2690_3986

5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๔ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ เลือด สามารถเพิ่มปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไตและฟื้นฟูสมรรถภาพของไตได้ • วันพุธที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ยงค์วิมล เลณบุรี ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บรรยายเรื่อง การจำลองระบบเป็นจังหวะในธรรมชาติ : กรณีศึกษากระบวนการสร้างกระดูก ความโดยสรุปว่า ระบบหลายระบบแสดง ลักษณะที่มีการกระโดดเป็นจังหวะในตัวแปรตัวหนึ่ง หรือหลายตัว เช่น ระบบ ผู้ ล่าเหยื่อที่ถูกเก็บเกี่ยวเป็นระยะ หรือผลกระทบของการรักษาเยียวยาเนื้อร้ายที่ เป็นห้วง ๆ หรือระบบการหลั่งฮอร์โมนภายใต้การให้ฮอร์โมนเสริมอย่างเป็นคาบ การกระตุ้นในลักษณะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบ และการตอบสนองที่เรา ควบคุมได้ยาก ดังนั้น ความมีเสถียร และการคงตัวอยู่ของตัวแปรในระบบเป็น สิ่งที่น่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง เราจะแสดงว่าระบบเป็นจังหวะสามารถศึกษา ค้นคว้าได้อย่างไรในเชิงคณิตศาสตร์ และ การคำนวณโดยใช้แบบจำลอง กระบวนการสร้างกระดูกเป็นกรณีศึกษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ประเภท วิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ บรรยายเรื่อง บทบาททาง วิชาการของสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ความโดยสรุปว่า เมื่อ เกษียณอายุราชการแล้ว ได้เข้ามาเป็นภาคีสมาชิกสำนักวิทยาศาสตร์ ก่อน หน้านั้นมีผู้ชักชวนหลายครั้ง แต่ด้วยอุดมการณ์ต้องการทำงานให้หน่วยงาน ที่รับผิดชอบให้สิ้นสุดก่อน เพื่อจะได้อุทิศกายและใจเข้ามารับใช้สถาบันใหม่ ให้เต็มที่. ด้วยความรู้สึกส่วนตัวของผู้บรรยายตั้งแต่ก่อนเข้ามาเป็นสมาชิก เข้าใจว่าราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันวิชาการสูงสุดของประเทศ จากสมญา นาม”สถาบันของบัณฑิตแห่งพระราชา” แต่เมื่อเข้ามาในช่วงแรก ๆ เริ่ม สงสัยและผิดหวังกับปรากฏการณ์หลายอย่าง. ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๕๓๕ หลัง จากเข้ามาสัมผัสบรรยากาศในสำนักวิทยาศาสตร์ได้ ๓ ปีเศษ เริ่มระอาใจจึง เตรียมบทบรรยายในการประชุมวิชาการของสำนักวิทยาศาสตร์ครั้งที่ ๑๘/ ๒๕๓๕ ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๕ แต่ถูกงดไป (ดูบทบรรณาธิการชื่อ “ราช- บัณฑิต/ภาคีสมาชิก กับราชบัณฑิตยสถาน” ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๖). จากความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ที่ยังฝังใจ ใคร่เห็นราชบัณฑิตสถานเป็นสถานปราชญ์ของประเทศ จึงไปปรึกษากับกลุ่ม ราชบัณฑิตอาวุโสขอทำวารสารราชบัณฑิตยสถานฉบับสำนักวิทยาศาสตร์ เพื่อพิมพ์บทบรรยายทางวิชาการของสำนักวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มฉบับที่ ๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๓๖ ฉบับที่ ๒ เดือนธันวาคม ๒๕๓๖ และฉบับที่ ๓ เดือน สิงหาคม ๒๕๓๗ แล้วก็งดไปโดยทางราชบัณฑิตยสถานไม่มีเงินสนับสนุนการ จัดพิมพ์ การเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในราชบัณฑิตยสถานและในสำนัก วิทยาศาสตร์ด้วยก็ต่อเมื่อศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งตลอดยุค ๔ ปีของท่าน ได้มีนวัตกรรม และปฏิรูปมากมาย อาทิ การจัดทำวารสารราชบัณฑิตยสถานตามมาตรฐาน สากล อย่างไรก็ดี ความเจริญทั้งหลายคงเป็นด้านโครงสร้างของสถาบัน ยัง ไม่ถึงเป้าหมายการเป็นสถาบันวิชาการระดับชาติที่สามารถทำให้ฝ่ายบริหาร ประเทศรับฟัง. ผู้บรรยายอ้างว่าสภาพการณ์ปัจจุบันของสำนักวิทยาศาสตร์ ได้เปลี่ยนไป มาก จากการมีสมาชิกวัยหนุ่มสาวผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ไม่เป็น”กรุผู้สูงอายุ” อีกต่อไป มีปัญหาที่ท่านเหล่านี้ยังไม่สามารถทำงานให้ราชบัณฑิตยสถานได้เต็ม ร้อย ลึก ๆ ในใจ ผู้บรรยายอยากถามสมาชิกแต่ละท่านในสำนักวิทยาศาสตร์ ว่าในช่วงเวลาที่เข้ามาเป็นสมาชิกในราชบัณฑิตยสถานได้ทำอะไรที่ตนคิดว่าจะ เชิดชูให้ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันปราชญ์ของแผ่นดินได้ แต่ไม่กล้าเสี่ยง ชีวิต จึงได้แต่เพียงสุ่มถามความคิดเห็นของสมาชิกบางท่าน (๘ ท่าน) ว่าท่านคิด ว่าสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานควรมีบทบาททางวิชาการอย่างไร • วันพุธที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีปิโตรเคมี บรรยายเรื่อง Clean Technology R&D in an Industry ความโดยสรุปว่า SCG Chemicals Co. is the flagship of a group of chemical/petrochemical companies-some of them majority-owned by it, some JV (joint ventures) located mainly in the Map Ta Phut Industrial Estate, Eastern Seaboard, Rayong Province. It’s the Corporate Policy of The Siam Cement Group (SCG) to implement and invest in R&D, and SCG Chem. now has a combined number of nearly 100 researchers, engineering and technical support staffs stationed either in Map Ta Phut, Chulalongkorn University, of Thailand Science Park (TSP in Rangsit). Green Technology (Clean Technology) is one of the key strategic areas of SCG as a whole as well as of SCG Chem. The talk here will introduce an example each of the short-term, medium-term and long-term projects undertaken by SCG Chem. The short-term project describes the successful development of high-emissivity coating materials, which are applied to the inner surfaces of furnace walls to help save energy. The possibility of using titania recovered from the waste stream of a catalyst production plant is also investigated. The medium-term project describes the development and application of a liquid-liquid solvent extraction process to treat the spent caustic stream used to remove sulfur and other impurities from the cracked gas stream coming out of the ethylene cracker. Solvent extraction is used here to remove the undesirable hydrocarbons (impurities) from the caustic stream so that the cleaned caustic stream can be used in a pulp mill, thereby earning extra incomes while eliminating the relevant wastewater treatment costs. The long-term project describes on-going R&D efforts to remove CO 2 (a green-house gas) from the flue gas coming out of a combustion furnace. The recovered CO 2 is to be used as carbon source for the cultivation of a suitable micro-algae species, for example, spirulina. Once the most suitable micro- algae species has been identified, the micro-algae will be cultivated, harvested and processed to produce potential products for internal use or for sale. ศาสตราจารย์ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง อินเวอร์เตอร์พุช- พูลแบบขับนำเพื่อการจุดหลอดวาวแสงด้วยแบตเตอรี่ ความโดยสรุปว่า บทความนี้นำ เสนอวงจรอินเวอร์เตอร์แบบที่ขับนำด้วยออสซิลเลเตอร์ และ ใช้ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟต ๒ ตัวผลัดกันทำงานแบบพุช-พูลในวงจรกำลัง เพื่อจุดหลอดวาวแสงขนาด ๑๘ วัตต์ด้วยแบตเตอรี่ วงจรออสซิลเลเตอร์ที่ใช้ ขับนำทรานซิสเตอร์ดังกล่าวสร้างขึ้นจากวงจรรวมเบอร์ TL494 ซึ่งให้แรง ดันไฟฟ้าด้านออกที่มีรูปคลื่นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ แรงดัน โดยที่ความถี่ของ แรงดันไฟฟ้าทั้งสองนี้ถูกกำหนดไว้ที่ ๑๙.๒ กิโลเฮิรตซ์ ส่วนวงจรที่สร้างแรง ดันไฟฟ้าขับนำทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟตในวงจรกำลังนั้น ประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ขนาดเล็ก ๒ ตัวกับชิ้นส่วนวงจรอื่น ๆ ตามที่ จำเป็น ผลการทดลองปรากฏว่า วงจรอินเวอร์เตอร์ที่นำเสนอนี้มีสมรรถนะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=