2690_3986

7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๔ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส โดยเฉพาะโมหะและโทสะอย่างล้ำลึกจนพาไปสู่ ความตาย กวีมีความสามารถอย่างเยี่ยมยอดในการคัดสรรถ้อยคำที่มีความ ไพเราะ สละสลวย พรรณนาภาพและอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างแจ่มแจ้งและ ลึกซึ้งกินใจ ผลของการศึกษาว่าลิลิตพระลอมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ วรรณกรรมและศิลปกรรมแขนงอื่นอย่างใดบ้าง และวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มา อย่างไร พบว่า ลิลิตพระลอนับเป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิด การสร้างสรรค์วรรณกรรมและศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ๑. บทละคร ได้แก่ บทละครเรื่องพระลอนรลักษณ์ พระนิพนธ์ของกรม พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (สมัย ร.๓) บทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บทละครเรื่องพระลอ บทนิพนธ์ของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ๒. วรรณคดีคำกลอน ได้แก่ พระลอคำกลอน ผู้แต่งคือ นายร้อยเอก หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม) ๓. นวนิยาย ได้แก่ เรื่องรักที่ถูกเมิน ของนิตยา นาฎยสุนทร และ รักที่ ต้องมนตรา ของทมยันตี ๔. เพลง เช่น ตับพระลอ ได้แก่ ตับลาวเจริญศรี ตับพระลอคลั่ง เป็นต้นเพลงยอยศพระลอ ผู้แต่งคือ พยงค์ มุกดา ผู้ร้องมีหลายคน ที่เด่น ที่สุดได้แก่ ชินกร ไกรลาศ ๕. จิตรกรรม มีจำนวนมาก ที่เด่นได้แก่ผลงานของเหม เวชกร และ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๖. ประติมากรรม ได้แก่ รูปปั้นที่เมืองโบราณ ๗. วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลิลิตพระลอ ได้แก่ วรรณกรรม ล้านนา ดังต่อไปนี้ ๗.๑ ซอเตียวดง หรือ ซอเดินดง บางทีก็เรียกว่า ซอพระลอเดินดง เป็นบทซอหรือบทขับร้องประกอบการฟ้อน พระราชชายาเจ้าดารารัศมีโปรด ให้กวีท้องถิ่น คือ ท้าวสุนทรพจนกิจ (บุญมา) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ใช้ ทำนองซอล่องน่าน พิจารณาจากเนื้อร้องของบทซอโดยละเอียดอาจกล่าวได้ ว่า บทซอบทนี้น่าจะไม่ได้รับอิทธิพลจากลิลิตพระลอโดยตรง พระราชชายา เจ้าดารารัศมีทรงได้รับแรงบันดาลใจจากบทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นอกจากนี้ เมื่อพระ ราชชายาดารารัศมีโปรดให้ท้าวสุนทรพจนกิจแต่งบทละครซอเรื่องน้อยไจยา โดยทรงได้แนวคิดจากละครร้องในราชสำนัก เนื่องจากละครซอเรื่องน้อยไจ ยาใช้ทำนองล่องน่านเหมือนซอเดินดงซึ่งมีเนื้อร้องจากเรื่องพระลอ บางทีจึง มีผู้เรียกบทขับร้องในบทละครเรื่องน้อยไจยาโดยเฉพาะตอนที่นางเอกซึ่งชื่อ ว่านางแว่นแก้วขับร้องว่า “ซอพระลอแว่นแก้ว” ๗.๒ โคลงพระลอสอนโลก เป็นวรรณกรรมคำสอนเรื่องหนึ่ง ดัดแปลง จาก โคลงเจ้าวิทูรสอนโลก โดยดัดแปลงเฉพาะตอนต้นเรื่องและตั้งชื่อใหม่ ๗.๓ ตำนานประจำถิ่น ได้แก่ เรื่องพระลอซึ่งเล่าที่อำเภอสอง จังหวัด แพร่ ที่ควรทราบก็คือ ตำนานที่เล่าขณะนี้ไม่ใช่เรื่องที่เล่าสืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่โบราณ เพราะจากการศึกษาของนักวิชาการหลายคน ไม่เคยพบว่ามีการ เล่าเรื่องพระลอในกลุ่มคนเมืองในล้านนา โดยเฉพาะที่จังหวัดแพร่มาก่อน การเผยแพร่เรื่องพระลอในหมู่ประชาชนก็ดี การปรับพระธาตุหินส้มให้เป็น พระธาตุพระลอ การสร้างอุทยานพระลอที่มีรูปปั้นและจิตรกรรมเล่าเรื่อง พระลอและพระเพื่อนพระแพงก็ดี ล้วนเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ มาจากความ พยายามของผู้บริหารที่จะสร้างจุดเด่นให้แก่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ในการศึกษาที่มาของลิลิตพระลอนั้น