐ คำนวณมาได้อย่างไร นอกจากคำว่า อสงไขย ยังมีคำ บาลีอีกหลายคำที่ใช้แสดงจำนวนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อักโขภิณี ซึ่ง พจนานุกรมฯ แสดงความหมายของ อักโขภิณี ไว้ว่า “จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๔๒ ตัว” คำที่ใช้แสดงจำนวนนับขนาดใหญ่ที่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฯ ยัง มีอีกหลายคำเมื่อเรียงลำดับจากโกฏิถึงอสงไขย ดังนี้ โกฏิ = ๑๐ ล้าน ปโกฏิ = ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (สิบล้านโกฏิ) นหุต = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๒๘ ตัว นินหุต = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๓๕ ตัว อักโขภิณี = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๔๒ ตัว พินทุ = โกฏิกำลัง ๗ (๑ มี ๐ ตามหลัง ๔๙ ตัว) อัพพุท = ร้อยแสนพินทุ; โกฏิยกกำลัง ๘ (๑ มี ๐ ตามหลัง ๕๖ ตัว) นิรัพพุท = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว (บ้างว่าร้อยล้าน) อสงไขย = โกฏิยกกำลัง ๒๐ ] ระบบคำบอกจำนวน เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ก็สรุปได้ว่า ระบบคำบอก จำนวนในภาษาไทย (รวมทั้งสังขยาขนาดใหญ่ที่ยืมมาจากภาษาบาลี) มีหลักในการ กำหนดค่าจำแนกได้เป็น ๒ ระดับดังนี้ สังขยาระดับพื้นฐาน ตั้งแต่ “หนึ่ง” ถึง “โกฏิ” สังเกตได้จากจำนวนเลข ๐ ที่ เติม หลังเลข ๑ เพิ่มขึ้นครั้งละ ๑ ตัว เมื่อจำนวนใหญ่ขึ้นเป็นสิบเท่า ดังนี้ หนึ่ง (๑) = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๐ ตัว (= ไม่มี ๐ ตามหลัง) มีค่าหนึ่งเท่าของ ๑ สิบ (๑๐) = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๑ ตัว มีค่าสิบเท่าของ ๑ ร้อย (๑๐๐) = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๒ ตัว มีค่าสิบเท่าของ ๑๐ พัน (๑,๐๐๐) = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๓ ตัว มีค่าสิบเท่าของ ๑๐๐ จนถึง โกฏิ (๑๐,๐๐๐,๐๐๐) = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๗ ตัว มีค่าสิบเท่าของ ๑,๐๐๐,๐๐๐ สังขยาระดับสูง ตั้งแต่ “โกฏิ” ถึง “อสงไขย” สังเกตได้จากจำนวนเลข ๐ ที่ เติมหลังเลข ๑ เช่นกัน แต่เพิ่มขึ้นครั้งละ ๗ ตัว (สังขยาขั้นถัดขึ้นไปมีค่าเป็นโกฏิ เท่าของสังขยาขั้นเดิม) ดังนี้ โกฏิ = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๗ ตัว ปโกฏิ = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๑๔ ตัว นหุต = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๒๘ ตัว นินหุต = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๓๕ ตัว อักโขภิณี = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๔๒ ตัว พินทุ = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๔๙ ตัว อัพพุท = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๕๖ ตัว นิรัพพุท = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว อสงไขย = ๑ มี ๐ ตามหลัง ๑๔๐ ตัว เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในพจนานุกรมฯ ก็เห็นได้ชัดว่า ศัพท์ที่แสดงสังขยา ขนาดใหญ่น่าจะมีอีกหลายคำที่มิได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับทางการ (ตั้งแต่ ปทานุกรม ฉบับกระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๐ เรื่อยมาจนถึง พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) ในคัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกา งานนิพนธ์ของ พระโมค- คัลลานเถระ แห่งลังกา (ฉบับแปลเป็นพระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชิน วรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) มีศัพท์ที่แสดงสังขยาขนาดใหญ่ตั้งแต่ “โกฏิ” ถึง “อสงไขย” ครบชุด ดังนี้ โกฏิ, ปโกฏิ, โกฏิปโกฏิ, นหุต, นินหุต, อักโขภิณี, พินทุ, อัพพุท, นิรัพพุท, อหหะ, อพพะ, อฏฏะ, โสคันธิกะ, อุบล, กมุท, ปทุม, ปุณฑริก, กถาน, มหากถาน, อสงไขย เมื่ออธิบายด้วยคณิตศาสตร์สมัยใหม่ อาจแสดงให้เห็นค่าของแต่ละจำนวนที่เพิ่ม ขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งสังขยาระดับพื้นฐานและสังขยาระดับสูง ด้วยเลขยกกำลัง ดังนี้ หนึ่ง 1 (=100) เ 1 มี 0 ตามหลัง 0 ตัว สิบ 10 (=101) เ 1 มี 0 ตามหลัง 1 ตัว ร้อย 100 (=102) เ 1 มี 0 ตามหลัง 2 ตัว พัน 1,000 (=103) เ 1 มี 0 ตามหลัง 3 ตัว จนถึง อสงไขย (=107)20 เ 1 มี 0 ตามหลัง 140 ตัว ข้อสังเกตส่งท้าย - จากหลักฐานทางฝ่ายมหายานที่พอหลงเหลืออยู่ในภาษาจีน ซึ่งแปลจากสัน- สกฤตอีกต่อหนึ่ง ศัพท์ที่แสดงสังขยาตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงระดับสูงแสดงไว้ต่างกัน ทำให้วิธีคำนวณค่าอสงไขยพลอยแตกต่างกันออกไปด้วย - การกำหนดค่า อสงไขย = โกฏิ๒๐ เป็นวิธีคำนวณวิธีหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากมีเหตุผลที่อธิบายได้อย่างเป็นระบบ - ส่วนคำอธิบาย นิรัพพุท ใน พจนานุกรมฯ ที่ว่า “บ้างว่าร้อยล้าน” ชวนให้สงสัย ว่าเป็นวิธีกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะขาดระบบรองรับ เมื่อเทียบกับจำนวนอื่น ข้อเสนอแนะในการชำระพจนานุกรมฯ - การกำหนดคำตั้งสำหรับคำศัพท์ที่เข้าชุดกัน ควรดำเนินการพร้อมกันทั้งชุด จะได้ไม่ตกหล่น - ในการนิยามคำศัพท์ชุดเดียวกัน ควรกำหนดวิธีเขียนนิยามให้เป็นระเบียบเดียวกัน - ควรใส่ใจเรื่องศัพทมูลของคำตั้งยิ่งขึ้นในแง่การบอกแหล่งที่มาของคำ รูปคำ ที่ถูกต้อง ความหมายเดิมตามรูปศัพท์และความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดจน ความหมายที่นิยมใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=