2692_7361
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ๕. พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจหลากหลาย ด้าน ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุขของประชาชน หากไม่มีพระมหากษัติรย์ ประชาชนและบ้านเมืองก็จะระส่ำระสาย ๖. คนไทยจึงควรจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ รักษาพระ เกียรติยศของพระมหากษัตริย์ มีจิตสำนึกรักชาติบ้านเมือง และกตัญญู ต่อแผ่นดิน ด้วยการปกป้องบ้านเมืองให้พ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ • วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชษิตา มณีใส ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณ ศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง พหุลักษณ์ในนิราศ มะเหลเถไถ ความโดยสรุปว่า นิราศมะเหลเถไถ มีเรื่องราวกล่าวถึง การเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวระหว่างวันที่ ๑๕ ตุลาคม ถึงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อประพาสมณฑลอยุธยาซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พรหมบุรี สิงห์บุรี อินทร์บุรี และมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท กำแพงเพชร มโนรมย์ พยุหคีรี สรรคบุรี ตาก อุทัยธานี การเดินทางใช้เส้นทางแม่น้ำเป็นหลัก มีจุดเริ่มต้นที่ท่าวาสุกรี มุ่งขึ้นไปทางเหนือ ถึงปากน้ำโพ เป็นที่สุด เนื้อหาเป็นบันทึกการเดินทางผ่านสถานที่ต่าง ๆ ในเส้นทาง พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างเสด็จประพาส และพระราชดำริวิจารณ์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นผล จากประสบการณ์ที่ทรงได้รับขณะเสด็จประพาส นิราศมะเหลเถไถ เป็นงานวรรณกรรมที่ก้าวหน้าด้านกลวิธีการประพันธ์ มีการเล่นทั้ง รูปแบบ ประเภทและแนววรรณกรรม คล้ายแนวคิดในทฤษฎีวรรณกรรม ในศตวรรษที่ ๒๐ ของตะวันตก มีการหยิบยืมนำลักษณะเด่นบางประการ ของวรรณกรรมเรื่องอื่น ประเภทและแนววรรณกรรมต่างแนว มาใช้ในการประกอบสร้างตัวบท สะท้อนให้เห็นแนวคิดเรื่องความไร้ พรมแดนของตัววรรณกรรม ประเภทวรรณกรรม และอาจจะ รวมทั้งประเภทของศิลปะด้วย เป็นงานที่เสนอทรรศนะวิจารณ์ทั้งโดย วิธีการล้อด้วยอารมณ์ขัน เป้าหมายการล้อมีทั้งวรรณกรรมเรื่องอื่น ขนบวรรณกรรมบางประเภท ตลอดจนตัวบุคคล และเสนอทรรศนะวิจารณ์ ด้วยอารมณ์จริงจัง พหุลักษณ์ใน นิราศมะเหลเถไถ สร้างเอกลักษณ์ โดดเด่นให้ตัวบทในบริบทวัฒนธรรมวรรณกรรมไทย แสดงให้เห็น พระปรีชาสามารถอย่างยิ่งด้านการประพันธ์และวิทยาการวรรณกรรม ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมดังพระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” โดยแท้ ศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสถา- ปัตยศิลป์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง การวิเคราะห์ ทรัพยากรและภูมิทัศน์ขนาดใหญ่เพื่อใช้กำหนดนโยบายการวางผัง ตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองสำหรับประเทศไทย ความโดยสรุปว่า การ วิเคราะห์ทรัพยากรและภูมิทัศน์ขนาดใหญ่เพื่อเป็นแนวทางการวาง นโยบายและแผนการตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง (Resources and regional landscape analysis for human settlements and urban planning) ในประเทศไทยมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเปลี่ยนแบบอย่าง ของการวางผังเมืองใหม่ โดยสร้างนโยบายและแผนการตั้งถิ่นฐานและ การพัฒนาเมืองแบบบูรณาการ และใช้ธรรมชาติ ภูมิสัณฐาน และ ระบบนิเวศเป็นตัวนำในการกำหนดพื้นที่เพื่อการตั้งถิ่นฐาน การพัฒนา เมือง การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับพื้นที่ทุกประเภท เพื่อนำไปใช้เป็น แนวทางในการกำหนดการใช้ที่ดินและบริเวณกิจกรรมต่าง ๆ การวิเคราะห์ภาค ทรัพยากร และการวางแผนภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ หมายถึง การนำข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ขนาดใหญ่ทุกด้านมา วิเคราะห์ร่วมกันแล้วประเมินหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับตั้งถิ่นฐาน พัฒนาเมือง ทำเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ปัญหาของการวางแผนภูมิทัศน์ขนาดใหญ่กับการผังเมืองใน ประเทศไทย ต้นเหตุสำคัญของความล้มเหลวในการตั้งถิ่นฐานและการ ผังเมืองของประเทศไทยเกิดจากความไม่เข้าใจในการวางแผนที่แนบเนียน และกลมกลืนกับระบบธรรมชาติ ปัจจุบันหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ต่าง ๆ ล้วนแบ่งเขตปกครองของตนเอง มีอำนาจในการดูแลด้านการ ผังเมืองและการอนุญาตปลูกสร้างอาคารที่ค่อนข้างเป็นอิสระ นอกจากนี้ เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการ หน่วยงานวางแผนกายภาพเดิมคือ กรม การผังเมืองได้ปรับเป็นหน่วยงานระดับกองภายใต้กรมโยธาธิการ เมื่อ หน่วยงานมีโครงสร้างเล็กลง ไม่สามารถยับยั้งหรือมีมาตรการควบคุม ปัญหาต่าง ๆ ได้ การตั้งถิ่นฐานและการขยายบ้านเมืองของประเทศไทย จึงเป็นไปในทางที่เสื่อมลง เนื่องจากการวางผังและการพัฒนาที่ไม่นำ ปัจจัยทางธรรมชาติมาเป็นพื้นฐานหรือมาใช้เป็นข้อพิจารณาหลัก แนวทางแก้ไข ๑. ใช้ระบบธรรมชาติ นิเวศวิทยา พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ภูมิ ทัศน์และแหล่งวัฒนธรรมเป็นตัวนำในการวางนโยบายการตั้งถิ่นฐาน และการพัฒนาเมืองในระดับภาคโดยไม่คำนึงถึงเขตการปกครอง แต่ แบ่งโดยใช้เขตลุ่มน้ำ (Water basin) ทั้งลุ่มน้ำหลัก ๑๘ ลุ่มน้ำ ซึ่ง ประกอบด้วยลุ่มน้ำสาขาต่างๆ รวม ๓๘ ลุ่มน้ำ และนำไปบูรณาการกับ แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๒. ยกระดับหน่วยงานวางแผนส่วนกลาง (กรมการผังเมืองเดิม) เป็นสำนักงานคณะกรรมการการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองแห่งชาติ และให้สังกัดในสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีอำนาจสั่งการและบูรณา การข้อมูลที่จำเป็นในการวางนโยบายและแผนระดับชาติที่กระจายอยู่ ในกระทรวงต่าง ๆ อย่างมีผล ๓. ควรจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการการตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง” ในรัฐสภาเพื่อช่วยเหลือด้านการออกและการแก้ไขตัวบทกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง และมีอำนาจการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อทันต่อ ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=