2694_6723

3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๘ เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง แนวคิดและวิธีการในการประเมิน แบบอิงเกณฑ์อิงกลุ่มเพื่อคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตครูและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครู พันธุ์ใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘ ความโดยสรุปว่า ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๖๑) ได้กำหนดแนวทางการปฏิรูป คือ การพัฒนาระบบการ ผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยมีมาตรการหลัก สืบเนื่องจากการ ดำเนินการในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก คือ การดึงดูดคนดี คนเก่ง มีใจรัก ในวิชาชีพครูมาเป็นครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มีมติอนุมัติให้ดำเนินการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๒ โครงการ คือ ๑. โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง โดยรับนักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี (๕ ปี) ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๒ รุ่น รุ่นละ ๒,๐๐๐ คน ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งมี การระบุอย่างชัดเจนในสัญญา ใช้งบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒. โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ มีเป้าหมายการดำเนินงานให้ทุนและประกันการมี งานทำ จำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๘ ใช้งบประมาณประจำปี มีเป้า- หมายในการผลิตครู ๕ รุ่น โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ ๔ เข้ามาเรียน ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี (๕ ปี) จำนวน ๑๗,๕๐๐ คน และรับผู้สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีทางเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เข้ามาเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ๑ ปี จำนวน ๑๒,๕๐๐ คน นอกจากนี้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๗ ยังมีการประกันงานให้ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี) จำนวนปีละ ๑,๐๐๐ คน รวม ๔,๐๐๐ คน ประเทศไทยได้มีการดำเนินการนำร่องโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๒ ระยะ ดังนี้ ๑. โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ นี้ มีเป้าหมายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ปริญญาตรี (๕ ปี) จำนวน ๒,๕๐๐ คน โดยสถาบันผลิตครู ๕๐ แห่ง มิได้มีการประเมิน เพื่อคัดเลือกสถาบันผลิตครูเข้าร่วมโครงการ เพียงแต่จำแนกเป็นมหาวิทยาลัยแกน หลัก ๑๒ แห่ง ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และมหาวิทยาลัยร่วมผลิต จำนวน ๓๘ แห่ง ซึ่งประกาศ เพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นการปรับ แผนการผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓ ปี ๆ ละ ๒,๕๐๐ คน เป็นโครงการผลิตครู พันธุ์ใหม่นำร่องปีเดียว ๒,๕๐๐ คน โดยให้ทุกสถาบันเข้าร่วมโครงการนำร่อง ๒. โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ เพื่อแก้ไขจุดอ่อน ของการดำเนินการโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ได้มีการอนุมัติโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ โดยให้มีคณะกรรมการ ๒ ชุด คือ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ในระยะแรก คือ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ต่อมาเป็น นายไชยยศ จิรเมธากร เป็นประธาน และคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิต ครูพันธุ์ใหม่ โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ เป็นประธาน ในการประเมินเพื่อคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต ในโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ได้กำหนดวิธีการประเมินเพื่อคัดเลือกสถาบันผลิต ครู และผู้รับทุนในโครงการ โดยเป็นการประเมินตามแนวปรัชญาประโยชน์นิยม และ ปรนัยนิยม ซึ่งกำหนดคุณค่าโดยประเมินจากผลกระทบโดยรวมของหลักสูตรหรือ สถาบันที่มีต่อผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง โดยเชื่อว่า มนุษย์สามารถรู้ว่าอะไรเป็นเท็จ อะไร เป็นจริง ในการตัดสินอะไรเท็จอะไรจริง สามารถใช้มาตรฐานสากลที่แน่นอนเหมือน กันทุกสถาบันหรือทุกหลักสูตรได้ ในการประเมินแนวทางนี้ ข้อมูลต้องมีความเป็น ปรนัย สามารถให้ผลที่ทำซ้ำได้ ตรวจสอบได้โดยผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีเช่นนี้ กระบวนการประเมินจะต้องมีการวางแผนเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ นักประเมินที่ เชี่ยวชาญในเนื้อหาที่ประเมิน และเทคนิควิธีประเมิน รวมทั้ง มีประสบการณ์ และ ความเป็นกลางย่อมเข้าถึงความจริง