2690_3986
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สูงกว่าวงจรจุดหลอดวาวแสงที่ใช้อินเวอร์เตอร์แบบขับนำร่วมกับทรานซิสเตอร์ แบบมอสเฟตตัวเดียวที่ผู้นิพนธ์เคยนำเสนอไว้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วงจรอินเวอร์เตอร์ในบทความนี้มีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าโดยเฉลี่ยประมาณร้อย ละ ๘๙ ตลอดช่วงค่ากำลังไฟฟ้าที่ป้อนให้แก่หลอดวาวแสง คือช่วง ๑๐-๑๗ วัตต์ ส่วนวงจรอินเวอร์เตอร์ที่เคยนำเสนอในอดีตมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่เกิน ร้อยละ ๘๕.๒ ในช่วงค่ากำลังไฟฟ้าช่วงเดียวกัน สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย บรรยายเรื่อง คำสี่จังหวะ ความโดยสรุปว่า ในภาษาไทย มีคำกลุ่มหนึ่งออกเสียงเป็น ๔ จังหวะ มี ๔ พยางค์ หรืออาจมีมากกว่า ๔ พยางค์ คำสี่จังหวะปรากฏในคำพูดทั่วไป บทกลอน วรรณคดี มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมักสร้างขึ้นจากคำหนึ่งพยางค์ หรือคำสองพยางค์ ที่น่าสนใจคือ คำที่ปรับ เป็นคำสี่จังหวะ กับคำที่เป็นคำพยางค์เดียวหรือสองพยางค์เดิมมักมีความ หมายเหมือนกัน คำสี่จังหวะจึงมีลักษณะคล้ายคำเสริมสร้อย คือ มีคำที่เป็น หลักของความหมาย และมีคำที่เติมต่อเข้ามาโดยไม่ได้เพิ่มความหมายใด ๆ เช่น มา กินข้าว เสียซิ หรือ มา กินข้าวกินปลา เสียซิ บางครั้งก็เสริมคำที่มี ลักษณะคล้องจอง เช่น แต่ก่อน ไม่เห็นเขามาคุยกับเรา ก็อาจจะพูดว่า แต่ ก่อนร่อนชะไร ไม่เห็นเขามาคุยกับเรา คำสองพยางค์บางคำอาจขยายเป็นคำสี่จังหวะด้วยการเติมคำที่มีความ หมายเกี่ยวเนื่องกัน หรือมีเสียงสอดคล้องกัน เช่น ชาวบ้าน ขยายเป็นคำสี่จังหวะ ว่า ชาวบ้านร้านตลาด ตระกูล ขยายเป็นคำสี่จังหวะว่า ตระกูลมูลชาติ เป็นต้น คำสามพยางค์บางคำอาจขยายเป็นคำสี่จังหวะด้วยการเติมคำที่มีเสียง สัมผัสกับคำจังหวะใดจังหวะหนึ่ง เช่น ฉากบังเพลิง ขยายเป็นคำสี่จังหวะว่า ฉากตั้งบังเพลิง สัปดน ขยายเป็นคำสี่จังหวะว่า สัปดี้สัปดน ในบทความนี้ ผู้บรรยายได้ศึกษาคำสี่จังหวะตามหัวข้อต่อไปนี้ ๑. จังหวะ เสียงสัมผัสและเสียงซ้ำของคำ ๑.๑ จังหวะการลงน้ำหนักคำ แบ่งเป็น ออกเสียงเบาหนักเบาหนัก ออก เสียงหนักทุกพยางค์ และคำที่มีพยางค์เบาอยู่ด้วย ๑.๒ เสียงสัมผัสและเสียงซ้ำของคำ ๒. ความหมายของคำที่มาประกอบกัน ๒.๑ คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ๒.๒ คำที่มีความหมายตรงกันข้าม ๒.๓. คำที่มาประกอบบางคำไม่มีความหมาย หรือมีความหมายที่ไม่ เกี่ยวเนื่องกัน ๓. ความสัมพันธ์ของคำที่มาประกอบกัน ๓.๑ ชนิดของคำที่มาประกอบกัน คือ คำนาม คำกริยา คำบอกจำนวน คำอุทาน แบ่งเป็น คำที่นำมาประกอบกันเป็นคำชนิดเดียวกัน และคำที่นำมา ประกอบกันเป็นคำต่างชนิดกัน ๓.๒ ความสัมพันธ์ของคำที่ประกอบเป็นคำสี่จังหวะ แบ่งเป็น โครงสร้างคำนาม โครงสร้างคำกริยา ๔. คำสี่พยางค์ในคำเลียนเสียงคำประพันธ์และในสำนวน ๔.๑ เป็นคำเลียนเสียง คือ คำบรรยายเสียงของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งคำที่ บรรยายอากัปกิริยาบางอย่าง เช่น ตะริดติ๊ดตี่ มะรุมมะตุ้ม อีลุ่ยฉุยแฉก กร ลับกรลอก กรลึงกรลอก ๔.๒ คำสี่จังหวะในคำประพันธ์ เช่น บทฉุยฉายพราหมณ์ ซึ่งเป็นบท พระนารายณ์แปลงเป็นพราหมณ์น้อยเพื่อช่วยราปรศูรย์ให้พ้นคำสาปของ พระอุมา ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระคเณศเสียงา ๔.