ผู้บรรยายพบว่ามีเรื่องเล่าที่มีแบบ เรื่อง (tale type) ทำนองเดียวกับเรื่องพระลอพบในกลุ่มชนที่พูดภาษา ตระกูลไทหลายกลุ่ม ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ มีทั้งสำนวนมุข ปาฐะและสำนวนลายลักษณ์ซึ่งแต่งเป็นร้อยกรอง บางแห่งมีการแต่งเป็นบท ละคร และเป็นบทเพลงขับร้องขนาดยาว เรื่องเล่าดังกล่าวเท่าที่รวบรวมไว้ ในขณะนี้ มีดังนี้ ๑. เรื่องอูเป่มสามลอ พบในกลุ่มไทขึนและไทใหญ่ในล้านนา ทั้งยังเป็น เรื่องที่รับรู้อย่างแพร่หลายในกลุ่มไทใหญ่ ไทขึนในประเทศพม่า ไทใหญ่และ ไทลื้อในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีทั้งสำนวนมุขปาฐะและสำนวนลายลักษณ์ ที่เป็นร้อยกรองและบทละคร ๒. เรื่องขุนลูนางอั้ว หรือขูลูนางอั้ว เรื่องขุนลูนางอั้วหรือขูลูนางอั้ว เป็นที่รับรู้ของคนไทยในภาคอีสาน คนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และคนไทดำในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีทั้งที่เป็น เรื่องเล่าทางมุขปาฐะและสำนวนลายลักษณ์ที่แต่งเป็นร้อยกรอง ๓. เรื่องท้าวสามกับนางโอ้ (นางอั้ว) เป็นเรื่องเล่าในหมู่ไทลา เมืองจุง หรือหยวนเจียง มณฑลหยุนหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ๔. เรื่องปันลงกับปันลี เป็นเรื่องเล่าในหมู่ชาวจ้วงที่เมืองกวางหนาน เขตปกครองตนเองเหวินซานจ้วง-ม้ง มณฑลหยุนหนาน สาธารณรัฐ ประชาชนจีน เรื่องปันลงกับปันลีนี้นอกจากสำนวนที่เป็นเรื่องเล่าทางมุข ปาฐะแล้ว ยังมีสำนวนที่เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่จดจำถ่ายทอดต่อๆ กัน มาจากรุ่นสู่รุ่นหลายสำนวน ซึ่งชาวจ้วงนิยมนำมาขับร้องเป็นเพลงโต้ตอบ ระหว่างชายหญิง แม้ว่าเรื่องพระลอมีส่วนคล้ายคลึงกับเรื่องโรเมโอและจูเลียตซึ่ง เชกสเปียร์แต่งโดยได้อิทธิพลจากตำนานของกรีก แต่เราคงไม่สามารถจะ กล่าวได้ว่า ลิลิตพระลอและโรเมโอกับจูเลียตตลอดจนตำนานกรีกมาจาก แหล่งกำเนิดเดียวกัน เว้นแต่จะสามารถหาหลักฐานความสัมพันธ์ทาง ประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณได้ เรื่องราวที่เกิดจากความรักที่ผิดหวังและนำ ไปสู่ความตายเช่นนี้ น่าจะเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง เพราะมนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดที่ คล้ายคลึงกัน และมีประสบการณ์ในชีวิตที่คล้ายคลึงกันได้ นิทานที่เกิดจาก หลายแหล่งจึงมีส่วนคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากเรื่องเล่าของชนเผ่าไท โดยเฉพาะเรื่องอู เป่มสามลอของไทใหญ่ไทขึน จะเห็นว่ามีส่วนใกล้เคียงกับเรื่องพระลอหลาย ประการ เช่น ชื่อตัวละครและวัฒนธรรมบางอย่าง น่าสังเกตว่านางอูเป่มใน เรื่องอูเป่มสามลอมีพี่เลี้ยง ๒ คน และเรื่องนี้กล่าวถึงการขับซอเยินยอความ งามของตัวละครด้วย ผู้บรรยายจึงขอเสนอเพื่อพิจารณาว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า เรื่องพระ ลอมีที่มาจากเรื่องเล่าแต่โบราณของชนชาติไท เมื่อแพร่กระจายไปในกลุ่ม ชนชาติไทหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ในการ ถ่ายทอด เรื่องพระลอไม่ได้มาจากเรื่องเล่าของกลุ่มคนเมืองในล้านนา แน่นอน เป็นไปได้หรือไม่ที่กวีสมัยนั้นจะรับฟังเรื่องเล่านี้จากคนไทขึนหรือไท ใหญ่ ซึ่งอพยพเคลื่อนย้ายไปในที่ต่าง ๆ โดยเหตุที่ลิลิตพระลอเป็นผลงาน ของกวีที่เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นเพื่อถวายพระ มหากษัตริย์ ลิลิตพระลอจึงมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเรื่องราวให้เหมาะกับ สถานการณ์ โดยกวีแสดงความสามารถด้านวรรณศิลป์อย่างสุดฝีมือด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=