2691_4317
5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๕ เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ นักกีฏวิทยาผู้โปรดปรานปลวกหรือแมลงเม่าบอกว่า การทำให้ชาวตะวันตกยอมรับ อาหารหน้าตาหน้าเกลียดน่ากลัวนี้ดูจะเป็นเรื่องท้าทายใหญ่หลวงทีเดียว • วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ บรรยายเรื่อง ปัญหาโรคเหตุใยหินใน ประเทศไทย ความโดยสรุปว่า ในช่วง ๒ ปีมานี้ ฝ่ายผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุข ของประเทศได้ตื่นตัวเกี่ยวกับโรคเหตุใยหินในประเทศไทย เกี่ยวการใช้ใยหินใน อุตสาหกรรม ถึงขนาดเตรียมเสนอให้รัฐบาลสั่งห้ามนำใยหินเข้าประเทศ. การ รณรงค์ดังกล่าวในสายตาของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเห็นว่าเป็นทำนอง “สูญเปล่า” โดยหลักวิชาการ และเป็นการเลือกปฏิบัติที่อาจเข้าลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อน การตื่นตัวของฝ่ายรณรงค์ต่อต้านการใช้ใยหินในประเทศไทย เริ่มจากมีผู้ รายงานผู้ป่วย ๑ รายอ้างว่าเป็นโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเหตุอาชีพรายแรกของ ประเทศไทย ที่เกิดจากจากสัมผัสใยหิน ได้ลงพิมพ์ในวารสารกึ่งวิชาการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ และต่อมาได้ลงพิมม์ซ้ำในวารสารอีกฉบับใน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยผู้รายงานหลัก คนเดิมได้เปลี่ยนผู้รายงานร่วม ๒ คน. เนื่องจากผู้ป่วยรายที่เสนอนั้นยังไม่สมบูรณ์ และไม่อาจยืนยันสาเหตุของโรคได้แน่นอน จึงมีนักวิชาการที่มีประสบการณ์ในเรื่อง ใยหินวิพากษ์คัดค้าน แต่แล้วก็ยังมีการนำไปใช้อ้างอิงอยู่ โรคเมโสเธลิโอมา หรือโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเป็นโรคที่ตั้งแต่เริ่มรู้จักกันในต่าง ประเทศ เชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสใยหิน. แต่ต่อมาได้มีรายงานมากมายว่าโรคนี้ไม่ จำเป็นต้องเกิดจากใยหิน หรือไม่จำเป็นต้องเกิดในอุตสาหกรรมใช้ใยหิน อาจเป็นผล จากการใช้วัสดุบางอย่างที่มีการปนเปื้อนด้วยใยหิน เช่นการใช้ปุ๋ยเวอร์มิคุไลต์, แป้ง ประทินผิวพวกทัลคัม การทำเหมืองหินต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด หรือเมโสเธลิโอมานี้ มีรายงานผู้ป่วยรายแรก ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ซึ่งก่อนเวลาที่มีการนำเข้าใยหินมาใช้ใน อุตสาหกรรม และนำผลิตภัณฑ์ใยหินสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๑๘) ผู้ป่วยเมโสเธลิโอมาเท่าที่มีรายงานในช่วง พ.ศ.