2690_3986
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เลียนแบบ ซึ่งยังผลทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การมีความยั่ง ยืน โดยเฉพาะเมื่อองค์การให้ความสำคัญกับการคิดในเชิงสร้างสรรค์ที่มุ่ง สร้างสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมแล้ว การพัฒนาความสามารถของ องค์การย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จและการเติบโตขององค์การที่ยั่งยืน จาก ความสำเร็จขององค์การที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาจะพบว่าการเพิ่มพลังจาก ภายในจะเกิดขึ้นยากมากหากผู้นำขององค์การยังยึดติดกับกรอบแนวคิด หรือ ความสำเร็จในอดีต โดยไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ กับพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่างทางความคิด มีบรรทัดฐานและค่านิยมที่ ร่วมสมัยแตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ แต่การปรับเปลี่ยนแนวคิดดัง กล่าวแทนที่จะใช้เป็นการกำหนดให้องค์การกำหนดตามเกมของอุตสาหกรรม เพื่อแข่งขันในอนาคต ดังนั้นผู้นำจึงต้องหันกลับมาศึกษาวิเคราะห์ทรัพยากร และความสามารถที่เป็นแก่นที่มีค่าขององค์การที่มีอยู่แต่กลับถูกละเลยจาก การนำมาใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด การเป็นผู้นำร่วมสมัยที่ดีนั้น ไม่ควรยึด ติดกับการจำกัดความหมายแค่เพียงว่าผู้นำผู้นั้นมีการลงทุนและพัฒนาใน ทรัพยากรและความสามารถใหม่เท่านั้น การรู้จักนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ถึงแม้ จะจับต้องไม่ได้แต่มีคุณค่าในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมา ประยุกต์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่แตกต่าง น่าจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการ พิสูจน์ความร่วมสมัยของผู้นำมากกว่า • วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์สัญชัย สุวังบุตร ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชา อภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง ซาเรวิชนิโคลัส-บนเส้นทางสู่ราช- บัลลังก์ ค.ศ. ๑๘๖๘-๑๘๙๖ ความโดยสรุปว่า ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงเป็นพระ ราชโอรสองค์โตในซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ (Alexander III) และซารี นามาเรีย เฟโอโดรอฟนา (Maria Feodorovna) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๘ ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทรงมีพระอนุชาและพระ ภคินีรวม ๕ พระองค์ มีพระทัยอ่อนไหว ขี้อายและถือพระองค์ นิโคลัสที่ ๒ ทรงสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. ๑๘๙๐ ตามจารีตของราชสำนักเพื่อให้ทรง พร้อมที่จะเป็นซาร์ ซาเรวิชต้องเสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ เป็นเวลานาน เพื่อแนะนำพระองค์ให้เป็นที่รู้จักในราชสำนักต่าง ๆ ของยุโรป แต่ซาร์ อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ ทรงให้ซาเรวิชนิโคลัสและแกรนด์ดุ๊กจอร์จีพระอนุชา พร้อมด้วยพระประยูรญาติอีก ๓ พระองค์เสด็จประพาสท่องโลกแทนโดย เยือนอียิปต์ อินเดีย ลังกา เกาะสิงคโปร์ ปัตตาเวีย จีน และญี่ปุ่น หลังเสด็จ เยือนญี่ปุ่นก็จะกลับรัสเซียทางด้านไซบีเรียเพื่อวางศิลาฤกษ์ทางรถไฟ สายทรานส์-ไซบีเรีย (Trans–Siberia) ที่สถานีวลาดิวอสตอค (Vladivostok) การเสด็จประพาสดินแดนทางตะวันออกครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะซาร์ อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ ประสงค์จะแยกความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างพระ ราชโอรสกับมาทิลเด คเชสซินสกายา (Mathilde Kschessinskaya) ดารา บัลเล่ต์วัย ๑๗ ปี ส่วนเหตุผลอีกประการหนึ่งคือรัสเซียกำลังปรับเปลี่ยน นโยบายต่างประเทศตามกระแสลัทธิจักรวรรดินิยม เพื่อขยายอิทธิพลแข่ง ขันกับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ ในดินแดนโพ้นทะเล ในช่วงการเดินทางท่อง โลกครั้งนี้มีการปรับเส้นทางโดยเสด็จเยือนสยามด้วยเป็นเวลา ๕ วัน การ เสด็จประพาสสยามไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ของทั้ง ๒ ประเทศแนบแน่น กันมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังวางรากฐานของสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างราช- วงศ์โรมานอฟกับราชวงศ์จักรีในเวลาต่อมาด้วย ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. ๑๘๙๔ ซาเรวิชนิโคลัสเสด็จเยือนแคว้นเฮสส์– ดาร์มชตัดท์ (Hesse–Darmstadt) เพื่อร่วมงานอภิเษกสมรสพระเชษฐาของ เจ้าหญิงอาลิกซ์ ในการเสด็จครั้งนี้ซาเรวิชทรงขอหมั้นเจ้าหญิงอาลิกซ์ซึ่ง เจ้าหญิงก็ทรงยอมรับและยอมจะเปลี่ยนการนับถือคริสต์ศาสนานิกาย โปรเตสแตนต์เป็นนิกายออร์โทดอกซ์รัสเซีย การตัดสินพระทัยครั้งนี้เข้าใจว่า ไกเซอร์วิลเลียมที่ ๒ (William II ค.