2690_3986

3 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๔ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขา วิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง ปรัชญาไทย ความโดยสรุปว่า ชาติไทยและวิถีไทยได้ผ่านวิวัฒนาการและพัฒนาการมายาวนาน ได้ สร้างสรรค์ สะสม และสืบทอดวัฒนธรรมคติธรรมของตน ผสมกับที่ได้จาก แหล่งอื่นนอกวัฒนธรรมไทยเดิม จนได้วุฒิภาวะทางปรีชาญาณไทยถึงระดับ ปรัชญาไทย เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือกันอย่างกว้างขวาง ถึงแม้มาในยุคใหม่ ดังเป็นอยู่ปัจจุบัน ไทยกำลังเสียสมดุลการครองชีวิตและดำเนินวิถีชีวิตเป็น ไทย ให้แก่พลังความรู้ความคิดเห็นและความเชื่อแนวตะวันตกก็ตามเถิด แต่ ไทยก็กำลังตระหนักความจริงนี้ และกำลังปรับตัวบนรากฐานอันแน่นหนา มั่นคงในวัฒนธรรมไทย หนึ่งของวัฒนธรรมเอเชียที่มีมานานกว่าของคน ตะวันตกหลายชาติ คนไทยจึงน่าที่จะภูมิใจในปรัชญาไทยจากปรีชาญาณชน ไทย ตามแนววิถีไทย คนไทยมีไม่ได้ถ้าไม่มีชาติไทย วิถีไทยและความเป็นไทย ซึ่งได้จากปรัชญาไทย ขณะเดียวกันปรัชญาไทยเกิดไม่ได้ถ้าปราศจากวิถีไทย คนไทย และชาติไทย วิถีไทยย่อมมีความเหมือนกันในหมู่คนไทย และมีความ แตกต่างจากหมู่คนชาติอื่น แม้อยู่กันได้ก็ด้วยถือคุณค่าตรงกันในบางเรื่อง บางแนวทาง วิถีไทยปลูกฝัง หล่อหลอม สร้างสรรค์ เสริมแต่งและกำหนด ความเป็นไทย ไม่มีการผูกขาด แต่มีการนิยม เชิดชู และหวงแหน เพราะเป็น เรื่องคุณค่าอันใคร ๆ มีสิทธิและความชอบธรรม ในการยอมรับนับถือคุณค่า ไทยในวิถีไทย มาในปรัชญาไทยสาขาหนึ่งเรียกว่า คุณวิทยาหรืออัคฆวิทยา ภาษาอังกฤษว่า Thai Axiology ที่ว่าด้วยคุณค่าทางความรู้ ความจริง คุณ- ธรรม จริยธรรม ความถูกต้องดีงาม ความสุขและความเชื่อในกรรม (มโน กรรม วจีกรรม และกายกรรม) ของคนไทย คุณค่านี้เป็นนามธรรมที่สะสมไว้ ในจิตใจของคนไทย ไม่ใช่เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยทางวัตถุ แต่ใช้ในการ ปลูกฝัง หล่อเลี้ยง และพัฒนา คุณภาพและคุณสมบัติของความรู้สึกนึกคิด และจิตใจ เป็นคุณค่าส่วนรวมไม่ใช่เป็นของคนไทยคนเดียว เช่น ขันติธรรม ยุติธรรม สามัคคีธรรม คารวธรรม สังคหธรรม ปัญญาธรรม เป็นต้น คุณค่า นี้คนไทยถือเป็นพลังสูงสุด กำหนดจัดวางและนำพาวิถีชีวิตแห่งความเป็นไทย แสดงออกทางสังคม การเมืองการปกครอง กฎหมาย ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม จารีตประเพณี ความเชื่อ การศึกษา และอื่น ๆ คุณค่านี้เป็น วัฒนธรรมคติธรรม กำหนดวัฒนธรรมวัตถุธรรมอีกต่อหนึ่ง เป็นอำนาจสร้าง ความเป็นคนแบบไทยให้มีคุณสมบัติ บุคลิกลักษณะ อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึก นึกคิด และรสนิยมชีวิต เป็นคนชนิดใด ในส่วนรวม นักสู้หรือนักจำนน ผู้นำ หรือผู้ตาม ใฝ่รู้ใฝ่เรียนใฝ่คิด หรือตรงกันข้าม ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์หรือผู้ลอก เลียน ผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ผู้สร้างหรือผู้ทำลาย ผู้เอาอย่างหรือผู้คิดเองทำ เอง พึ่งตนเองหรือเอาแต่พึ่งพาคนอื่น เป็นไทหรือเป็นทาส เข้มแข็งหรือ อ่อนแอ ผู้ละทิ้งของเก่าหรือผู้มัวเมาของใหม่ ผู้สร้างชาติหรือผู้ทำลายชาติ มี น้ำใจหรือแล้งน้ำใจ เป็นต้น ชาติไทยและวิถีไทยไม่ได้เกิดขึ้นด้วยปรัชญาไทย ล้วน ๆ อย่างเดียว แต่อาศัยส่วนผสมผสานปรุงแต่งจากปรัชญาของคนชาติ อื่นด้วยระดับหนึ่ง ถ้าวิถีไทยและปรัชญาไทยผสมกับของชาติอื่นไม่ได้ หรือ ผสมกับของ เขามากเกินพอดี ย่อมอยู่รอดไม่ได้ เรียกว่า สิ้นชาติไทย ไทยจึง ต้องฉลาดเลือกสรร กลั่นกรอง เอาบางอย่างของคนชาติอื่น วิถีชีวิตอื่น และ ปรัชญาอื่น มาผสมกลมกลืนหลอมรวมเข้ากับของไทยเป็นหลัก จึงเป็นของ ไทยเพื่อความเป็นไทย มนุษย์มีศักยภาพรอรับการพัฒนาเพิ่มขึ้น ผ่าน ประสบการณ์และขั้นตอนการศึกษาเล่าเรียนวิชาเป็นมนุษย์ ทั้งวิชาชีวิตและ วิชาชีพด้วยตนเอง และอาศัยกระบวนการตามวัฒนธรรมการศึกษาของ สังคมนั้น ๆ ชาตินั้น ๆ เพื่อให้ได้และเข้าถึงปรัชญา คือ แนวคิดความเห็น และความเชื่อเป็นพลังกำหนด และนำพาการประกอบกรรมระดับต่าง