๒๔๙๗-๒๕๓๒ มี ๓๖ ราย ซึ่งทุกรายไม่มีหลักฐานว่าเกิดจากใยหิน. หลังจากนั้นไม่มีรายงานผู้ป่วยอีกเลย จนกระทั่งรายใหม่ ๑ รายที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเกิดจากใยหิน นอกจากนั้น ผู้บรรยายเคยตรวจปอดจาก ๓๓๐ ศพที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเหตุใยหิน แต่ก็ได้พบแอสเบสทอสบอดีย์ถึงร้อยละ ๔๑ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าคนไทยทั่วไปที่ไม่ได้ ทำงานสัมผัสใยหิน อาจสัมผัสใยหินที่ยังไม่ทราบแหล่ง ซึ่งผู้บรรยายกำลังศึกษาอยู่ ในขณะนี้ จากข้อมูลที่เสนอข้างต้น จึงขอสรุปย้ำอีกครั้งว่าโรคเหตุใยหินยังไม่พบใน ประเทศไทย หรืออีกนัยหนึ่งว่ายังไม่มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากใยหินใน ประเทศไทย สุดท้าย ผู้บรรยายยกตัวอย่างโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ว่าเป็นปัญหาของ ประเทศทั้งด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจของประเทศที่รุนแรงกว่าโรคที่เกิดจาก ใยหินเป็นหมื่นเท่า ซึ่งฝ่ายสาธารณสุขของประเทศน่าจะไปรณรงค์ให้แข็งขันมาก กว่าที่กระทำอยู่ ศาสตราจารย์กิตติคุณอรุณ ชัยเสรี ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง การออกแบบและก่อสร้างเจดีย์ ในประเทศไทย ความโดยสรุปว่า เจดีย์มีการก่อสร้างกันตั้งแต่สมัยโบราณ บางแห่ง อายุนับพันปี และยังคงยืนอยู่จนถึงปัจจุบัน เกือบทั้งหมดของเจดีย์สมัยโบราณมักก่อ ด้วยอิฐ ฉาบด้วยปูนสอ ซึ่งประกอบด้วยปูนขาวผสมทรายและน้ำอ้อยหรือกาวหนัง เช่น เจดีย์พระธาตุพนม พระปฐมเจดีย์ ต่อมาเมื่อมีการผลิตซีเมนต์ขึ้นมา ก็เปลี่ยน วัสดุเป็นมอร์ทาร์แทนปูนสอ ปัจจุบันมักใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้าง แต่ ส่วนที่ทำแบบหล่อยาก เช่นงานสถาปัตยกรรม ก็ยังคงใช้อิฐก่อองค์อาคาร คอนกรีตเสริมเหล็กยังแยกออกไปได้อีกหลายชนิด เช่น ชนิดหล่อกับที่ ชนิด สำเร็จรูป คอนกรีตอัดแรง คอนกรีตพ่น, ferrocement ขึ้นอยู่กับรูปทรงของเจดีย์ ระยะเวลาที่กำหนด บางครั้งจำเป็นก็ต้องใช้เหล็กรูปพรรณเป็นโครงสร้าง สำหรับฐานราก สมัยโบราณใช้ฐานรากแผ่วางบนหินหรือดินแน่น หรือใช้เสา เข็มสั้น ๆ บางแห่งใช้โอ่ง เช่น เจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือใช้ท่อนซุงวางซ้อนและ ตั้งฉากกันหลายชั้น ปัจจุบันมักใช้เสาเข็มคอนกรีตชนิดหล่อกับที่หรือชนิดตอก ขึ้น อยู่กับสภาพของดินและสิ่งแวดล้อม นอกจากความแข็งแรงของโครงสร้าง และความสวยงามทางสถาปัตยกรรม แล้วยังต้องพิจารณาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น การป้องกันฟ้าผ่า การป้องกันการกลั่นตัว ของไอน้ำในองค์เจดีย์ การป้องกันมิให้นก ค้างคาว เข้ามาอาศัยในเจดีย์ การระบาย ความร้อน ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ใหญ่หรือเล็กก็ตาม การสร้างเจดีย์แต่ละครั้งต้อง คิดให้รอบคอบทุกอย่าง สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชานาฏกรรม บรรยายเรื่อง ลีลาท่าภาษาโขนลิง ความโดยสรุปว่า ผู้บรรยายกล่าวถึงการออกท่า ทางของโขนลิงที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากอากัปกริยาของลิงแสมในพื้นที่บริเวณเขาสาม มุข จังหวัดชลบุรี และนำข้อมูลมาจัดสัมมนาโดยเชิญครูผู้เชี่ยวชาญโขนตัวลิง และ ศิลปินโขนลิงมาร่วมปรึกษา ซึ่งได้ข้อสรุปว่าโบราณาจารย์ได้นำกระบวนท่าของลิง มาเป็นต้นแบบในการแสดงโขน การคัดเลือกผู้ฝึกหัดโขนลิง