2694_6723

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๘ เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ de Gaulle ) เป็นประธานาธิบดี งานเขียนของเขาในช่วงหลังเป็นงานเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ศิลปะของโลก และบทวิจารณ์ผลงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญ ๆ ของโลก มาลโรคิดว่าศิลปินเท่านั้นที่จะมีชีวิตชั่วนิรันดรได้ โดยสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอมตะ ขึ้นมา ดังเช่น ไมเคิล แองเจลโล เลโอนาร์โด ดา วินซี อ็องเดร มาลโร กล่าวไว้ใน La Mé tamorphoses des dieux ว่า ความ เป็นศิลปินนั้นเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในจักรวาลด้วย “สายตา” ที่ แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป การค้นพบศิลปะของมนุษย์นั้น อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะและ ทุกสถานการณ์ ดังเช่นชาวตะวันตก ได้ค้นพบศิลปะของชาวแอฟริกัน เมื่อเพ่งพินิจ พิจารณาผลกล้วยหอมซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกา แต่การค้นพบศิลปะ ของชนชาติหนึ่งนั้นอาจเกิดจากสิ่งอื่น ๆ ที่ไกลจากสภาพแวดล้อมและคุณลักษณะ ประจำชาตินั้น ๆ ก็ได้เช่นกัน อ็องเดร มาลโรกล่าวไว้ใน Les Voix du Silence ว่า ศิลปินมักจะรู้สึกว่ามี อุปสรรค ความยากลำบาก ในอันที่จะดำรงชีวิตให้เข้ากับสังคม เพราะเขามีความ รู้สึกนึกคิด และจินตนาการที่แตกต่างไปจากผู้คนส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศิลปินจึงดำรง ชีวิตอยู่ในโลกอันโดดเดี่ยว เขาเขียนว่า “ความมีอำนาจของศิลปิน เกิดจากความ โดดเดี่ยวของเขานั่นเอง” ศิลปินเป็นผู้ที่สำแดงถึงสติปัญญาอันปราดเปรื่องและเป็น ผู้กล้าหาญที่จะแสดงความคิดขัดแย้งกับโลกและสังคม ขัดแย้งกับโลกเก่า ความขัด แย้งนี้ทำให้โลกศิลปะเป็นโลกซึ่งแสดงถึงอำนาจการสร้างสรรค์อันไม่มีวันจบสิ้น เป็น อำนาจซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ และความเป็นอิสระของมนุษย์ผู้ใช้ปัญญา ศิลปิน เท่านั้นที่เป็นผู้มีอิสรภาพเต็มที่ เพราะเขามี “อำนาจสร้างสรรค์” งานตามความรู้สึก นึกคิดของเขาได้ เพราะเขามีภาษาเฉพาะของพวกเขา นั่นคือ “ศิลปะ” “ภาษาที่ ศิลปินใช้ ไม่ได้ทำให้เขาสามารถกล่าวถึงทุกสิ่งในโลกได้ แต่ช่วยให้เขาสามารถกล่าว ถึงทุกสิ่งที่เขาต้องการจะกล่าวถึงได้” นี่คืออำนาจอันยิ่งใหญ่ของผลงานศิลปะ อ็องเดร มาลโร กล่าวว่าศิลปะมีหน้าที่ต้องบรรลุถึงเสรีภาพ ศิลปะต้อง สามารถปลดแอกมนุษย์ให้เป็นอิสระจากชะตากรรมที่ถูกลิขิตมาได้ ศิลปะ คือ การ ต่อสู้กับชะตากรรม ในตอนต้น ๆ นั้น ศิลปะรับใช้ศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่าง เช่น ศิลปะของโลกตะวันตกซึ่งรับใช้คริสต์ศาสนามาเป็นเวลานานหลายศตวรรษที เดียว งานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะของอ็องเดร มาลโร มุ่งติดตาม วิวัฒนาการจากศิลปะศักดิ์สิทธิ์มาสู่ศิลปะกรีก–โรมัน ซึ่งเป็นวิวัฒนาการที่ชี้ให้เห็น การยอมจำนนต่อชะตากรรมของมนุษย์ในตอนต้น และการปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็น อิสระต่ออำนาจลิขิตชะตากรรมของพระผู้เป็นเจ้าในที่สุด ในยุคกรีก ศิลปะได้เริ่มชี้ให้เห็นความสำคัญและบทบาทของมนุษย์ จะเห็นได้ ว่าเทพเจ้ากรีกนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์มาก ศิลปะกรีก ศิลปะโรมัน เป็น ศิลปะที่มุ่งแสดงถึงภาพของมนุษย์ที่แข็งแกร่ง มนุษย์กลายเป็นจุดศูนย์กลางของโลก ในบทนำนวนิยายเรื่อง Le Temps du Mé pris อ็องเดร มาลโร ได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่า “ศิลปะ” ก็คือ ความพยายามที่จะให้มนุษย์ได้ตระหนักถึงความ ยิ่งใหญ่ของตนเอง นั่นคือความสามารถในการสร้างสรรค์งานที่เป็นอมตะและมี เอกภาพ อ็องเดร มาลโรเขียนยกย่องไว้ใน Les Voix du Silence ว่าผลงานศิลปะ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงชัยชนะของมนุษย์ต่อโลก เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ห่างไกลจาก สภาพการเป็นทาส เป็นรูปแบบที่แสดงถึงความอิ่มเอิบและความสมดุลของมนุษย์ ผลงานชิ้นเอกของศิลปิน นอกจากจะได้แพร่หลายไปกว้างไกล เนื่องด้วยความ เจริญทางด้านเทคนิคสมัยใหม่แล้วยังอาจจะเป็น “อมตะ” ได้อีกด้วย อ็องเดร มา ลโร กล่าวว่าศิลปะนั้นไม่มีวันตาย เพราะว่าศิลปะอาจถือกำเนิดขึ้นอีกได้เสมอ ในรูป แบบใหม่ที่ถูกดัดแปลงไปหรือไม่ก็ด้วยรสนิยมของคนนั้นเปลี่ยนไป งานศิลปะจึงเป็น “อมตะ” ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ความเป็นอมตะของศิลปะอาจเกิดวิวัฒนาการของ รูปแบบและลีลาอีกด้วย วิวัฒนาการเช่นนี้ทำให้ศิลปะเฟื่องฟูและรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นสำนัก ดังเช่นศิลปะกรีก และศิลปะบาร็อก ศิลปะโรมัน และศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะกอธิก และศิลปะสมัยใหม่ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ตราบเท่าที่ศิลปินยังไม่สิ้นไปจาก โลก ศิลปะก็ย่อมจะมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายไม่สิ้นสุดเช่นกัน ศิลปะจึงเปรียบ เสมือน “ภาษาที่วิวัฒนาการไม่หยุดยั้ง” เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเป็นอมตะของมนุษย์ นั่นเอง ผลงานศิลปะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชีวิตและความตาย ในทัศนะของอ็อง- เดร มาลโร ศิลปะจึงกลายเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต ศาสตราจารย์ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บรรยายเรื่อง สัททอักษรไทยปาฬิ ความโดยสรุปว่า ปาฬิ- ภาสา หรือ ภาษาพระธัมม์ เป็นภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตร- ปิฎกปาฬิ แม้ปาฬิมีกำเนิดจากภาษาถิ่นในอินเดียโบราณ แต่ความเป็นภาษาพระ- ธัมม์เกิดจากนิยามที่กำหนดขึ้นใหม่ เกี่ยวกับสภาวะความเป็นจริงในธรรมชาติ คำ ศัพท์ในปาฬิภาสาจึงเป็น วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติที่มีสภาวธัมม์) ด้วยเหตุนี้การอนุ- รักษ์ปาฬิภาสาด้วยการออกเสียงสวดและอ่านสังวัธยายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ยวด เพราะการแปลย่อมทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไปจากวิชชมานบัญญัติ ดังนั้น การออกเสียงปาฬิและอักขรวิธีบันทึกเสียงปาฬิจึงมีความสำคัญยิ่ง เมื่อพระไตรปิฎก ปาฬิในพระพุทธศาสนาเถรวาทมีการเผยแผ่ไปทั่วโลก ปาฬิภาสาก็แพร่หลายไปใน นานาประเทศด้วย และเนื่องจากปาฬิเป็นภาษาที่ไม่แยกความหมายของคำตามเสียง วรรณยุกต์หรือเสียงสูงต่ำ และมีเสียงสระเดี่ยวทั้งหมด ไม่มีเสียงสระผสม จึง เป็นการง่ายที่จะใช้อักษรของชาติต่าง ๆ เขียนปาฬิ เช่น ปาฬิภาสาอักษรสิงหล ปา- ฬิภาสาอักษรมอญ ปาฬิภาษาอักษรพม่า ปาฬิภาสาอักษรขอม ปาฬิภาสาอักษร สยาม ปาฬิภาสาอักษรไทย และปาฬิภาสาอักษรโรมัน เป็นต้น เนื่องจากอักษรโรมันเป็นอักษรที่มีความเป็นสากลนานาชาติ พระไตรปิฎกปาฬิ อักษรโรมันจึงแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะอักษรโรมันเป็นอักษรที่ชาวโลก คุ้นเคยและสามารถฝึกออกเสียงได้ง่าย การถอดอักษรของชาติหนึ่งไปเป็นอักษร ของอีกชาติหนึ่งโดยรักษาเสียงเดิมในภาษานั้นไว้ เรียกว่า การปริวรรตอักษร (transliteration) เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิเป็นอักษร สยามเป็นครั้งแรก ก็ได้มีการปริวรรตอักษรสยามเป็นอักษรโรมันที่ใช้เขียนปาฬิภาสา เทียบไว้ด้วย เช่น พ ที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แสดงเสียงพยัญชนะตัวสะกดด้วยการ พิมพ์เครื่องหมายวัญฌการ ( ์ ) เพื่อแสดงว่าไม่ออกเสียงสระ อะ กำกับไว้บน พยัญชนะเป็น พ์ ซึ่งถือว่าแทนหน่วยเสียงในปัจจุบันว่า / พ / และก็ได้เทียบกับอักษร โรมันเป็น b (ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายวัญฌการกำกับให้อ่านพยัญชนะมีเสียงสระ อะ เช่น จ แทนเสียง จ+ะ เป็นต้น) ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาวิธีเขียนคำอ่านปาฬิเป็น สัททอักษรสากล (International Phonetic Alphabet) หรือเรียกว่า การ ถ่ายทอดเสียง (transcription) เช่น ปาฬิภาสาที่ใช้อักษรโรมัน b และเขียน สัททอักษรสากลเป็น [ b ] เทียบกับอักษรสยามปาฬิ พ์ เหตุที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ต้อง เทียบอักษรสยามกับอักษรโรมันก็เพราะว่าอักษรโรมันเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดอักษร หนึ่งของโลก ชาวโลกคุ้นเคยกับเสียงในอักษรโรมันดีกว่าอักษรขอมที่สยามเคยใช้ บันทึกพระไตรปิฎกมาก่อน นอกจากนั้นในภาษาไทยอักษร พ คนไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ คุ้นกับการออกเสียงเป็นไทย เช่น คำว่า “พุทธะ” ซึ่งเป็นเสียง พ [ ph ] ดังนั้น จึง ต้องกำกับอักษรโรมันที่สามารถอ้างอิงเป็นมาตรฐานได้ เรื่องนี้เป็นปัญหาหนึ่งใน ปัจจุบันที่ทำให้ชาวไทยไม่สามารถอ่านคำปาฬิในบทสวดมนต์ให้เสียงตรงกับพระไตร- ปิฎกปาฬิเหมือนชาวโลกทั้งหลายได้ แม้ในปัจจุบันจะได้มีการศึกษาวิจัยแล้วว่าใน สมัยสุโขทัยก็ออกเสียง พ เป็น [ บ ] ด้วย แต่เนื่องจากมิได้มีการศึกษาเรื่องนี้ใน บริบทของปาฬิภาสา ทำให้เป็นการยากที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการออกเสียงของชาว ไทยในปัจจุบัน แต่อาศัยความรู้สัททศาสตร์เบื้องต้นก็อาจสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดย ง่าย บทความนี้ได้วิเคราะห์การพิมพ์ปาฬิอักษรสยามในพระไตรปิฎกปาฬิสมัยรัชกาล ที่ ๕ ว่าเป็นการนำเสนอในลักษณะ สัททอักษร (phonetic alphabet) เนื่องจาก แสดงการพิมพ์พยัญชนะอักษรสยามโดยใช้สัญลักษณ์วัญฌการกำกับไว้บนพยัญชนะ ดังกล่าวเพื่อแสดงว่าเมื่อเป็นเสียงพยัญชนะตัวสะกด และไม่ออกเสียงสระ อะ จึง เรียกว่า สัททอักษรสยามปาฬิ นอกจากนั้นเมื่อทำตารางเสียงพยัญชนะปาฬิแสดง ตำแหน่งฐานที่เกิดเสียง พร้อมทั้งลักษณะการออกเสียงโดยอาศัยหลัก สัททนีติ ของ ตะวันออกเทียบกับหลักวิชา สัททศาสตร์ ของตะวันตกแล้ว ทำให้สามารถเลือกชุด สัททอักษรสากลปาฬิ ที่ปัจจุบันใช้เป็นคำอ่านพระไตรปิฎกปาฬิอักษรโรมันได้ด้วย และจากหลักการดังกล่าว บทความนี้จึงได้พัฒนาแนวความคิดของการพิมพ์คำอ่าน ปาฬิที่เรียกว่า สัททอักษรสยามปาฬิ เป็น สัททอักษรไทยปาฬิ เพื่อใช้สำหรับเขียน คำอ่านปาฬิภาสาที่เขียนด้วยอักษรไทย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเขียนคำอ่านในบท สวดมนต์จากพระไตรปิฎกปาฬิให้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดตามเสียงปาฬิภาสาที่ได้ สืบทอดกันมานับพันปี • วันอังคารที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รองศาสตราจารย์ ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ อสงไขย ” มีค่าเท่าไร ความโดยสรุปว่า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้นิยามศัพท์ อสงไขย ไว้ ๒ อย่าง คือ ว. มากจนนับไม่ถ้วน น. ชื่อมาตรานับจำนวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกำลัง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=