2694_6723

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผลการสำรวจของยานอวกาศดับเบิลยูแม็บสรุปได้ว่า ในเอกภพมีพลังงานมืด ประมาณร้อยละ ๗๔ สสารมืดร้อยละ ๒๒ สสารที่สังเกตได้ร้อยละ ๐.๔ สสารที่ เป็นก๊าสและฝุ่นร้อยละ ๓.๖ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ ไวรัสตับอักเสบ บี ในประเทศไทย และแรงงานต่างด้าว ” ความโดยสรุปว่า ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นปัญหาทางสาธารณสุข ของประชากรทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากมีผู้เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ทั่วโลก มากกว่า ๔๐๐ ล้านคน มะเร็งตับเป็นสาเหตุที่สำคัญในการเสียชีวิต โดยเฉพาะในเพศชาย และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ประเทศไทย มีผู้ป่วยมะเร็งตับปีละมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ราย และมากกว่าร้อยละ ๗๐ มีความเกี่ยวข้อง กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แบบเรื้อรัง ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับ อักเสบ บี อย่างมีประสิทธิภาพสูง ประเทศไทยได้ดำเนินการนำวัคซีนป้องกันไวรัสตับ อักเสบ บี มาให้กับเด็กทารกในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมา ในปัจจุบันทารกมากกว่าร้อยละ ๙๕ ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ครบ ๓ ครั้งในขวบปีแรก ทำให้อัตราการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี ในประเทศไทย ลดลงอย่างมาก กล่าวคือการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี ในเด็กที่มีอายุ น้อยกว่า ๑๕ ปี เหลือเพียงร้อยละ ๐.๗ (ก่อนหน้าการให้วัคซีนในแผนการให้ วัคซีนแห่งชาติ พบอัตราการเป็นพาหะในเด็กร้อยละ ๖) การเป็นพาหะ ในภาพรวมของ ประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ ๓-๔ ทำให้ในปัจจุบันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ในประเทศไทย ลดลงอย่างมาก โรคมะเร็งตับก็มีแนวโน้มที่จะลดลงต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากกว่า ๒ ล้านคน แรงงาน ส่วนใหญ่มาจากประเทศพม่า เขมร และลาว ดังนั้นการศึกษาอุบัติการณ์ของไวรัสตับ อักเสบ บี ในแรงงานต่างด้าวจึงมีความจำเป็นเพื่อวางมาตรการในการป้องกันโรค ไวรัสตับอักเสบ บี ในประชากรไทย ในอนาคต จากการศึกษาแรงงานต่างด้าวจาก พม่า เขมร และลาว จำนวนประมาณ ๖,๐๐๐ ราย ที่มาทำงานในโรงงานเขตกรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม พบว่ามีอัตราการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี สูงมากคือ พม่าร้อยละ ๑๐-๑๒ เขมรร้อยละ ๑๐ ลาวร้อยละ ๘-๑๐ การถ่ายทอด หรือแพร่กระจายไวรัสตับอักเสบ บี จากการสัมผัสเลือด น้ำเหลือง หรือจากมารดา สู่ทารก และทางเพศสัมพันธ์ จะเป็นการแพร่กระจายของโรคได้ ดังนั้นมาตรการ ในการป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ในประเทศไทย จำเป็นต้องคำนึงถึงการแพร่กระจาย ของไวรัสตับอักเสบ บี ในแรงงานต่างด้าวมาสู่ประชากรไทยด้วย • วันพุธที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ การสังเคราะห์ซีโอไลต์ MCM-22 จากดินขาวธรรมชาติ ” ความโดยสรุปว่า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ ซีโอไลต์ MCM-22 จากดินขาวธรรมชาติ โดยศึกษาผลของตัวแปรต่าง ๆ ต่อการ สังเคราะห์ซีโอไลต์ MCM-22 ได้แก่ อัตราส่วนโดยโมลของซิลิกาต่ออะลูมินา อัตรา ส่วนโดยมวลของโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อดินขาวธรรมชาติ อัตราส่วนโดยโมลของ ซิลิกาต่อสารก่อโครงร่างผลึก อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัล ดินขาวที่ใช้ในการสังเคราะห์ซีโอไลต์ MCM-22 เป็นดินขาวธรราชาติจากจังหวัด เพชรบูรณ์มีสิ่งเจือปนอยู่มาก จำเป็นต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเบื้องต้น ด้วยกระบวนการทางความร้อน ทางกายภาพและทางเคมี ก่อนนำไปสังเคราะห์เป็น ซีโอไลต์ MCM-22 ทำการปรับอัตราส่วนโดยโมลซิลิกาต่ออะลูมินา โดยใช้ฟูมซิลิกา จากการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์ MCM-22 คือ อัตรา ส่วนโดยโมลของซิลิกาต่ออะลูมินา เท่ากับ ๓๐:๑ อัตราส่วนโดมลมวลโซเดียมไฮดรอกไซด์ ต่อดินขาวธรรมชาติ เท่ากับ ๑:๑ อัตราส่วนโดยโมลซิลิกาต่อสารก่อโครงร่างผลึก เท่ากับ ๐.๙:๑ อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัล เท่ากับ ๑๖๐ องศา เซลเซียส และ ๗ วัน ตามลำดับ และมีค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ ๑๐± ๑ โดยที่ภาวะ ดังกล่าวสามารถสังเคราะห์ซีโอไลต์ MCM-22 ได้ร้อยละ ๘๒ • วันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาการบริหารจัดการเทคโนโลยี บรรยายเรื่อง “ การบำบัดดินปนเปื้อนสาร ระเบิดทีเอ็นทีด้วยนาโนเทคโนโลยีร่วมกับพืช (Remediation of TNT- contaminated soil with nano-phytotechnology) ” ความโดยสรุปว่า สารไตไน- โตรโทลูอี หรือ ทีเอ็นที (TNT) ถูกนำมาใช้ในการทำวัตถุระเบิด สารเหล่านี้เป็น สารประกอบในกลุ่มไนโตรอะโรมาติก ซึ่งถูกจัดเป็นสารอันตรายในกลุ่มของสารพิษที่ อาจก่อมะเร็งได้ และยังสามารถทำลายการทำงานของตับทั้งในมนุษย์และสัตว์ สิ่งมี ชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชและจุลินทรีย์ สามารถได้รับผลกระทบจากความเป็นพิษของสาร ทีเอ็นทีเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการปนเปื้อนของสารทีเอ็นทีในดินและน้ำจากภาวะ สงครามและการก่อวินาศกรรม รวมถึงโรงงานผลิตวัตถุระเบิด คลังสรรพาวุธ ค่าย ทหาร สนามฝึกซ้อมระเบิด จากการสำรวจบริเวณคลังสรรพวุธในรัฐเทคซัส สหรัฐอเมริกา พบว่ามีการปนเปื้อนของสารทีเอ็นทีในตะกอนดินจากบ่อน้ำถึงร้อยละ ๑๕ (๑๕๐,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และน้ำที่ปนเปื้อนทีเอ็นทีจะมีสีชมพู นอกจาก นั้นน้ำใต้ดินในบริเวณใกล้เคียงพบการปนเปื้อนสารทีเอ็นทีทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ ประโยชน์และอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิต ในประเทศที่กำลังพัฒนาขาดการ สำรวจและรายงานการปนเปื้อนสารทีเอ็นทีในดินและน้ำ เนื่องจากประเทศเหล่านี้มี คลังสรรพาวุธ การใช้ระเบิดในภาวะสงคราม การก่อวินาศกรรม ทำให้สันนิษฐานได้ ว่ามีการปนเปื้อนสารทีเอ็นทีในดินและน้ำบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้ และจากการ สำรวจการปนเปื้อนของสารทีเอ็นทีในพื้นที่สนามฝึกซ้อมการยิงปืนและซ้อมการใช้ ลูกระเบิด โรงเก็บอาวุธ รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง จากผลการสำรวจพบสารทีเอ็นที สูงสุดในดินที่ความเข้มข้น ๓.๙๕ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (๐.๐๐-๓.๙๕ มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม) ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของบริเวณที่พักอาศัย (๒๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) แต่ สูงกว่ามาตรฐานพื้นที่การเกษตรซึ่งมีค่าไม่เกิน ๐.