คัดเลือกจากเด็กชายอายุระหว่าง ๑๐-๑๒ ปี ซึ่งมี เกณฑ์ว่าเป็นเด็กที่มีรูปร่างท้วม สูงหรือเตี้ยก็ได้ ลำคอสั้น ท่าทางคล่องแคล่วว่องไว มือเท้าไม่ใหญ่นัก ร่างกายแข็งแรง การฝึกหัดโขนเบื้องต้น มีท่าต่าง ๆ ในการฝึกหัดขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ ๑. ตบเข่า เพื่อให้ผู้ฝึกรู้จังหวะ ควบคุมจังหวะได้คงที่ เพราะจังหวะเป็นหลัก สำคัญในการแสดงโขน ๒. ถองสะเอว ทำให้ผู้ฝึกหัดรู้จักการยักเยื้องลำตัว ยักคอ ยักไหล่และใช้ช่วง เอวให้อ่อนไหวไปตามจังหวะได้เป็นอย่างดี ๓. เต้นเสา ทำให้ผู้ฝึกหัดมีกำลังขาที่แข็งแรง สามารถออกท่าทางในการเต้น โขนได้นาน ๆ โดยไม่รู้สึกเหนื่อยง่าย ๔. ถีบเหลี่ยม ทำให้ผู้ฝึกหัดมีเหลี่ยมที่สวยงามตามแบบการแสดงโขน ๕. ฉีกขา ทำให้ผู้ฝึกหัดเกิดความคล่องตัว สามารถตีลังกา และแสดงท่าทาง ของโขนตัวลิงได้เป็นอย่างดี ๖. หกคะเมนหรือตีลังกา มีท่าตีลังกาหกม้วน ท่าอันธพา และท่าพาสุริน ประโยชน์ของการตีลังกาคือเพื่อให้อวัยวะในร่างกายเกิดความยืดหยุ่น สามารถ เคลื่อนไหว พลิกแพลงได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว กระบวนท่าทางการเต้นการรำอันเป็นภาษาของโขนลิงนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด ได้แก่ ๑. ท่าโขนอันเป็นลักษณะเฉพาะของตัวลิง เช่น ท่าขู่ ท่าคว้า ท่าหย่อง ท่าเกาคาง ๒. ท่าโขนในการรำเพลงหน้าพาทย์ กระบวนท่าของโขนตัวลิง ก็มีท่าเต้น และ ท่ารำเฉพาะในการรำเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งจะแสดงความองอาจ ผึ่งผาย และรุกรี้รุก รนตามประสาลิงด้วย การเต้น และรำเพลงหน้าพาทย์ ในการแสดงโขนนั้น มีการ กำหนดเพลงเป็นเฉพาะสำหรับตัวโขนลิงไว้ดังนี้ เสมอ พระ นาง ยักษ์ และลิง คุกพาทย์ พระ นาง ยักษ์ และลิง ตระนอน พระ นาง ยักษ์ และลิง ตระนิมิต พระ นาง ยักษ์ และลิง ปฐม ยักษ์และลิง กราวนอก พระและลิง ๓. ท่าโขนในการรำใช้บท การรำใช้บท คือ การรำตามบทพากย์ เจรจา และ บทร้อง ซึ่งตัวโขนต้องแสดงภาษาท่าทางไปตามคำพากย์ เจรจา และคำร้องนั้น ๆ โดยมีกระบวนท่าทั้งท่าที่แทนคำพูด ท่าที่แสดงกิริยาอาการ และท่าที่แสดงอารมณ์ ผสมกลมกลืนกันอยู่ ท่าโขนในการรำใช้บทของโขนตัวลิง เช่น ท่ารัก ท่าอาย ท่า โกรธ ท่าเสียใจ นอกจากกระบวนท่าเฉพาะต่าง ๆ ของโขนตัวลิงแล้ว ยังปรากฏกระบวนท่า เฉพาะในการแสดงโขนอีกมากมาย เช่น ท่ารบขึ้นลอยระหว่างลิงกับยักษ์ ท่ารบขึ้น ลอยพิเศษเกี่ยวคอระหว่างลิงกับยักษ์ ท่ารบขึ้นลอยบ่าระหว่างลิงกับยักษ์ ท่ารบขึ้น ลอยพิเศษเหยียบบ่า ท่ารบหกฉีก ท่าเกี้ยวพา ปัญหาที่ทำให้การออกลีลาท่าภาษาโขนลิงในปัจจุบันด้อยลง ๑. มีการปรับหลักสูตรตามระบบหน่วยกิต ทำให้ผู้สอนจำเป็นต้องเร่งการ ถ่ายทอดความรู้ จึงขาดการปฏิบัติซ้ำเพื่อทบทวนท่า ๒. ความเข้มงวดในการสอนลดลง เนื่องจากกระบวนท่าของโขนลิงต้องมีการ ดัดโครงสร้างร่างกายของผู้เรียน หากผู้เรียนไม่ปฏิบัติตามอาจต้องลงโทษ ผู้ ปกครองบางคนไม่เข้าใจจึงมักจะต่อว่าผู้สอนบ่อยครั้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=