ๆ และเพื่อสิ่งมุ่งประสงค์ของชีวิต ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ปัจจุบันและอนาคต ปรัชญามีแหล่งที่มาทั้งภายในและภายนอกวัฒนธรรมของชาตินั้น จะเกิดเอง หรือริเริ่มสร้างสรรค์เองทั้งหมดโดยปราศจากที่มาย่อมไม่ได้ แม้พุทธปรัชญา โดยการตรัสรู้ธรรมของเจ้าชายสิทธัตถะ แหล่งที่มาหลักสำคัญแห่งปรัชญา ไทย ยังเห็นคุณค่าทางคุณธรรมจริยธรรมบางระดับ เช่น กตัญญูกตเวที เมตตากรุณา อวิหิงสาธรรม มโนธรรม และ มนุษยธรรม ที่นิยมถือปฏิบัติกัน แต่เดิมมา (เอสธมฺโม สนนฺตโน) ว่าเป็นของดีและให้ประโยชน์สุขแก่มนุษย์ ลักษณะพิเศษของพุทธปรัชญา เช่น ลักษณะปฏิวัติก็เฉพาะบางเรื่อง ลักษณะ ปฏิรูปก็เฉพาะบางอย่าง และลักษณะอนุรักษ์ก็เฉพาะบางเรื่องบางอย่าง ที่ ควรค่าแก่การพัฒนามนุษย์ได้ผลตามเหตุผล รองศาสตราจารย์ ดร.ผลิน ภู่จรูญ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง การกระตุ้นพลังจาก ภายใน : ภารกิจของผู้นำร่วมสมัย ความโดยสรุปว่า การแข่งขันที่มีความ รุนแรงมากขึ้นหากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะพบว่า การแข่งขันดังกล่าวเป็นการ แข่งขันด้วยการใช้องค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดในเชิงสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้น ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างไรก็ดีถึงแม้องค์การจะสามารถพัฒนานวัตกรรม ให้เกิดขึ้นได้อย่างประสบความสำเร็จ แต่การที่จะรักษาความสำเร็จนั้น ๆ ไว้ ได้ในระยะยาวเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เพราะในตลาดที่มี กำไรและการเติบโตย่อมมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแย่งกำไรส่วนเกิน เสมอ การกระตุ้นพลังจากภายในจึงเป็นทางเลือกที่องค์การสามารถประยุกต์ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความสามารถที่องค์การมีอยู่แล้ว โดยเฉพาะ การกระตุ้นการพัฒนาจากแก่นความสามารถผ่านความสามารถของพนักงาน ในองค์การที่มีความมุ่งมั่นผูกพันในการทำงาน เพราะมีกระบวนการอย่างง่าย ๆ ที่สามารถสร้างให้เกิดแรงจูงใจที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของ มนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ จากการศึกษาพบว่าตัวแปรในการ ศึกษาหลายตัวเป็นตัวแปรที่ถูกละเลยอย่างน่าเสียดายเพราะเป็นตัวแปรที่ ทำให้เกิดแรงจูงใจและความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์การ เช่น การให้ ความสำคัญ การยกย่องในการทำงานที่ทุ่มเท ที่สำคัญการออกมารับผิดชอบ แทน หรือออกมาปกป้อง และช่วยเหลือในยามที่มีลูกน้องปัญหาในการทำงาน ในฐานะหัวหน้า ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นในการบริหารทุกวัน ที่ สำคัญบทบาทของผู้นำในฐานะที่เป็นผู้ที่จะต้องนำองค์การก้าวข้ามผ่าน วิกฤติการณ์ที่ยุ่งยากนี้ การปรับแนวคิด และการปรับมุมมองในเชิงกลยุทธ์ ที่ แตกต่างจากรูปแบบเดิม พบว่าเป็นทางออกที่หลายบริษัทนำมาใช้แล้วประสบ ความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ ความร่วมสมัยของผู้นำนั้นแท้จริงมีอยู่ในความ คิดของผู้นำส่วนใหญ่แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การจัดการประสบกับปัญหานั้น กลับเกิดจากการตกอยู่ในกับดักความคิดแบบเดิม การใช้กระบวนการเดิม นอกจากนั้น ยังกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันโดยใช้มุมมองหรือเครื่องมือเดิมที่ เกือบจะทุกบริษัทกระทำแบบเดียวกัน ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทุกองค์การต่าง กำหนดทิศทางไปในทิศทางเดียวกันและต่างมุ่งไปยังเวทีการแข่งขันเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้นคือทุกองค์การต้องต่อสู้กับการแข่งขันแบบเดิม และกับคู่แข่งเดิม ผู้นำที่ร่วมสมัยจึงสมควรให้ความสำคัญกับการออกแบบองค์การให้สามารถใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ขององค์การมากกว่าทรัพยากรที่จับ ต้องได้เพราะปัจจัยเหล่านั้นเป็นที่มาของแก่นความสามารถที่ยากต่อการลอก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=