2693_7294

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๗ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ พระพุทธเจ้าทรงสรุปไว้ว่า ปฏิจจสมุปบาทมี ๒ สาย คือ สายเกิดทุกข์ (สมุทยวาร) กับ สายดับทุกข์ (นิโรธวาร) สายเกิดทุกข์ คือ สายที่ต้องการ อธิบายว่า ทุกข์หรือสภาวะบีบคั้นที่คนเราเผชิญอยู่นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ประกอบด้วย การอาศัยกันเกิดของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริ- เทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และตัวการสำคัญ คือ อวิชชา สายดับทุกข์ คือ สายที่อธิบายทุกข์ดับได้อย่างไร ประกอบด้วย การดับทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ต้องดับที่เหตุคือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งความจริงด้วยการค้นหาตามรูปแบบของ ปฏิจจสมุปบาท คือ เริ่มจากทุกข์แล้วสาวไปหาเหตุเกิดทุกข์ ซึ่งทรงเรียกว่า ปัจจัย วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้ในการสืบสาวหาความจริง เนื่องจากเป็นไปตาม ขั้นตอนและเป็นปัจจัยอิงอาศัยกันในลักษณะเกื้อกูลกัน ด้วยวิธีการนี้แหละ ในเบื้องต้นจึงทรงแยกแยะได้ชัดเจนว่า อะไรคือทุกข์และอะไรคือเหตุเกิดทุกข์ จากนั้นจึงทรงศึกษาลงลึกถึงทุกข์และเหตุเกิดทุกข์ทั้งในด้านสภาวะ (ลักษณะ เฉพาะ) การเกิดและความเกี่ยวข้องกัน หลังจากนั้นก็ทรงศึกษาลง ลึกถึงการ ดับทุกข์และทางถึงความดับทุกข์ทั้งในด้านสภาวะการเกิดและความเกี่ยวข้อง กันว่าทั้งทุกข์และเหตุเกิดทุกข์ดับได้ โดยทรงระบุว่าต้องดับอวิชชาไม่ให้เหลือ (อวิชชาย อเสสวิราคนิโรธา) เนื่องจากอวิชชาสัมพันธ์อยู่กับตัณหาและ อุปาทาน เมื่อดับอวิชชาก็เท่ากับดับตัณหาและอุปาทานด้วย และเมื่อดับ อวิชชาตัณหาอุปาทาน การเกิดของสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส เมื่อไม่มีกิเลสก็ไม่มีเหตุเกิดทุกข์ และเมื่อไม่มีเหตุเกิดทุกข์ทุกข์ก็เกิดไม่ได้ แต่น่าสังเกตว่าไม่ทรงระบุถึงทางดับ ทุกข์คืออริยมรรคไว้ในปฏิจจสมุปบาทสายดับทุกข์ แต่มาทรงเสนอวิธีการ ปฏิบัติตามอริยมรรค (วิธีที่ทำให้ห่างไกลจากกิเลส วิธีที่ทำให้ละกิเลสได้) เมื่อ คราวที่ทรงจัดความรู้นั้นไว้ในรูปของอริยสัจ ๔ ดังปรากฏในธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร ซึ่งเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรก ในที่นั้นทรงเรียกทางดับทุกข์ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” (ทางสายกลาง, ทางที่อยู่กลางระหว่างที่สุดโต่ง คือ การทรมานตนเองให้ลำบากกับการทำตนเองให้หมกมุ่นในกามสุข) และว่า “อริยมรรคมีองค์ ๘” (ทางที่ทำให้ห่างไกลจากกิเลส ๘ ประการ) การแก้ปัญหาตามวิธีการของปฏิจจสมุปบาทหรืออริยสัจ ๔ นั้น ทรง สอนให้นำไปใช้แก้ปัญหาทั้งส่วนตัวและส่วนรวม โดยส่วนตัวนั้น คือ ๑. ยก ทุกข์ (ปัญหา) เป็นตัวตั้งแล้วทำความเข้าใจทุกข์ให้ชัดเจน ว่า คืออะไร ? บีบ คั้นอย่างไร ? เป็นสภาวทุกข์ (ทุกข์ที่เกิดเองตามเหตุปัจจัย) ซึ่งคนไม่มีทาง