๓ คำสี่จังหวะที่เป็นสำนวน เช่น - คำขึ้นต้นของวรรคหน้ากับวรรคหลังมีความหมายตรงกันข้าม เช่น ข้านอกเจ้า บ่าวนอกนาย ตาดีได้ ตาร้ายเสีย หัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก ถี่ ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย - คำขึ้นต้นของวรรคหน้ากับวรรคหลัง หรือข้อความวรรคหน้ากับวรรค หลังเกี่ยวเนื่องกัน เช่น กินบนเรือน ขี้บนหลังคา เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า สวยแต่รูป จูบไม่หอม เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ • วันอังคารที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณ- ศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ บรรยายเรื่อง Star-crossed Lovers-คู่ เวรคู่กรรม ความโดยสรุปว่า คู่รักที่เป็นคู่เวร-คู่กรรมหรือ Star-crossed lovers หมายถึงคู่รักซึ่งมักถูกอำนาจภายนอกขัดขวางทำให้ความสัมพันธ์ไม่ ราบรื่น มีอุปสรรค แต่เดิมหมายถึงว่าความรักของคู่รักถูกขัดขวางโดยดาว ร้ายหรือดาวอริ มีที่มาจากโหราศาสตร์ตามความเชื่อที่ว่าตำแหน่งหรือการ โคจรของดวงดาวมีอิทธิพลเหนือชีวิตมนุษย์ ตัวอย่างของ Star-crossed lovers ที่มีชื่อเสียงในตำนานและวรรณกรรมนานาชาติตั้งแต่สมัยโบราณมา จนถึงสมัยปัจจุบันได้แก่ ตำนานกรีกเรื่อง Pyramus and Thisbe ซึ่งเป็น เรื่องของคู่รักที่อยู่บ้านติดกันมีเพียงกำแพงอิฐกั้นในเมืองบาบิโลน แต่ไม่ สามารถพบกันได้เนื่องจากครอบครัวเป็นศัตรูกัน ได้แต่คุยกันผ่านรอยแตกใน กำแพง ทั้งสองนัดจะหนีตามกันไปในป่า แต่ทิสบีซึ่งไปถึงก่อนพบสิงโตซึ่งเพิ่ง ล่าเหยื่อมาเข้าก็ตกใจวิ่งหนีไป พิรามุสมาถึงเห็นผ้าคลุมของทิสบีฉีกขาดมี รอยเลือดก็นึกว่าทิสบีถูกสิงโตกินเลยฆ่าตัวตาย ทิสบีกลับมาเห็นพิรามุสตาย ก็ฆ่าตัวตายตาม เรื่อง Romeo and Juliet ของเชกสเปียร์ก็สร้างตามเรื่อง ของพิรามุสกับทิสบี แต่ฉากเปลี่ยนเป็นนครเวโรนา ตระกูลของโรเมโอกับ จูเลียตเป็นอริกัน แต่ทั้ง ๒ คนกลับมารักกันและวางแผนจะหนีไปด้วยกัน โรเม- โอฆ่าญาติของจูเลียตตายจึงถูกเนรเทศออกจากเมือง ส่วนจูเลียตซึ่งถูกพ่อ บังคับให้แต่งงานจึงกินยาที่ทำให้ดูเสมือนตายและถูกนำไปฝังที่สุสานของ ตระกูล เกิดการผิดพลาดในการสื่อสาร ทำให้โรเมโอคิดว่าจูเลียตตายจริง ๆ จึงกินยาพิษตาย พอจูเลียตฟื้นขึ้นมาเห็นโรเมโอตายเลยใช้กริชของโรเมโอฆ่า ตัวตายตาม ทำให้ทั้ง ๒ ตระกูลซึ่งต่างก็เสียลูกไปหันมาคืนดีกันได้ Romeo and Juliet ฉบับสมัยใหม่คือ West Side Story ซึ่งเป็นเรื่องราวของคู่รัก ต่างเชื้อชาติในย่านเสื่อมโทรมของนิวยอร์กท่ามกลางสงครามระหว่างแก๊ง ดำเนินเรื่องอย่างเทียบเคียงกันได้กับเรื่องเดิมแต่จบลงด้วยการตายของ พระเอก เรื่องที่ใช้สารัตถะอย่างเดียวกันของไทยได้แก่ พระลอ ซึ่งมีที่มาจาก นิยายพื้นบ้านของเมืองแพร่ โดยที่พระลอแห่งเมืองสรองได้ไปมีสัมพันธ์กับ พระเพื่อนพระแพง พระธิดาฝาแฝดของท้าวพิชัยพิษณุกรเจ้าเมืองสรอง แต่ ภายหลังทั้ง ๓ พระองค์ถูกพระเจ้าย่าซึ่งอาฆาตที่พระบิดาของพระลอประหาร พระสวามีของนาง จึงสั่งทหารให้มาฆ่าทั้ง ๓ พระองค์เสีย ทั้ง ๒ เมืองก็ได้ คืนดีกันหลังการตายของทั้ง ๓ พระองค์ ส่วน เงาะป่า ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวก็เป็นเรื่องรักสามเส้าของหนุ่มสาวชาวเงาะหรือซาไกที่อาศัย อยู่ในป่าเมืองพัทลุงคือซมพลา ลำหับ และฮเนา ซึ่งจบลงด้วยการตายของ ทั้ง ๓ คน จึงเห็นได้ว่าเรื่องของ Star-crossed lovers นี้มีลักษณะเป็นสากล ไม่จำกัดเวลา สถานที่ เชื้อชาติ หรือชั้นวรรณะ • วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นเมือง บรรยายเรื่อง ลิลิตพระลอ : การ ศึกษาอิทธิพลและที่มา ความโดยสรุปว่า ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่สำคัญ ยิ่งเรื่องหนึ่งในประวัติวรรณคดีไทยได้รับการประกาศยกย่องจากวรรณคดี สโมสรให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีลิลิต เพราะมีความงดงามทั้งในด้านเนื้อหา และวรรณศิลป์ ในด้านเนื้อหา ลิลิตพระลอแสดงให้เห็นลักษณะของปุถุชนที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=