2693_7294
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร. ปิยนาถ บุนนาค ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชา อภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยาย เรื่อง พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ และประชาชน : มุมมองผ่านการเสด็จประพาสต้นคราวแรกของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความโดยสรุปว่า “การเสด็จประพาส ต้น” หมายถึง การเสด็จเที่ยวเล่นอย่างสามัญชนธรรมดา พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่าง ๆ อย่าง สามัญชนเดินทางและประสบ โดยมิให้ผู้ใดจำพระองค์ได้ จึงไม่โปรดให้จัดที่ประทับแรม หรือเตรียมการรับเสด็จ ไม่มีผู้ใดล่วงรู้เวลาและสถานที่ที่จะเสด็จฯ แม้แต่คณะที่ ตามเสด็จก็ไม่ทราบเส้นทางล่วงหน้า การเสด็จประพาสต้นนี้เป็นการเสด็จเยี่ยม ราษฎรส่วนพระองค์ ส่วนใหญ่เสด็จทางชลมารคด้วยเรือมาดเก๋ง ๔ แจว มีบาง ครั้งที่เสด็จฯ โดยรถไฟ ทรงพระภูษาลำลองอย่างสามัญชนและทรงปลอม พระองค์เป็นข้าราชบริพารในฐานะผู้ตามเสด็จพระราชดำเนิน ในกระบวนการ เสด็จประพาสต้น มักโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอที่มีพระพักตร์ละม้าย คล้ายคลึงกับพระองค์ ทรงเป็นพระเจ้าอยู่หัวแทนพระองค์ ทั้งนี้เพื่อทรงสนทนา ทำความคุ้นเคยกับราษฎรและทรงรับรู้ถึงปัญหาความทุกข์ยากของคนเหล่านั้น ด้วยพระองค์เอง เพราะราษฎรจะไม่เกิดความเกรงขามจนไม่กล้าพูดความจริง และเพื่อรับทราบปัญหาโดยไม่ต้องผ่านคำเพ็ดทูลของข้าราชการ การเสด็จ ประพาสต้นกับหมู่เจ้านายพี่น้องและข้าราช-บริพารที่ใกล้ชิดนอกจากจะทรงได้ พักผ่อนพระราชอิริยาบถแล้ว ยังได้ทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร ตามหัวเมือง เพื่อจะได้พระราชทานความช่วยเหลือต่อไป การเสด็จประพาสต้นคราวแรกนี้มีปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรใน หนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ ฉบับวันศุกร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หน้า ๕ เขียนไว้ว่า “วันที่ ๑๔ กรกฎาคม เสด็จออกจากบางปะอิน (ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ลงมา) ประทับแรมที่นนทบุรี ทรงทอดพระเนตรสวนแห่งหนึ่ง แล้วจึงเสด็จไป ประทับแรมที่หนองแขม คลองภาษีเจริญ...” แต่หลักฐานเอกสารที่สำคัญให้ราย ละเอียดของการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้อย่างผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์แบบที่เรียก ในเชิงวิชาการว่า “ประจักษ์พยาน” (eyewitness) คือ หนังสือ จดหมายเหตุ เรื่องประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕ (เสด็จประพาสต้น รศ. ๑๒๓) พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวง มหาดไทย ผู้ได้ตามเสด็จอย่างใกล้ชิด มุมมองเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ข้าราชการ และประชาชน ผ่านการ เสด็จประพาสต้นคราวแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นคือ “การประพฤติ” และ “การปฏิบัติหน้าที่” ในฐานะต่าง ๆ กันของบุคคลทั้ง ๓ สถานะ พระมหากษัตริย์ในฐานะพระผู้นำแห่งแผ่นดิน ทรงประพฤติปฏิบัติตน เยี่ยงสามัญชน เพื่อจะได้ทรง “รับรู้” ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตาม สภาพที่เป็นจริงด้วยพระองค์เอง ไม่ผ่านการอ่านเพียงรายงาน หรือคำกราบ บังคมทูลของข้าราชการ ขณะเดียวกันก็เป็นการติดตามและประเมินผลการ ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาคกับทั้งเป็นการทดลองใช้การ คมนาคมแบบใหม่ที่ทรงวางรากฐานไว้ด้วย ในขณะเดียวกันข้าราชการผู้ตาม เสด็จซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการบริหารบ้านเมืองในระบบราชการแบบ ใหม่ก็ได้ทรง “เข้าใจและเข้าถึง” ประชาชน อันนำไปสู่การปรับปรุงงานในส่วน ที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบในกระบวนการปฏิรูปบ้านเมืองตามพระราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนประชาชนก็ได้มีโอกาสเข้า เฝ้าแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองทั้ง “ทุกข์และสุข” ให้ทรงทราบโดยไม่รู้เลย ว่าบุคคลผู้ที่ตนได้ “เลี้ยงอาหาร” และ “สนทนาวิสาสะอย่างใกล้ชิด” คือ เจ้า ชีวิตและเจ้าแผ่นดิน จากการประพฤติปฏิบัติตามฐานะดังกล่าว สะท้อนให้เห็น ความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างพระมหากษัตริย์กับข้าราชการและประชาชน นั่นคือ ความรัก ความเมตตา และความกรุณาที่พระมหากษัตริย์ทรงมีต่อพสก- นิกรทั้งข้าราชการและประชาชน ในลักษณะของบิดามีต่อบุตร ข้าราชการผู้มี ความจงรักภักดีต่อพระองค์อย่างเต็มเปี่ยมอยู่แล้วก็ขวนขวายที่จะบริหารบ้าน เมืองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างเต็มสติเต็มกำลังเป็นการสนองพระ มหากรุณาธิคุณ ส่วนประชาชนซึ่งมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจุล- จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่แล้วในเชิงนามธรรมตามระบอบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราช การเสด็จประพาสต้นก็ยิ่งทำให้พวกเขาได้ตระหนักถึงความ รัก ความเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ต่อตนเองอย่างเป็น รูปธรรม ซึ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งและจงรักภักดีเป็นทับทวีคูณ นำไปสู่การถวาย พระราชสมัญญานาม สมเด็จพระปิยมหาราชในเวลาต่อมา รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา ปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง แนวคิดแบบ ธรรมชาตินิยมในงานเขียนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ความโดยสรุป ว่า งานเขียนของพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) แสดงแนวคิดแบบ ธรรมชาตินิยมตรงที่ยืนยันความจริงของสรรพสิ่งว่ามีอยู่ตามธรรมชาติโดยไม่มี ผู้สร้าง เช่น การเกิดของมนุษย์และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ความจริง ดังกล่าวคือ กฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ ปฏิจจสมุปบาท หลักธรรม เรื่องปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้งและเข้าใจได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงทรงอธิบายให้ พระสาวกเข้าใจเรื่องดังกล่าวด้วยคำสอนอริยสัจ ๔ การเข้าใจกฎธรรมชาติทำให้ มนุษย์เป็นอิสระจากความยึดมั่นงมงายในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น อำนาจของ เทพเจ้า โชคชะตา และพลังเหนือธรรมชาติและทำให้มนุษย์ตระหนักถึงศักยภาพ ของตนในการพัฒนาตนเองไปสู่ความรู้แจ้งและความพ้นทุกข์ได้ • วันพุธที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท : ขั้นตอนการรู้แจ้งความจริงของพระพุทธเจ้าและการปรับใช้เพื่อ แก้ปัญหาสังคม ความโดยสรุปว่า เมื่อถามว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เราก็มัก จะได้คำตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จากนั้นเราก็มัก จะไม่ได้หาคำตอบกันว่า พระองค์ตรัสรู้อย่างไร? เพราะดูเหมือนว่า คำตอบที่ ได้นั้นสมบูรณ์เต็มที่ แต่ความจริงแล้วการค้นหาคำตอบว่าตรัสรู้อย่างไรนั้นเป็น เรื่องสำคัญมาก เพราะทำให้ได้ทราบทรรศนะและวิธีการเข้าถึงความจริงจน กระทั่งทำให้พระองค์ทรงกล้าประกาศว่า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ผู้ ตรัสรู้ถูกต้องด้วยพระองค์เอง) ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมที่ทำให้ได้คำตอบ ถึงวิธีการรู้แจ้งความจริงของพระองค์ เนื่องจากแสดงถึงการรู้แจ้งความจริงไว้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แม้พระพุทธเจ้าจะตรัส ไว้ว่าไม่ใช่ธรรมะที่จะเข้าถึงได้ด้วยการใช้วิธีการแบบตักกะ (อตักกาวจร, การ คาดคะเน) แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะเข้าใจไม่ได้เลย เนื่องจากปฏิจจสมุปบาทเป็น เรื่องของชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในแต่ละคน การศึกษาค้นคว้าและทำความ เข้าใจอย่างถูกต้อง (สุตมยปัญญา)และการคิดวิเคราะห์ตามที่ได้ศึกษาอย่างถูก ต้องนั้น (จินตามยปัญญา) ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจปฏิจจสมุป- บาทได้ในระดับหนึ่ง แม้จะยังไม่ใช่การรู้แจ้ง แต่ก็เป็นปัจจัยนำไปสู่การเกิด ภาวนามยปัญญาซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดการรู้แจ้งได้ในที่สุด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=