2692_7361

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชนโดยผ่านการ เลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ประชาชนมีความเสมอ ภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการเลือก แนวทางดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ การนับถือศาสนา การนิยม แนวความคิดทางการเมือง การพูด การแสดงออกทางความคิดเห็น ซึ่งต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสูงสุดของการปกครองประเทศ การยอมรับในเสียงข้างมาก ขณะเดียวกันก็ให้ความเคารพและคุ้มครองเสียงข้างน้อย แต่ความ หมายของประชาธิปไตยในแต่ละสังคมแต่ละประเทศอาจมีองค์ ประกอบอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพราะกระบวนทรรศน์ของ ประชาชน วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนมี ความหลากหลายและแตกต่างกัน จนบางครั้งทำให้เกิดข้อขัดแย้งและ ปัญหา คำถามจึงเกิดขึ้นว่า “จิตวิญญาณของระบอบประชาธิปไตย” ที่แท้จริงคืออะไร ประชาชนในสังคมรับรู้และเข้าใจประชาธิปไตยมาก น้อยเพียงไร อะไรคือสาเหตุหรืออุปสรรคที่ทำให้ประชาธิปไตยไม่เป็น ไปตามความหมายและอุดมการณ์อย่างแท้จริง ทรรศนะของนักปรัชญาคนสำคัญ จากวิถีชีวิตของประชาชนใน สังคมเอเธนส์ สรุปสาระสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยว่าคุณภาพนี้ คือการตระหนักถึง “ความสำคัญของส่วนรวมของสังคม” ที่ตนเป็น สมาชิกอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ถึงแม้มนุษย์แต่ละคนจะต้องการผลประโยชน์ แต่ปัญญาและเหตุผลหรือการคิดเป็น เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้สังคม ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ บุคคลแต่ละคนไม่ได้ช่วยให้สังคมมีสภาพของความ อยู่ดีมีสุขเฉพาะในช่วงเวลาของชีวิตตนเท่านั้น แต่จะต้องสร้างพื้นฐาน สังคมที่ดีในอนาคตให้แก่ลูกหลานที่จะสืบต่อสังคมในอนาคต แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นและแพร่ หลายในโลกตะวันตกที่มีภูมิหลัง วัฒนธรรมและกระบวนทัศน์ต่างจาก โลกตะวันออก เมื่อแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยเกิดขึ้น กระบวนทัศน์ วัฒนธรรมของสังคมตะวันออกมีผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจึงไม่ได้เป็นไปตามอุดมการณ์ของประชาธิปไตย อย่างสังคมตะวันตกแต่มีลักษณะเป็นของตัวเอง การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย จำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชน จะต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไรในฐานะเจ้าของอำนาจ แต่ละคน มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร รู้จักเลือกคนดีมี ความสามารถเชื่อถือได้ทางคุณธรรม (integrity) มาบริหารประเทศ มี ความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะไม่ยอมให้อำนาจของเงินหรือผล ประโยชน์มาครอบงำความคิด เคารพกฎหมาย และกระบวนการ ยุติธรรม ไม่คล้อยตามการชักจูงรูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งผลประโยชน์ ส่วนตน มีอุดมการณ์ที่จะช่วยสร้างสังคมที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุข สำหรับทุกคนในปัจจุบัน ถ่ายทอดอุดมการณ์ดังกล่าวสู่อนุชนรุ่นหลัง เป็นการสร้างสังคมให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ในอนาคต ทำอย่างไรประชาชนของสังคมไทยจะมีลักษณะดังกล่าวนี้ ทำอย่างไรผู้ที่ต้องการเป็นนักการเมืองจะตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของ ตนว่าเป็นผู้สร้างบ้านสร้างเมือง สร้างสภาพชีวิตที่อยู่ดีมีสุข ให้เกิดแก่ ประชาชนในสังคม การเป็นนักการเมืองไม่ได้หมายถึงการมีโอกาสสร้าง บารมีอำนาจวาสนา เกียรติยศความมั่งคั่งแก่ตนเองและพวกพ้อง และ ประการสำคัญทำอย่างไรประชาชนจึงจะสามารถควบคุมตรวจสอบการ ทำหน้าที่ของฝ่ายการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออำนาจเป็นของ ประชาชนมาจากประชาชน ประชาชนก็คือพลังที่จะเปลี่ยนแปลงการ บริหารปกครองที่เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.วิศิษฎ์ สิตปรีชา ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ปัญหา จากเกลือ” ความโดยสรุปว่า วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากทะเลซึ่ง อุดมด้วยน้ำและเกลือสู่ผืนดินซึ่งมีเกลือและน้ำน้อย ทำให้ไตเก็บเกลือ (NaCl) และน้ำโดยกลไกต่าง ๆ เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและเกลือของ สิ่งมีชีวิต ในคนการดูดซึมกลับของเกลือโดยไตมีประสิทธิภาพสูง การ บริโภคเกลือมาก จึงทำให้มีการคั่งของน้ำและเกลือในเลือดซึ่งไป กระตุ้น receptor ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้ความดัน โลหิตสูง ซึ่งเป็นกลไกเพื่อขับเกลือออกจากร่างกาย ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของโรคไตเรื้อรังซึ่งมีอุบัติการณ์ถึงร้อยละ ๑๐ ของประชากรของประเทศร้อยละ ๒๑ ของประชากรไทยมีความดันโลหิต สูงและในกรุงเทพอุบัติการณ์สูงถึงร้อยละ ๓๐ การใช้ยารักษาความดัน โลหิตสูงจึงกระทำกันอย่างแพร่หลาย จากสถิติของ IMS การใช้ยา รักษาความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี และในปัจจุบันการใช้ยามีมูลค่าถึง ๒,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี การป้องกันไม่ให้เกิดความดันโลหิตสูงจึงมีความ สำคัญมากทั้งในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ถึงแม้สาเหตุของความดัน โลหิตสูงจะมีหลายปัจจัย การบริโภคเกลือมากไปก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ผู้ ป่วยที่ความดันโลหิตสูงบริโภคเกลือมากกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตปรกติ การบริโภคเกลือให้น้อยลง จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ คนไทยควรจำกัด การบริโภคเกลือ (NaCl) ให้น้อยกว่าวันละ ๖ กรัม รวมทั้งปรับ พฤติกรรมของชีวิตเพื่อให้สุขภาพดีอยู่เสมอ “Keep the healthy people healthy all the time” • วันพุธที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปณต มิคะเสน ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง ระบาด วิทยาของโรคอ้วนในประเทศไทย ความโดยสรุปว่า ความอ้วนหรือที่ เราเรียกว่าภาวะโภชนาการเกินตามหลักสากล อาจจำแนกออกได้เป็น หลายระดับตามอัตราส่วนของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงหรือดัชนีความหนา ของร่างกาย (body mass index : BMI) การจำแนกระดับความอ้วน ในเด็กและวัยรุ่นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือ ความสูงซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การ เปรียบเทียบความอ้วนในเด็กแต่ละชนชาติมีความแตกต่างกันเป็น อย่างมาก อย่างไรก็ตามการแบ่งระดับความอ้วนในผู้ใหญ่จะให้ผลที่ แน่นอนกว่า เมื่อพิจารณาว่าสาเหตุที่ต้องมีการศึกษาภาวะอ้วนใน ประชากรก็เป็นเพราะเกิดจากการสะสมไขมันที่มากเกินกว่าปรกติ และ นำมาซึ่งสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ติดต่อได้ ความ อ้วนในปัจจุบันนี้ให้คำนิยามได้ว่าเป็นภาวะของการเป็นโรค และต่อมา เรียกว่าโรคอ้วน ในปัจจุบันอัตราความชุกของเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งเมื่อเด็กเป็น โรคอ้วนจะมีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค หัวใจ เมื่อเด็กเหล่านั้นโตขึ้น จะมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เกิดขึ้นร่วมกัน เช่น ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับฮอร์โมนสูงขึ้น ความดันโลหิตสูง และการมี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=