หลีกเลี่ยงได้ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หรือเป็นอาคันตกทุกข์ (ทุกข์ที่จรมาเหมือนแขกมาเยี่ยม) เช่น ความเสียใจ อันเนื่องมาจากการพลัด พรากจากสิ่งที่รัก การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก การปรารถนาแล้วไม่ได้ สมปรารถนา ซึ่งมาเยี่ยมเราเป็นครั้งคราวตามเงื่อนไขที่เราสร้าง และเราก็ สามารถทำไม่ให้เกิดได้ ๒. พิจารณาเหตุเกิดทุกข์ให้ชัดเจนว่า คืออะไร ? ส่วนมากก็คือ ความรักและความคาดหวังที่ปรุงแต่งจิตให้ไปกำหนดสิ่งต่าง ๆ ว่า สิ่งนี้เป็นที่รัก สิ่งนี้ไม่เป็นที่รัก ความรักความคาดหวังซึ่งเรียกว่า “ตัณหา” นี้เองได้ทำหน้าที่สำคัญให้เกิดทุกข์ขึ้น ๓. หาทางแก้ไขทุกข์และลงมือทำให้ สอดคล้องกับทุกข์ ด้วยการตั้งสติสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า การ ยอมให้ตัณหาเข้าไปกำหนดสร้างสิ่งเป็นที่รักไม่เป็นที่รักขึ้นไม่ถูกต้องเพราะ เป็นการสร้างเงื่อนไขให้ทุกข์เกิด ดังนั้นต้องบรรเทา จากนั้นเพิ่มพูนความรู้ ถูกต้องให้มามีอิทธิพลต่อความคิดถูกต้องคือคิดละวางปล่อยวางตัณหา จาก นั้นแสดงความคิดถูกต้องด้วยการพูด ทำ และดำเนินชีวิตแบบไม่ให้ตัณหามา มีอิทธิพลเหนือจิตใจ สุดท้ายหาทางสร้างความรู้ตัว (สัมมาสติ) และความ สงบเย็นเข้มแข็งของจิต (สัมมาสมาธิ) ไปหนุนความเข้าใจถูกต้องและความ คิดถูกต้องให้ดำเนินต่อไปเพื่อจะได้ควบคุมการพูด การกระทำและการดำเนิน ชีวิตให้ห่างไกลจากอิทธิพลของตัณหา ส่วนรวม พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสามัคคีของหมู่เป็นทางให้เกิดสุข หมายความว่า การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะที่มีความเสมอกันทั้งในด้านทรรศนะ และพฤติกรรมย่อมทำให้เกิดสุข ทุกข์หรือปัญหาสำคัญของการอยู่ร่วมกันคือ ความแตกต่างทั้งด้านความเห็นและพฤติกรรม หากไม่สามารถควบคุมหรือ ปรับความแตกต่างนี้ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ก็ย่อมเกิดปัญหาตามมาคือ ความขัดแย้ง ซึ่งเริ่มจากความขัดแย้งระหว่างตัวบุคคลและอาจลุกลามไปจน กลายเป็นความขัดแย้งกันของหมู่คณะ พระพุทธเจ้าตรัสถึงความขัดแย้งที่ ควบคุมไม่ได้ว่าสามารถขยายตัวไปเป็นการทะเลาะวิวาทด่าทอทุบตีและฉวย อาวุธเข้าประหัตประหารกันจนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย สังคมมนุษย์ผ่าน ประสบการณ์นี้มาแล้วครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่เว้นแม้กระทั่งสังคมไทยเรา มนุษย์ สามารถหาทางยุติความขัดแย้งได้ หากเริ่มต้นจากสติรู้ทันความคิด (สัมมา- สติ) มีความสงบนิ่งไม่หวั่นไหว (สัมมาสมาธิ) และใช้ปัญญาใคร่ครวญปัญหา และหาสาเหตุปัญหาร่วมกัน (สัมมาทิฏฐิ) จากนั้นปรับความคิดในเชิงบวกต่อ กัน (สัมมาสังกัปปะ) แล้วเจรจาพูดคุยกันอย่างยอมรับความจริง (สัมมาวาจา) ไม่พูดดีเข้าตัวแล้วโยนชั่วให้คนอื่นไม่ยุแหย่ให้เกิดความแตกแยก และมี พฤติกรรมทางกายที่สอดคล้องกับคำพูด (สัมมากัมมันตะ) แต่ในหลาย สถานการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้เข้าร่วมในการแก้ปัญหามักขาดสติ (มิจฉา- สติ) จึงทำให้รู้ไม่ทันปล่อยให้ความรัก (รักตัวเองและพวกของตัวเอง) และ ความเกลียด (เกลียดคนอื่นและฝ่ายอื่น) ชักจูงความคิดให้ฟุ้งซ่าน (มิจฉา- สมาธิ) ดังนั้นจึงไม่สามารถเจรจาพูดคุยกันดี ๆ ได้มีแต่พูดใส่ร้ายเสียดสี (มิจฉาวาจา) และมีพฤติกรรมยั่วยุท้าทายต่อกัน (มิจฉากัมมันตะ) ทำให้ความ โกรธความเกลียดชังระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการ ดำเนินชีวิตทำให้ชีวิตผิดทาง (มิจฉาอาชีวะ) เมื่อเป็นอย่างนี้การแก้ปัญหาภาพ รวมจึงทำไม่สำเร็จ การแก้ปัญหาเบื้องต้นจะต้องให้คนในสังคมสามัคคีกันก่อน เพื่อได้จะเกิดสติรู้ทันและมองเห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นทุกข์หรือปัญหา ร่วมกัน จากนั้นจึงพร้อมกันหาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เมื่อพบแล้วก็ร่วมหาทาง แก้ไข เมื่อพบก็มั่นใจและตัดสินใจร่วมกันว่าจะต้องแก้ปัญหาให้ได้ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ บรรยายเรื่อง ศิลาจารึกตำรายา วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ความโดยสรุปว่า ศิลาจารึกตำรายาวัดราช- โอรสารามราชวรวิหาร อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาตินั้น เป็นจารึกตำรายาบนแผ่นหินอ่อนสีเทา รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ติดประดับอยู่ตาม ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และผนังศาลารายหน้า พระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปัจจุบันมีเหลืออยู่ทั้งสิ้น ๕๐ แผ่น จากเดิมซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะมีอยู่ ๙๒ แผ่น จากการศึกษาศิลาจารึกทั้งหมดที่ยัง คงเหลืออยู่ โดยการเปรียบเทียบศิลาจารึกซึ่งคัดลอกโดยเทคนิคการถ่ายภาพ และคอมพิวเตอร์ เทียบกับสำเนาที่เคยมีผู้คัดลอกเอาไว้ คือฉบับที่คัดลอกโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิเชียร จีรวงส์ (พ.ศ. ๒๕๑๒) กับฉบับกรมศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๔๕) พบว่าศิลาจารึกที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันนั้น ติดสลับตำแหน่ง ไปจากเมื่อคราวที่กรมศิลปากรคัดลอก นอกจากนี้ ยังพบรายละเอียด ข้อความในศิลาจารึกที่คลาดเคลื่อนและหายไปอันเนื่องจากการลบเลือนไป ตามกาลเวลา หรือจากการบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งนี้จะได้จัดทำคำอธิบาย และจัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหา มงคลสมัยที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๗ รอบ โดยจะนำเสนอศิลาจารึกทั้ง ๕๐ แผ่น พร้อมศิลาจารึกที่เพิ่งค้นพบใหม่ ซึ่งไม่เคยรายงานที่ใดมาก่อนอีกอย่าง น้อย ๕ แผ่น โดยมีสำเนาศิลาจารึกซึ่งคัดลอกด้วยเทคนิคทางภาพถ่ายและ คอมพิวเตอร์ สำเนาศิลาจารึกที่คัดลอกโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิเชียร จีรวงส์ พร้อมคำจารึกที่ถอดเป็นอักษรไทยปัจจุบัน และคำอ่านจารึก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=