2692_7361

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๖ เดือนมกราคม ๒๕๕๔ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอักเสบหรือตีบตัน ปัจจัยเสี่ยงจากโรคอ้วนอาจจะ สัมพันธ์กับการเกิดโรคต่าง ๆ ตั้งแต่บุคคลนั้นเป็นเด็กจนกระทั่งโตเป็น ผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากโรคอ้วนอาจจะเป็นปัจจัยที่ไม่ เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ ดังนั้นความอ้วนในเด็ก จึงเป็นปัญหาทางด้าน สาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ การติดตามประเมินผล การป้องกัน ภาวะอ้วนในเด็กจึงต้องมีเครื่องมือวัดหรือดัชนีชี้วัดในการเปรียบเทียบที่ ถูกต้องแน่นอน ในระดับนานาประเทศ ใช้เกณฑ์การวัดน้ำหนักเกินและ อ้วน จากน้ำหนักต่อส่วนสูงที่ร้อยละ ๑๑๐ และ ๑๒๐ ตามลำดับ จาก การสำรวจภาวะโภชนาการในระดับชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ National Health Examination Survey ครั้งที่ ๒ (NHANES II) ใน ค.ศ. ๑๙๘๐ และครั้งที่ ๓ NHANES III ใน ค.ศ. ๑๙๙๔ ในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดมาตรฐานของเด็กที่มีน้ำหนักเกินโดยใช้ดัชนีความหนาของ ร่างกาย (BMI) ≥ 95 th percentile เป็นดัชนีชี้วัดเปรียบเทียบกับเด็กที่ มีอายุเท่ากันและเพศเดียวกัน ว่าเป็นเด็กอ้วน ในรายงานการสำรวจ สุขภาพระดับชาติครั้งแรก (National Health Examination Survey of Thailand) ซึ่งทำการสำรวจใน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในประชากรจำนวน ๑๓,๓๐๐ คน ที่มีอายุมากกว่า ๒๐ ปี พบว่าร้อยละ ๑๖.๗ ของกลุ่ม ประชากรทั้งหมดมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยแบ่งเป็นผู้ชายร้อยละ ๑๒ และ ผู้หญิงร้อยละ ๑๙.๕ ในขณะที่ร้อยละ ๔.๐ เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น มี รายงานว่าอัตราการเป็นโรคเบาหวานในเด็กอ้วนตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๖- ๑๙๙๕ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๕ เป็นร้อยละ ๑๗.๙ ใน ค.ศ. ๑๙๙๖-๑๙๙๙ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง พัฒนาการของ นิทานอีสป ความโดยสรุปว่า นิทานอีสปเป็นที่รู้จักของคนไทยมาตั้งแต่ สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๓ โดยนายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ หรือ หมอบรัดเลย์ เป็นผู้นำนิทานอีสป ๒ เรื่องคือ เรื่อง The Dog and Piece of Flesh และเรื่อง The For and the Grapes มาตีพิมพ์ในหนังสือ จดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอร์ (The Bangkok Recorder) ฉบับที่ ๗ นิทานอีสปสำนวนแรก ที่คนไทยรู้จักในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ตีพิมพ์ ในจดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอร์ มีทั้งหมด ๔๔ เรื่อง แต่ละเรื่องเป็น เรื่องสั้น ๆ มีข้อสรุปเป็นบทสอนใจ นิทานอีสปสำนวนที่ ๒ แปลและเรียบเรียงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๗ มีจำนวน ๑๐๖ เรื่อง ใน ๔ เรื่องเป็นพระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๕ ได้แก่ เรื่อง ราชสีห์กับหนู บิดากับบุตรทั้งหลาย สุนักข์ป่า กับลูกแกะ และกระต่ายกับเต่า ส่วนผู้นิพนธ์ท่านอื่น ๆ คือ กรมหลวง พิชิตปรีชากร พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ พระยาศรีสุนทรโวหาร พระยา ราชสัมภารากรขุนวิสุทธากร พระยาศรีสิงหเทพ และพระเทพกระวี นิทานอีสปสำนวนที่ ๓ เป็นสำนวนของภราดาฮีแลร์ นักบวชชาว ฝรั่งเศส ที่ได้คุณูปการสำคัญต่อวงการศึกษาของไทยในช่วงรัชกาบที่ ๕- ๗ ท่านได้แปลและเรียบเรียงนิทานอีสปเพื่อใช้เป็นแบบฝึกของเยาวชน ไทย นิทานอีสปของภราดาฮีแลร์มีทั้งหมด ๖ เรื่อง ได้แก่ เรื่อง ราชสีห์ เต่าและกระต่าย อึ่งอ่าง นกเขาเปล้า มดง่าม