และคุณค่าของความเป็นจริงได้เหมือนกันทุกคน การประเมินอิงเกณฑ์เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศเชิงคุณค่า โดย การเปรียบเทียบสิ่งที่ต้องการประเมินหรือผลที่เกิดขึ้น กับเกณฑ์มาตรฐานที่ได้นิยาม ไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน นิยามที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะ และการประเมินเพื่อ รับรองมาตรฐานคุณภาพ และการรับรองวิทยฐานะหลักสูตรหรือหน่วยงาน การ ประเมินอิงเกณฑ์มุ่งเพื่อการพัฒนา และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน การประเมินอิงเกณฑ์เป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำ และการประเมินอิงเกณฑ์ก่อให้ เกิดการพัฒนา และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตครู เป็นการสร้าง เครือข่ายในการผลิตครูอย่างเข้มแข็งต่อไปในอนาคต การประเมินอิงกลุ่มเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศเชิงคุณค่า โดยการ เปรียบเทียบกันเอง ในเชิงเกณฑ์มาตรฐานสัมพันธ์ การประเมินอิงกลุ่มมุ่งแสวงหาความ แตกต่างระหว่างสิ่งที่มุ่งประเมินและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบแข่งขันกัน การ ประเมินอิงกลุ่มนิยมใช้ในการประเมินเพื่อจัดอันดับสิ่งที่มุ่งประเมิน เช่น การจัดอันดับ สถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น การประเมินแบบอิงกลุ่ม ก่อให้เกิดการแข่งขันกันระหว่าง สถาบันผลิตครูในวิชาเอกเดียวกัน การประเมินอิงเกณฑ์อิงกลุ่มที่มีพื้นฐานมาจากเกณฑ์ ที่ชัดเจน และการประเมินตนเองรวมทั้งได้ทราบเกณฑ์ล่วงหน้าอย่างทั่วถึง จึงถือว่า เป็นการแข่งขันที่ยุติธรรม ย่อมเป็นการกระตุ้นสู่การพัฒนาคุณภาพของสถาบันผลิตครู โดยสรุป การประเมินแบบอิงเกณฑ์อิงกลุ่มเพื่อคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต และ นักศึกษาทุนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘ เน้นแนวคิดในการประเมิน เพื่อเรียนรู้และพัฒนา โดยใช้ข้อมูลที่มีความเป็นปรนัยสามารถตรวจสอบได้ ใน กระบวนการประเมินจะมีการทำงานอย่างเป็นระบบและโปร่งใส มีการกำหนดความ ต้องการครูและเกณฑ์การประเมิน โดยมีการแจ้งล่วงหน้า วิธีวิทยาการประเมินแบบ อิงเกณฑ์อิงกลุ่ม ประกอบด้วย การประเมินตนเองของสถาบันฝ่ายผลิต เพื่อให้เรียนรู้และ ยอมรับศักยภาพในการผลิตครูของตนเอง การประเมินแบบอิงเกณฑ์ที่ส่งเสริมการ พัฒนาแบบร่วมมือและสร้างเครือข่ายในการผลิตครู และการประเมินแบบอิงกลุ่มที่ก่อ ให้เกิดการแข่งขันอย่างยุติธรรมเพื่อให้ได้สถาบันที่มีคุณภาพในการบ่มเพาะบัณฑิตครู เพื่อศิษย์ยุคใหม่ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒- ๒๕๖๑) อีกทั้งสถาบันฝ่ายผลิตทุกแห่งสามารถใช้ข้อมูลในการกระตุ้น และปรับปรุง พัฒนาคุณภาพของสถาบันผลิตครูให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดระบบการผลิตครูเพื่อ ศิษย์อย่างประกันคุณภาพ เพื่อให้การผลิตครูไปสร้างคนในสังคมที่มีคุณภาพสืบต่อไป สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชา ดาราศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ พลังงานมืดและสสารมืด (Dark energy and dark matter) ” ความโดยสรุปว่า พลังงานมืดเป็นพลังงานของเอกภพที่ซ่อนอยู่ในที่ว่างของ อวกาศ ทำหน้าที่ต้านแรงโน้มถ่วง เป็นเหตุให้เอกภพขยายตัวด้วยความเร่ง ไอน์สไตน์ เคยแนะนำพลังงานนี้ด้วยตัวเองเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๗ แต่ต่อมาได้ตัดออก ซึ่งเขาถือว่าการ แนะนำตัวต้านแรงโน้มถ่วงเข้ามาในสมการของเขาเป็นข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต บัดนี้ ได้กลับมาอีกในฐานะที่ทำให้กาแล็กซีเคลื่อนที่ห่างออกจากกัน พลังงานมืดซึ่งมีประมาณ ร้อยละ ๗๔ ในเอกภพ จึงเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของจักรวาล ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยังไม่ ทราบแน่ชัดว่าพลังงานมืดคืออะไร ต้องมีข้อมูลมากกว่านี้และดีกว่าที่มีอยู่จากยานเจเดม ขององค์การนาซ่า ซึ่งจะขึ้นไปอยู่ ณ ตำแหน่ง L2 ของระบบโลก-ดวงอาทิตย์ สสารมืด หมายถึงมวลสารที่จะรั้งให้เอกภพขยายตัวช้าลง ค้นพบครั้งแรกโดย สวิกกี้ในคริสต์ทศวรรษ ๑๙๓๐ จากปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของกาแล็กซีในกระจุก กาแล็กซี เวรารูบินพบสารมืดในบริเวณฮาโลของกาแล็กซีทางช้างเผือก ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์เชื่อว่ามีสสารมืด ๒ ประเภท เรียกว่า แมกโฮ (MACHO : Massive Compact Halo Objects แปลว่าวัตถุทั้งหลายที่มีมวลมากและเป็นก้อนโตอยู่บริเวณ ฮาโลของกาแล็กซี) และวิมพส์ (WIMPS : Weakly Interacting Massive Particles แปลว่า อนุภาคทั้งหลายที่มีมวลมากและทำปฏิกิริยาอย่างอ่อน ๆ กับ อนุภาคอื่น) ซึ่งนักดาราศาสตร์พยายามค้นหาแต่ยังไม่พบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=