2692_7361
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า มรสุม ในทางภูมิศาสตร์ตรงกับคำภาษาอังกฤษคำว่าอะไร และมี ความหมายอย่างไร ตอบ คำว่า มรสุม อ่านว่า มอ-ระ-สุม ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นคำนาม หมายถึง คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยายหมายถึงความยุ่ง ยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. ในทางภูมิศาสตร์ คำว่า monsoon [มัน-ซูน] ใช้ศัพท์บัญญัติว่า ลม มรสุม, มรสุม ซึ่งหมายถึง ลมประจำฤดู คำว่า monsoon เป็นคำที่มา จากภาษาอาหรับ คือ mausim [ มู-ซิม ] แปลว่า ฤดูกาล ในครั้งแรก ใช้เรียกลมที่เกิดขึ้นในย่านทะเลอาหรับ ซึ่งพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา ๖ เดือน และจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเวลา ๖ เดือน ต่อมา ได้นำคำนี้ไปใช้เรียกลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางตามฤดูกาลในรอบปีเช่นนี้ อันเนื่องมาจากความแตกต่างของหย่อมความกดอากาศเหนือภาคพื้นทวีป กับมหาสมุทรที่อยู่ข้างเคียง ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดได้แก่บริเวณอนุทวีปอินเดีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูร้อนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะพัดพาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดิน ทำให้เกิดฝนตกโดยทั่วไป ส่วนในช่วงฤดูหนาว ลมมรสุมะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากพื้นแผ่นดิน ในทวีปจะนำความแห้งแล้งมาให้เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ที่ลมนี้ พัดผ่านมหาสมุทรก่อนจะขึ้นสู่แผ่นดินอีกครั้งจึงจะนำฝนมาตกบ้าง นอกจาก ในทวีปเอเชียแล้ว ยังมีลมมรสุมเกิดขึ้นในบริเวณอื่น ๆ ด้วย แต่มีอาณาเขต เล็กกว่า เช่น บริเวณตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย บางส่วน ของทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตก. ถาม ศัพท์บัญญัติของคำว่า thunderstorm คืออะไร และมีความหมาย อย่างไร ตอบ ศัพท์ภูมิศาสตร์ คำว่า thunderstorm ใช้ศัพท์บัญญัติว่า พายุฝนฟ้าคะนอง หมายถึง ปรากฏการณ์ฟ้าแลบฟ้าร้องที่เกิดขึ้น พร้อมกับเมฆคิวมูโลนิมบัส และมักมีฝนซู่ ลูกเห็บ หิมะ หรือเกล็ดน้ำ แข็งติดตามมาด้วย. ถาม คำว่า สุญญากาศ และ สุญญากาศ คำใดเขียนถูกต้องและมีความหาย ว่าอย่างไร ตอบ คำที่เขียนถูกต้องคือ สุญญากาศ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุไว้ว่าถ้าเป็นคำนามจะหมายถึง ที่ที่ไม่มีอากาศ เช่น อยู่ ในสุญญากาศ. แต่ถ้าเป็นคำวิเศษณ์จะหมายถึง ที่ไม่มีอากาศ เช่น ขวด สุญญากาศ หลอดสุญญากาศ. ถาม ศัพท์บัญญัติของคำว่า tropical cyclone คืออะไร และมีความหมาย อย่างไร ตอบ ศัพท์ภูมิศาสตร์ คำว่า tropical cyclone หรือ tropical revolving storm ใช้ศัพท์บัญญัติว่า พายุหมุนเขตร้อน หมายถึง คำทั่ว ๆ ไปที่ใช้ เรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณที่ พายุหมุนปกคลุมแคบกว่า บริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น มีฝนตกหนัก มาก ระบบการหมุนเวียนของลมในซีกโลกเหนือเป็นไปโดยทวนเข็ม นาฬิกา ส่วนทางซีกโลกใต้เป็นไปตามเข็มนาฬิกา.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=