2692_7361

3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๓๖ เดือนมกราคม ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา ปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง การต่อต้าน การทุจริตในระดับระหว่างประเทศตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ ต่อต้านการทุจริต ค.ศ. ๒๐๐๓ ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบันการทุจริตหรือ คอร์รัปชั่นเป็นภัยที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของทั้งประเทศชาติและสังคม ระหว่างประเทศ ดังนั้นสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงตระหนักถึงความ จำเป็นในการสร้างเครื่องมือทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้าน การทุจริต โดยให้มีระบบที่เป็นเอกเทศจากที่เคยจัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ใน อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ค.ศ. ๒๐๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๓) (United Nations Convention against Transnational Organized Crime) ภายหลังได้ก่อตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจให้ศึกษา การจัดตั้งระบบดังกล่าวและยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ต่อมาสหประชาชาติได้มีมติรับรองอนุสัญญาฯ ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลถึงต้นเดือน พฤศจิกายน ศกนี้ ) มีประเทศที่เข้าเป็นภาคีฝ่ายในอนุสัญญารวมทั้งสิ้น ๑๔๘ ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าร่วมในการเจรจาและลงนามโดยผู้ช่วย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ (ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ) เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีใน อนุสัญญาฯ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในการเข้า เป็นภาคีในอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยกำหนดให้ เสนอร่างพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับต่อรัฐสภา เพื่อให้เกิดความพร้อมด้าน กฎหมายรองรับพันธกรณีในอนุสัญญาฯ ก่อนที่จะเข้าเป็นภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติฉบับนี้มีบทบัญญัติที่ช่วยในการพัฒนา ระบบและกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการในการต่อต้าน การทุจริตในระดับระหว่างประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา กฎเกณฑ์และระบบการต่อต้านการทุจริตในระดับระหว่างประเทศซึ่ง จำเป็นต่อการต่อต้านการทุจริตสำหรับนานาชาติรวมทั้งประเทศไทยซึ่ง มีนโยบายอันชัดเจนที่จะเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ แต่เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนจึงจำต้องพิจารณาความ พร้อมในทางกฎหมายโดยเฉพาะความเพียงพอของกฎหมายรองรับ และอนุวัติการตามบทบัญญัติต่าง ๆ ของอนุสัญญาฯ ซึ่งประเทศไทยมี มาตรการทางกฎหมายรองรับพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับส่วนที่ยังไม่สอดคล้องที่มีลักษณะผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามกำลัง อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่าง ครอบคลุมและมีผลบังคับได้อย่างแท้จริง ปัญหาด้านการต่อต้านการทุจริตต้องอาศัยมาตรการต่าง ๆ ใน การดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยมาตรการทางกฎหมายถือเป็น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งซึ่งต้องพัฒนาทั้งในระดับในประเทศ และโดย เฉพาะอย่างยิ่งในระดับระหว่างประเทศไปพร้อมกัน ดังเช่นกรณีของ การสร้างระบบกฎหมายขึ้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อ ต้านการทุจริต เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยได้เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ ไปบ้าง แล้ว โดยเฉพาะจากการเตรียมเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ใน ทำนองเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ กุญแจสำคัญของความสำเร็จในการ ต่อสู้กับภัยที่เกิดจากการทุจริตประพฤติมิชอบก็คือความมุ่งมั่นและ จริงใจด้านนโยบายของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งไม่เพียง ต้องเร่งผลักดันมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น แต่ยังต้องร่วมกันปรับใช้ให้ บังเกิดผลอย่างจริงจัง โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติจึงจะสามารถ ฟันฝ่าปัญหาเรื่องการทุจริตที่เป็นภัยต่อสังคม ประเทศชาติและ ประชาคมระหว่างประเทศไปได้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง การ พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ความโดยสรุปว่า การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพเป็น กระบวนการของการพัฒนาเพิ่มผลผลิต การอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ใน ชุมชนและท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจทรัพยากรความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพของ ประเทศไทย ยึดถือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการพัฒนา เป็นขั้นตอนตามลำดับขั้น เริ่มต้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ชุมชน โดยการรวบรวมองค์ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันในชุมชน และใช้ ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ใน ชุมชนและท้องถิ่นเป็นฐานการผลิต เพื่อการบริโภคภายในครอบครัว และธุรกิจครอบครัวและพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชน ขั้นที่สอง เป็นการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพขั้นต้น โดยการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น นำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพออกไปทำการผลิตผลิตภัณฑ์ ภายนอกชุมชนและพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อมทำการ ผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดระดับกลางและตลาดเฉพาะ ภายในประเทศ และขั้นที่สาม เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพขั้น ก้าวหน้า โดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงมาประยุกต์พัฒนา ผลิตภัณฑ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นอุตสาหกรรมสมัย ใหม่ผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งต้องการเงิน ทุนจำนวนมากและความสามารถในการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับต่าง ประเทศ โดยไม่ละเลยความสำคัญของการพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน • วันพุธที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง จิตวิญญาณของ ระบอบประชาธิปไตย : บทวิพากษ์เชิงจริยศาสตร์สังคม ความโดยสรุป ว่า คำว่า ประชาธิปไตย (Democracy) โดยความเข้าใจทั่วไป หมายถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=