ศ. ๑๘๘๘–๑๙๑๘) พระญาติสนิทและ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Victoria ค.ศ. ๑๘๓๗–๑๙๐๑) พระอัยกา ทรงสนับสนุนอย่างมาก เมื่อซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ ประชวรหนัก ทรงให้ เจ้าหญิงอาลิกซ์ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้เสด็จจากเยอรมนีมารัสเซียด่วน เข้า เฝ้าเพื่อพระราชทานพรก่อนอภิเษกสมรสและเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับพระ ประยูรญาติ หลังจากเจ้าหญิงอาลิกซ์ประทับที่รัสเซียได้เพียง ๙ วัน ซาร์ อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ ขณะพระชนมายุ ๔๙ พรรษาก็สวรรคต ซาร์นิโคลัสทรง ประสงค์จะเสกสมรสกับเจ้าหญิงอย่างเงียบ ๆ ทันที แต่พระประยูรญาติส่วน ใหญ่ทัดทานเพราะเห็นว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสเป็นงานพิธีสำคัญของรัฐ และต้องจัดทำที่พระราชวังฤดูหนาว ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก วันอภิเษก สมรสจึงกำหนดขึ้นในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน การก้าวสู่อำนาจของซาร์องค์ใหม่ทำให้เป็นที่คาดหวังกันว่าพระองค์จะ ผ่อนคลายการปกครองแบบอัตตาธิปไตย แต่ซาร์นิโคลัสทรงแถลงพระ ปณิธานอย่างชัดเจนว่าจะทรงยึดแนวทางอัตตาธิปไตยตามแบบพระราชบิดา ทั้งปฏิเสธที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่จะ ให้เซมสตโว (Zemstvo) หรือสภาท้องถิ่นมีอำนาจในการปกครองตนเองมาก ขึ้น อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงขาดความเข้มแข็งที่จะปกครองอย่างเด็ดขาด พระองค์มักตัดสินพระทัยเรื่องงานบริหารราชการโดยใช้คำแนะนำของผู้ที่ ถวายความเห็นคนสุดท้ายซึ่งมักเป็นซารีนาอะเล็กซานดรา นอกจากนี้ ความ เป็นคนเจ้าระเบียบยังทำให้พระองค์ใส่พระทัยกับรายละเอียดทุกขั้นตอนของ งานบริหารซึ่งแตกต่างจากซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๓ ที่ทรงเน้นแนวนโยบาย ทั่วไป การผลักดันนโยบายต่าง ๆ ให้บรรลุผลในทางปฏิบัติจึงล่าช้าและขาด ประสิทธิผล เมื่อเวลาผ่านไปการบริหารราชการแผ่นดินก็กลายเป็นภาระอัน หนักอึ้งซึ่งซาร์ไม่สามารถควบคุมและบริหารได้ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ใน ช่วง ๖ ปีแรกหลังการขึ้นครองราชบัลลังก์ทั้งซาร์และซารีนาทรงใช้ชีวิตร่วม กันอย่างมีความสุขและทรงมีพระราชธิดาร่วมกันถึง ๔ พระองค์ แต่ตามพระ ราชโองการ ค.ศ. ๑๗๙๗ ที่ซาร์ปอล์ (Paul, ค.ศ. ๑๗๙๖-๑๘๐๑) ตราขึ้น กำหนดให้การสืบสันตติวงศ์เป็นสิทธิเฉพาะแก่พระราชวงศ์ฝ่ายชายที่เป็นพระ ราชโอรสองค์โตและตัดสิทธิ์ของพระราชธิดาและเชื้อสายพระราชธิดา ทั้งหมด ทั้งซาร์นิโคลัสที่ ๒ และซารีนาอะเล็กซานดราจึงทรงกังวลเกี่ยวกับ ปัญหาการไม่มีรัชทายาท แต่ก็ไม่ได้ทรงสิ้นหวังเพราะทรงเชื่อมั่นว่าพระเป็น เจ้าจะไม่ทอดทิ้งพระองค์และรัสเซีย สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูล ราชบัณฑิต ประเภท วิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง การฟื้นฟู สมรรถภาพของไตในโรคเบาหวาน : ความเป็นไปได้ ความโดยสรุปว่า ความ ล้มเหลวในการรักษาผู้ป่วยโรคไตอักเสบจากเบาหวานเป็นเหตุสำคัญของการ เกิดไตวายเรื้อรังขั้นสุดท้ายในปัจจุบัน เป็นที่สังเกตว่าการรักษาทั่วไปมักเริ่ม เมื่อไตเสื่อมค่อนข้างมากเนื่องจากขาดดัชนีคัดกรองที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้ ศึกษากลไกการซ่อมแซมหลอดเลือดของไต เพื่ออธิบายความล้มเหลวของ การรักษา ผลการศึกษาพบความบกพร่องของกลไกการซ่อมแซมหลอดเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไตเสื่อมค่อนข้างมาก การขาดสารเสริมการซ่อมแซม หลอดเลือด VEGF receptor 1 โดยมีการคั่งของสารต้านการซ่อมแซม หลอดเลือด VEGF receptor 2 เกิดการกระตุ้นที่ผิดปกติ (VEGF ◊ VEGF receptor 2) ทำให้ไม่มีการสร้างสารไนตริกออกไซด์ ในทางตรงกันข้าม กลไกการซ่อมแซมหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตอักเสบจากเบาหวานระยะเริ่ม แรก (ดัชนีคริอาตินินในเลือดปกติ ไม่พบไข่ขาวในปัสสาวะ อัตรากรองสาร ของไตต่ำไม่มาก ดัชนีชี้บ่งภาวะโรคไตเรื้อรัง; fractional excretion of magnesium ผิดปกติ) กระตุ้นผ่านวิถีปกติ (VEGF ◊ VEGF receptor 1) ทำให้มีการสร้างสารไนตริกออกไซด์ได้ เมื่อนำข้อมูลองค์ความรู้ดังกล่าวมา ขยายผลรักษาผู้ป่วยไตอักเสบจากเบาหวานระยะแรกด้วยยาขยายหลอด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=