2693_7294
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า คุมขัง และ คุมตัว มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ตอบ คำว่า คุมขัง และ คุมตัว ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีความหมายดังนี้ คำว่า คุมขัง เป็นคำกริยาที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง คุมตัว ควบคุม ขัง กักขัง หรือจำคุก. ส่วนคำว่า คุมตัว เป็นคำกริยา หมายถึง ควบคุมไว้หรือจับกุมไว้ เช่น ตำรวจคุมตัวผู้ร้าย. ถาม คำว่า ผู้ต้องกักขัง, ผู้ต้องขัง, ผู้ต้องหา, ผู้ถูกกักกัน, และ ผู้เสียหาย มีความ หมายอย่างไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ดังนี้ คำว่า ผู้ต้องกักขัง เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง ผู้ที่ถูกกักขังตาม หมายกักขังของศาล. คำว่า ผู้ต้องขัง เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง บุคคลที่ถูกขังอยู่ใน เรือนจำ ได้แก่นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก. คำว่า ผู้ต้องหา เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง บุคคลที่ถูกหาว่าได้ กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. คำว่า ผู้ถูกกักกัน เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษา ให้กักกัน. คำว่า ผู้เสียหาย เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับ ความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลที่มี อำนาจจัดการแทนได้ตามที่กฎหมายกำหนด. ถาม คำว่า พยาน, พยานบอกเล่า, พยานวัตถุ, พยานหลักฐาน และ พยาน เอกสาร มีความหมายอย่างไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ดังนี้ คำว่า พยาน เป็นคำนาม หมายถึง หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ ที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้. ถ้าเป็น คำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง บุคคลซึ่งให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. คำว่า พยานบอกเล่า เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง พยานบุคคล ซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็นได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ ฟังจากผู้อื่น. คำว่า พยานวัตถุ เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง วัตถุที่อ้างเป็น พยานหลักฐาน. คำว่า พยานหลักฐาน เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. คำว่า พยานเอกสาร เป็นคำนามที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง เอกสารที่ อ้างเป็นพยานหลักฐาน. ถาม คำว่า สอบปากคำ, สอบพยาน และ สอบสวน มีความหมายอย่างไรบ้าง ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ดังนี้ คำว่า สอบปากคำ เป็นคำกริยา หมายถึง ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการ เช่น สอบปากคำพยาน สอบ ปากคำผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคำ. คำว่า สอบพยาน เป็นคำกริยา หมายถึง ซักถามพยานเพื่อหา ข้อเท็จจริง. คำว่า สอบสวน เป็นคำกริยาที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง รวบรวมพยาน หลักฐานและดำเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับ ความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อ จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องโทษ.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=