และเจ้าจิ้งจอกหลอกอีกา นิทานอีสปสำนวนที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๔๕๔ พระจรัสชวนะพันธ์ (สาตร์) ได้เรียบเรียงนิทานอีสป จำนวน ๔๕ เรื่อง เพื่อให้เด็กในชั้นมูล ศึกษาใช้อ่านประกอบ โดยได้รับการแนะนำจากกรมพระดำรงราชานุ- ภาพ หลังจากนั้น นิทานอีสปก็ได้รับความนิยมแพร่หลาย และมีบทบาท สำคัญในการสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดาของไทย มีการแปลเป็นภาษาไทย หลายสำนวนด้วยกัน เช่น นิทานอีสปสำนวนของ ชิต สุนทรโรทยาน แปลตามต้นฉบับของ Milo Winter นิทานอีสปสำนวนของ ผกาวดี อุตตโมทย์ แปลตามต้นฉบับของ Sir RogerL’Estrange และอื่น ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง โคลงภาพ พระราชพงศาวดาร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งการบรรยายครั้งนี้เป็นการน้อมรำลึกถึง ๑๐๐ ปีการเสด็จ สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ โคลงภาพฯ เป็นเหตุการณ์ในพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ โปรดให้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (พ.ศ. ๑๘๙๓) จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ที่กัปตันเฮนรี เบอร์นี ซึ่งเป็นทูตของอังกฤษเข้า เฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อขอเจรจาทำสัญญาการค้า ระหว่างกัน (พ.ศ. ๒๓๖๘) ประกอบด้วยภาพวาดจำนวน ๙๒ ภาพ โดย ฝีมือจิตรกรที่มีชื่อ มีโคลงสี่สุภาพที่กวีต่งอธิบายภาพ ภาพละ ๔-๖ บท รวม ๓๗๖ บท ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ ราชนิพนธ์โคลงอธิบายภาพร่วมด้วย จำนวน ๙ ภาพ รวม ๔๐ บท ทรง แสดงพระปรีชาสามารถในการร้อยโคลงอธิบายภาพแต่ละภาพเข้าด้วย กันทุกบท ภาพวาด และโคลงอธิบายภาพจัดทำเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ เพื่อนำไปแขวนผนังประดับการพระเมรุที่ท้องสนามหลวง ใน คราวพระราชทานเพลิงพระศพพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาว- ภาคนารีรัตน์ และพระโอรสธิดาอีก ๓ พระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี เดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ หนังสือภาพจิตรกรรมและโคลงภาพพระราชพงศาวดารขึ้น ๑,๐๐๐ เล่ม เพื่อเป็นของชำร่วยแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ และใช้เป็นคู่มือใน การชมภาพจิตรกรรมและโคลงภาพพระราชพงศาวดารดังกล่าว โดย โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งบาน แพนกในตอนต้นของหนังสือ แต่งร่ายประชุมโคลง และร่ายแถลงนาม ผู้แต่งโคลงในตอนท้ายของหนังสือ ด้วยเหตุนี้ หนังสือที่พิมพ์แจกจึงมี ลักษณะของวรรณคดีที่สมบูรณ์ คือ มีต้นเรื่องและท้ายเรื่องตามขนบ การแต่งวรรณคดีโบราณ และมีฉันทลักษณ์เป็นลิลิตสุภาพ นับเป็นพระ มหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งด้วยว่าการพิมพ์หนังสือครั้งนั้นช่วยรักษาให้ โคลงภาพพระราชพงศาวดารสืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ สาระสำคัญ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร มีดังนี้ ๑. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไทยที่สืบเนื่อง ต่อกันมาอย่างยาวนาน แม้ว่าจะเปลี่ยนราชธานีไป ๒. กรุงรัตนโกสินทร์สวยงามและเจริญรุ่งเรืองไม่ยิ่งหย่อนไป กว่าสมัยอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นความเจริญรุ่งเรืองด้านพุทธศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมต่าง ๆ ๓. บุญญาบารมีของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ ยิ่งหย่อนกว่าบุญญาบารมีของกษัตริย์อยุธยา และผู้เป็นพระมหา- กษัตริย์จะต้องมีบุญญาบารมีมากพอจึงจะเป็นได้ ๔. กรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติเหมือนกับ กรุงศรีอยุธยา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=