2693_7294
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ • วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ บรรยายเรื่อง วิธี การระบุท่าทางของคนในภาพวีดิโอ ความโดยสรุปว่า การระบุท่าทางของ คนในภาพวีดิโอมีความสำคัญต่อระบบการเฝ้าระวังสุขภาพของผู้สูงอายุ และ การก่อการร้าย เนื่องจากท่าทางที่คนสามารถทำได้มีมากมาย ในการศึกษา เบื้องต้นถึง เราพิจารณาเฉพาะท่าเดิน นั่ง ก้มตัว และนอนเท่านั้น ปัญหา การระบุท่าทางนี้ถูกแปลงเป็นปัญหาการแบ่งกลุ่มข้อมูล โดยอาศัยอัตราส่วน ของความสูงและความกว้างของตัวคนในขณะที่ทำท่าเป็นกำหนดว่าเป็นท่า อะไร จากการทดลองกับหลายตัวอย่างที่ได้จากคนหลายคน เราพบว่าวิธีการ นี้ให้ความถูกของการระบุท่าทางสูงมากกว่าร้อยละ ๙๐ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาตันติภาษา บรรยายเรื่อง พระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดียจากหลักฐานที่สาญจี ความโดยสรุปว่า กลุ่มโบราณ สาญจี หรือ สาจี เป็นมรดกโลก ตั้งอยู่ห่างจากเมืองโภปาล เมืองหลวงของรัฐมัธย- ประเทศของอินเดียไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ๔๖ กิโลเมตร ชื่อดั้งเดิมที่ใช้ มาอย่างน้อยถึงสมัยราชวงศ์คุปตะ คือ กากนาทะ โดยชื่อสาญจีน่าจะเพี้ยน มาจากคำว่า ศานติ ในภาษาสันสกฤต โบราณสถานที่โดดเด่นคือสถูปที่ใหญ่ ที่สุด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จากหลักฐาน จารึกภาษาปรากฤตบนเสาหินรองรับหัวเสารูปสิงห์ ๔ ตัวหันหลังชนกัน แสดงว่าสถูปสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก (พ.ศ. ๒๗๐-๓๐๗) สถูปองค์นี้ ก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์สาตวาหนะ และราชวงศ์คุปตะ โดยในระยะแรกจนถึงสมัยราชวงศ์สาตวาหนะ ศาสนาพุทธที่สาญจีเป็น นิกายเถรวาทแบบดั้งเดิม และตั้งแต่สมัยราชวงศ์คุปตะเป็นต้นมาเป็นศาสนา พุทธนิกายมหายาน เนื่องจากมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพแล้ว สถูปหมายเลข ๑ มีโตรณะหรือซุ้มประตูทางเข้าทั้ง ๔ ทิศ สร้างด้วย หินทราย มีประติมากรรมลอยตัวที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่โตรณะทิศ เหนือ เป็นรูปบุคคล รูปสัตว์ และรูปสัญลักษณ์ เช่น ธรรมจักร มีภาพสลัก นูนต่ำเป็นภาพต้นโพธิ์และสถูปของพระมานุษีพุทธะ ภาพชาดก คือ ฉัททันต- ชาดก อลัมพุสาชาดก เวสสันดรชาดก นอกจากนี้ยังมีภาพพุทธประวัติตอน ต่าง ๆ โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนพระพุทธเจ้า เนื่องจากคติของเถรวาท ในยุคดั้งเดิมจะไม่สร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพ เช่น ตอนประสูติสร้างเป็น รูปสตรีนั่งหรือยืน มีช้าง ๒ ตัว อยู่ ๒ ข้างกำลังพรมน้ำให้ ตอนเสด็จออก บรรพชาจะทำเป็นรูปบุคคลจูงม้าที่ไม่มีคนขี่ ตอนตรัสรู้ทำเป็นรูปต้นโพธิ์ บาง ครั้งมีรูปการพ่ายแพ้ของกองทัพมารอยู่ด้วย ตอนแสดงปฐมเทศนาทำเป็นรูป ธรรมจักร ตอนปรินิพพานทำเป็นรูปสถูป ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทำเป็นบันได ด้านบนสุดและล่างสุดของบันไดทำเป็นรูป ต้นโพธิ์ แสดงว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาพเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังการ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เช่น ภาพกษัตริย์เมืองต่าง ๆ ล้อมเมืองกุสินารา เพื่อจะชิงพระบรมสารีริกธาตุ ภาพพระเจ้าอโศกเสด็จไปยังต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า พระเจ้าอโศกเสด็จไปยังสถูปที่เมืองรามคาม เป็นต้น ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นเมือง บรรยายเรื่อง วรรณกรรมทักษิณ หลักฐาน สำคัญของภาคใต้ที่ท้าทายการศึกษา ความโดยสรุปว่า สังคมไทยภาคใต้ใช้ วรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับถ่ายทอดความรู้ ความคิด สร้างคุณลักษณะของผู้คน หรือการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาบางประการ วรรณกรรมจึงเป็นเครื่องมือ สำคัญในการสร้างพลังให้สังคมมีสมรรถนะ ศักยภาพ เจตคติ ตลอดจนค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมตามที่สังคมพึงประสงค์ ก่อนที่การพิมพ์จะแพร่หลาย หนังสือบุดเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ประเภทหนึ่งที่นิยมอย่างกว้างขวางใน ภาคใต้ วัดเก่าแก่ทุกวัดและที่บ้านของผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษามีหนังสือบุดเก็บรวบรวมไว้ เป็นจำนวนมาก เมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมามีนักวิชาการหลายท่าน อาทิ ท่าน ขุนอาเทศ (กลอน มัลลิกะมาส) นายพร้อม ศรีสัมพุทธ พระภิกษุดำ วัดหัวอิฐ เมืองนครศรีธรรมราช นายดิเรก พรตตะเสน รองศาสตราจารย์ภิญโญ จิตต์- ธรรม ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ อาจารย์วิเชียร ณ นคร และบุคคลอื่น ๆ ได้เก็บรวบรวมหนังสือบุด หนังสือใบลาน เอกสารต่าง ๆ กันอย่างจริงจัง มีการจัด ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นหลายครั้ง แหล่งสืบค้นที่สำคัญ ซึ่งเก็บรวบรวมและศึกษาวรรณกรรมดังกล่าว ได้แก่ สถาบันทักษิณคดี มหาวิทยาลัย ทักษิณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง โรงเรียนสตรีพัทลุง มี วรรณกรรม ๖,๕๑๙ รายการ ใน พ.ศ. ๒๕๔๔–๒๕๔๗ มีชุดโครงการวิจัยภูมิปัญญาทักษิณจาก วรรณกรรมและพฤติกรรม ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้มีการศึกษาค้นคว้าตรวจสอบวรรณกรรมทั้ง หนังสือบุดและผลงานวรรณกรรมที่พิมพ์เผยแพร่จำนวนมากกว่า ๕,๐๐๐ ฉบับ จัดทำเป็น วรรณกรรมปฏิทัศน์ จำนวน ๔๓๕ เรื่อง นำมาสังเคราะห์ เป็น วรรณกรรมทักษิณ:วรรณกรรมปริทัศน์ จัดทำหนังสือวรรณกรรม ทักษิณ : วรรณกรรมพินิจ และคณะผู้วิจัยได้คัดสรรวรรณกรรมรวมจำนวน ๘๔ เรื่อง เพื่อจัดทำเป็น วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร มีเนื้อหา สาระที่สำคัญ ได้แก่ ศิลาจารึก และจารึกในลักษณะอื่น ตำรา คัมภีร์ ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ตำนาน การแพทย์ บันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้อง ถิ่น นิทานประโลมโลก ความเชื่อและคตินิยม นิราศ หลักศาสนา ปรัชญา วรรณกรรมเฉพาะกิจ กฎหมาย บุคคลและสถานที่ ประเพณีและพิธีกรรม ปกิณกะ สุภาษิต และคำสอน แต่ละเรื่องจัดทำเนื้อหาเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วน แรกเป็นความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมและการวิเคราะห์ กล่าวถึง ประวัติและ ลักษณะวรรณกรรม ผู้รจนา อายุของวรรณกรรม เนื้อเรื่อง ลักษณะเฉพาะ และคุณค่า ส่วนที่ ๒ เป็นการปริวรรตวรรณกรรม ซึ่งปริวรรตเป็นอักขรวิธี ปัจจุบัน แต่ได้รักษาหรือคงถ้อยคำเดิมไว้ บางเรื่องที่มีต้นฉบับหลายเล่มและ บางเล่มขาดความสมบูรณ์ มีการชำระเป็นฉบับใหม่ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ โดยมี บทสรุปและวิพากษ์ผลของการศึกษา นอกจากนี้ ยังได้จัดทำเชิงอรรถอธิบาย ศัพท์ ถ้อยคำยากและคำศัพท์ภาษาถิ่นไว้ท้ายไว้ด้วย สำหรับวรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมคัดสรร ที่สำคัญ ได้แก่ ตำนาน สร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม โองการพญากรูด จารึกแผ่นทองที่ปลียอดพระ มหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช พระปรมัตถธรรมคำกาพย์ แหล่หมอจันทร์ พลายจำเริญ (คชานุสรณ์) คำกาพย์ และเกาะตะรุเตาทัณฑสถานประวัติศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=