2693_7294

7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๗ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ภิกษุ ในพระพุทธศาสนานั้น นอกจากภิกษุที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีภิกษุณีซึ่งเป็นนักบวช หญิงที่มีบทบาทสำคัญดังกล่าวด้วย ใครคือภิกษุณีรูปแรก พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๓ อธิบายไว้ว่า ภิกษุณี คือคำเรียกนักบวชหญิงซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภิกษุ ภิกษุณีเกิดขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๕ พรรษาแล้ว พระมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) ได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับที่กูฏาคารศาลา เขตเมืองเวสาลี เพื่อทูลขอบวชพร้อมด้วยเจ้าหญิง ศากยะ ๕๐๐ องค์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยทรงวางเงื่อนไขให้พระน้านางกับเจ้าหญิงศากยะต้องรับปฏิบัติ ครุธรรม ๘ ประการตลอดชีวิต พระมหาปชาบดียินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว และทันทีที่พระนางน้อมรับปฏิบัติตามก็เป็นอันว่าการบวชเป็นภิกษุณีของพระนางสำเร็จลง แล้ว พระมหาปชาบดีกับเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์ จึงเป็นภิกษุณีกลุ่มแรก โดยพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุที่อยู่พร้อมกันในที่นั้นให้รับ ภาระบวชให้เจ้าหญิงศากยะที่เหลือ ในการปฏิบัติตามพระวินัย ภิกษุณีปฏิบัติตามสิกขาบทที่เป็นของภิกษุด้วยและปฏิบัติตามสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับ ภิกษุณีโดยเฉพาะด้วย ฉะนั้น ภิกษุณีจึงมีสิกขาบทที่ต้องรักษาถึง ๓๑๑ ข้อ ขณะที่ภิกษุมีสิกขาบท ๒๒๗ ข้อ ตามมติของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท มีภิกษุณีเดินทางไปประกาศพระพุทธศาสนานอกอินเดียเพียงคณะเดียว คือ คณะของพระสังฆ มิตตา พระธิดาของพระเจ้าอโศก ซึ่งได้เดินทางไปลังกาเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙ และได้เป็นปวัตตินีหรือพระอุปัชฌาย์บวชให้พระนางอนุฬา ขั้นตอนใน การบวชเป็นภิกษุณีนั้น สตรีผู้บวชต้องบรรพชาเป็นสามเณรีและรักษาศีล ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐ ของสามเณรได้บริบูรณ์ตลอด ๒ ปี และภิกษุณีสงฆ์ ให้การรับรองแล้วจึงบวชเป็นภิกษุณีในภิกษุณีสงฆ์ได้ ภิกษุณีสงฆ์ในลังกานั้นเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนกระทั่งถึงสมัยกองทัพโปรตุเกสบุกลังกาและมีการทำลายพระพุทธศาสนาจนทั่ว ลังกา มีสามเณรีสรณังกรเหลืออยู่เพียงรูปเดียว จึงสันนิษฐานกันว่า ภิกษุณีสงฆ์ในลังกาน่าจะสูญสิ้นลงแต่คราวนั้น และปัจจุบันก็ไม่มีภิกษุณี สงฆ์สายนิกายเถรวาทเหลืออยู่เลย คงมีแต่ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายนิกายมหายานเท่านั้น. กนกวรรณ ทองตะโก งานวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่ จรรยาบรรณ น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลาย ลักษณ์หรือไม่ก็ได้. จรรยา น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ. บรรณ น. หนังสือ; ปีก; ใบไม้. ตรรกวิทยา น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหา เหตุผลว่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่. ส่วนหนึ่งจาก หนังสือคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต เป็นหนังสือที่รวบรวมคำที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งมีที่มาจากภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต และใช้กันมานานจนยอมรับว่าเป็นคำไทยแล้ว ทั้งนี้ ได้แสดงการประสมคำและให้ความหมายของคำไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้ ภาษาไทยทราบและเข้าใจที่มาของคำ รวมทั้งใช้เป็นแนวทางจำแนกที่มาของคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทยได้ถูกต้อง มี จำหน่ายที่ ราชบัณฑิตยสถาน หรือสามารถค้นคว้าได้ที่ ห้องสุมดราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูล โทรศัพท์ ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ ต่อ ๑๐๒๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=