๐๒ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การบำบัดดินปนเปื้อนสารทีเอ็นทีสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งวิธีทางเคมี ชีวภาพ และกายภาพ การวิจัยนี้ใช้เทคโนโลยีผสมผสานระหว่างนาโนเทคโนโลยีและ เทคโนโลยีการบำบัดด้วยพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อน สารทีเอ็นที ผลการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการพบว่าปริมาณที่เหมาะสมของอนุภาค นาโนของเหล็กประจุศูนย์สำหรับการทำปฏิกิริยากับสารทีเอ็นทีขนาด ๑๐ มิลลิกรัม ต่อลิตรในน้ำ คือ ๒,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อลิตร (๒๐ นาที) หรือเป็นอัตราส่วน ๒๐๐/๑ (nZVI/TNT) และอัตราการย่อยสลาย (First-order degradation rate) ของ TNT ที่ ๒๕๐C เท่ากับ ๐.๑๓๗-๑ นาที อัตราส่วนที่เหมาะสมของอนุภาคนาโนสำหรับการ ทำปฏิกิริยากับสารทีเอ็นทีในดิน คือ ๒๕๐/๑ (nZVI/TNT) เมื่อนำอนุภาคนาโนมา ผสมผสานกับการใช้พืชบำบัดคือ หญ้ากินนี (Panicum maximum) ประสิทธิภาพ ในการบำบัดขึ้นกับสัดส่วนของอนุภาคนาโนที่ถูกนำมาผสม จากการวิจัยพบว่า สัดส่วนของอนุภาคนาโนต่อสารทีเอ็นที ๑๐ : ๑ พบว่ามีประสิทธิภาพในการบำบัด สารทีเอ็นที ๙๘.๖๖ เปอร์เซ็นต์ภายในเวลา ๓๐ วัน ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ ศักยภาพการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทยและส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม ” ความ โดยสรุปว่า ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทุกชนิดที่รัฐสนับสนุนอยู่ ในปัจจุบันมีความแตกต่างกันมาก บางชนิดอาจสูงหรือต่ำเกินไป งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อหาส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทยที่เหมาะ สม เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ตาม PDP 2010 จำนวน ๖,๑๐๑ MW ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนส่วนเพิ่มตามต้นทุนการ ผลิตไฟฟ้า ซึ่งได้เลือกใช้ต้นทุนของกังหันลม Vestas V80 สูง ๑๐๐ m ขนาด ๒ MW ที่ความเร็วลม ๕.๗ m/s ขึ้นไป และติดตั้งในพื้นที่ที่เป็นนาข้าวทั่วประเทศไทย ผลจาก การศึกษาพบว่า ที่ระดับการให้ส่วนเพิ่ม ๐-๐.๕๘ บาท/kWh (ที่อัตราคิดลดร้อยละ ๘- ๑๖) จะให้กำลังการผลิตเพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ตามแผน ส่วนเพิ่มนี้ต่ำกว่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลมในปัจจุบัน (๓.๕๐ และ ๔.๕๐ บาท/kWh) และต่ำกว่าส่วนเพิ่มของพลังงานรังสีอาทิตย์อยู่มาก (๘.๐๐ บาท/ kWh) รัฐควรสนับสนุนส่วนเพิ่มที่ไม่สูงเกินไปและในระดับที่ใกล้เคียงกัน สำหรับการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทุกชนิด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ไฟฟ้ามีราคาแพงเกินไป สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณ ศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ บรรยายเรื่อง อ็องเดร มาลโร กับโลกศิลปะ ความโดยสรุปว่า อ็องเดร มาลโร ( André Malraux ) เป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔ และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุได้ ๗๕ ปี เขาเป็นผู้ก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรมและเข้าดำรง ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมในสมัยที่นายพลชาร์ล เดอ โกล ( Charles

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=