2691_4317

3 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๕ เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์วุฒิชัย มูลศิลป์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชา อภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ ความโดยสรุปว่า พระราชพงศาวดาร หรือพงศาวดาร เป็นการเขียนประวัติศาสตร์แบบเก่าของไทย ที่กล่าวถึงเรื่องของ กษัตริย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความหมาย ของพระราชพงศาวดารว่า เรื่องราวของเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น เมื่ออ่านพระราช- พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงพบว่าเป็นการบันทึกเรื่องของกษัตริย์ โดยมีเรื่องอื่น ประกอบเพียงเล็กน้อย การเขียนประวัติศาสตร์แบบพงศาวดารได้เริ่มมาตั้งแต่สมัย อยุธยา และมีพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ เป็นฉบับสุดท้าย หลังจากที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ถึงวันที่ ๒๑ กันยายน ซึ่งตรงกับวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ จึงทรง เริ่มลงมือนิพนธ์ โดยในการนิพนธ์ ทรงแบ่งช่วงเวลาการครองราชย์สมบัติ ๔๓ ปี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “ตามเหตุการณ์อันเปนข้อสำคัญใน ทางพงศาวดาร” ซึ่งจะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของเหตุการณ์ สำคัญได้ชัดเจน โดยทรงแบ่งเป็น ๕ ภาค คือ “ภาคที่ ๑ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย- ราชสมบัติต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ มาจนพระชันสาสมบูรณ์ เสด็จออกทรงผนวชเปนภิกษุภาวะ หรือถ้าว่าโดยปี คือ ตั้งแต่ปีมโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ จนปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ รวมเปนเวลา ๕ ปี ภาค ๑ ภาคที่ ๒ ตั้งแต่บรมราชาภิเษกครั้งหลังแล้วทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง มาจนประกาศเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล คือ ตั้งแต่ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ จนปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ รวมเปนเวลา ๑๓ ปี ภาค ๑ ภาคที่ ๓ ตั้งแต่เริ่มแก้ไขระเบียบการบังคับบัญชามาจนทรงจัดเสนาบดีสภา คือ ตั้งแต่ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ มาจนปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ รวมเปนเวลา ๕ ปี ภาค ๑ ภาคที่ ๔ ตั้งแต่ประกาศตั้งเสนาบดีสภามาจนเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้ง แรก คือ ตั้งแต่ปีมโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ มาจนปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ รวมเวลาเปนเวลา ๖ ปี ภาค ๑ ภาคที่ ๕ ตั้งแต่เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรก มาจนสิ้นรัชกาลที่ ๕ คือ ตั้งแต่ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ มาจนปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓ รวมเปนเวลา ๑๒ ปี ภาค ๑” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงวิธีการไว้ใน “ตำนาน” ว่า “การแต่งพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ มีหลักเป็นที่อาศัย ๓ อย่าง คือ หนังสือ อย่างหนึ่งกับความรู้เห็นของบุคคลอย่างหนึ่ง... (และ) หนังสือราชการ...” หลักทั้ง ๓ ประการ ที่กล่าวมา คือ วิธีการในการค้นคว้าเพื่อทรงนิพนธ์ เมื่อทรงนิพนธ์เสร็จก็ยัง ถวายเจ้านาย เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ กรมพระ นริศรานุวัดติวงศ์ (ต่อมาคือ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) ให้ทรงอ่านและ ให้ความเห็น ซึ่งหลัก ๓ ประการที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึง ถือเป็นความรู้ที่ก้าวหน้าในการเขียนพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์ในบ้านเมืองของ เราเวลานั้น อีกทั้งครอบคลุมประเด็นพื้นฐานเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึง who (ใคร) what (อะไร) when (เมื่อไร) where (ที่ไหน) why (ทำไม) และ how (อย่างไร) ในหลักทั้ง ๓ ประการที่ทรงใช้จึงทำให้พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ แตกต่างจากพระราชพงศาวดารทั้งหลายที่มีมาก่อน เมื่ออ่านแล้วทำให้รู้เรื่อง พงศาวดารได้ดีกว่าแบบเก่า ดังที่ทรงตั้งความหวังไว้ พระนิพนธ์พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๕ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถือเป็นมรดกที่ล้ำค่าทาง ประวัติศาสตร์ไทยเล่มหนึ่ง ทั้งในด้านความรู้ทางประวัติศาสตร์และวิธีการที่ทรงใช้ ในการนิพนธ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงสาระสำคัญในพระราชพงศาวดารเพียงบาง ประเด็นเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป เรื่องแรก คือ ความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่อง การมีอำนาจของตระกูลบุนนาค โดยเฉพาะเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อ มาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) สมุหพระกลาโหม และบุตรชายของ ท่าน คือ พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ (วร บุนนาค ต่อมาคือ เจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์) จางวางมหาดเล็กและผู้บังคับบัญชาการทหารอย่างยุโรป เรื่องที่ ๒ คือ การที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้มีการแต่งตั้งวังหน้าโดยผิด ประเพณี เพราะพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงเลือกเอง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิเคราะห์ว่า เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์หลีกไม่พ้นที่จะต้องเป็นผู้สำเร็จราชการ แผ่นดิน จึงคิด “ให้มีอะไรเป็นเครื่องป้องกัน อย่าให้คนทั้งหลายสงสัยว่าท่านจะ ชิงราชสมบัติ...” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่องการเลือกวัง หน้าโดยอ้างผู้รู้เห็นกับการประชุมเลือกวังหน้า ว่า “สังเกตดูผู้ที่อยู่ในที่ประชุมไม่เห็น ชอบโดยมาก ที่เป็นด้วยกลัวเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เท่านั้น” เรื่องที่ ๓ คือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงประเพณีราชทูตต่างประเทศเข้าเฝ้า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์เรื่องนี้ไว้ในตอนที่ ๑๒ อย่างน่า สนใจ ไทยเคยมีปัญหาเมื่อเซอร์จอห์น เบาว์ริง ต้องการเข้าเฝ้าโดยยืนและคาด กระบี่ เพราะท่านอ้างว่าท่านเป็นอัศวิน (Knight) และเมื่อ เดอ โชมองต์ เข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เคยยืนและคาดกระบี่เมื่อเข้าเฝ้ามาแล้ว พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงอนุญาตให้เซอร์จอห์น เบาว์ริง ยืนและคาด กระบี่เข้าเฝ้าได้ จากตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่ยกมา จะเห็นได้ว่า สมเด็จฯ กรม พระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญอย่างครบถ้วน และพยายาม วิเคราะห์เหตุการณ์โดยใช้หลักการสำคัญ ๓ ประการ โดยทรงใช้หลักฐานทั้งที่เป็น ลายลักษณ์อักษรที่ทรงรู้เห็นเอง ทรงร่วมในเหตุการณ์ และที่ทรงได้ยิน ทรงรับรู้มา หลายเรื่อง อีกทั้งทรงอธิบายเพิ่มเติมไว้ในเชิงอรรถในบางเรื่อง เพื่อช่วยให้ผู้อ่าน เข้าใจง่ายขึ้น หรือเพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาความน่าเชื่อถือ ข้อมูลทั้งหลายมีความ สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนั้น แม้ว่าจะทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ ไม่จบ มีเพียงภาคที่ ๑ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ทรงใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ทัน สมัยในการนิพนธ์พระราชประวัติและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกล่าวได้ว่า ทรงวางรากฐานประวัติศาสตร์ นิพนธ์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการเขียนงานทางประวัติศาสตร์ แม้จะทรง นิพนธ์ได้เพียงปีเศษ ๆ ของรัชสมัยเท่านั้น • วันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช จันทรศร ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชา อภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง การจัดการภาครัฐตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ความโดยสรุปว่า การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ และ การบริหารทรัพยากรบุคคลของภาครัฐ สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงมาปรับใช้ได้ในทุกกิจกรรมสำคัญ ๆ โดยครอบคลุมการบริหารจัดการในด้าน ต่าง ๆ รวม ๘ ด้าน ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการระบบข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ (๒) การบริหารจัดการระบบการสื่อสารของหน่วยงานภาครัฐ (๓) การบริหารจัดการ ระบบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐ (๔) การบริหารจัดการระบบการตรวจสอบ ถ่วงดุลของหน่วยงานภาครัฐ (๕) การบริหารจัดการระบบการมีส่วนร่วมของหน่วย งานภาครัฐ (๖) การบริหารจัดการระบบการบริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ (๗) การบริหารจัดการระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วย งานภาครัฐ และ (๘) การบริหารจัดการความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในแต่ละ ด้านที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ จะเห็นได้ว่าหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมายที่หน่วยงานภาครัฐสามารถมาปรับใช้ ในการบริหาร จัดการได้อย่างสมบูรณ์ แต่ละหน่วยงานภาครัฐสามารถนำเงื่อนไข ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน มีความเพียร มีสติ มีปัญญา แบ่งปัน) มาใช้เป็นมรรควิธีในการบริหารจัดการ ควบคู่ไปกับการยึดหลักทางสายกลางซึ่งได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มาเป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=