2689_5214

8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า กรรมาธิการ มีความหมายว่าอย่างไร และคำอ่านที่ ถูกต้องอ่านอย่างไร   ตอบ คำว่า กรรมาธิการ อ่านว่า กำ-มา-ทิ-กาน เป็นคำนาม หมายถึง บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะ กรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประกอบ ด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการ วิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็น สมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภา ทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ. ถาม คำว่า เด็จขาด และ เด็ดขาด คำใดเขียนถูกต้อง และคำว่า เด็จ และ เด็ด มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ตอบ คำเขียนที่ถูกต้องคือ เด็ดขาด ในพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุความหมายของคำว่า เด็ดขาด เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เฉียบขาด, ไม่เปลี่ยนแปลง, ว่าอย่างใดทำอย่างนั้น, ถึงที่สุด. ส่วนคำว่า เด็จ เป็นคำกริยา หมายถึง ขาด. (เป็นคำ ภาษาเขมร) และคำว่า เด็ด ถ้าเป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้ ขาดด้วยเล็บหรือนิ้ว เช่น เด็ดดอกไม้. แต่ถ้าเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทีเดียว, เป็นอันขาด, เช่น ดีเด็ด ไม่เอาเด็ด. ถาม คำอ่านที่ถูกต้องของคำว่า สังหาริมทรัพย์ อ่านว่าอย่างไร ตอบ คำอ่านที่ถูกต้องสามารถอ่านได้ทั้ง สัง-หา-ริ-มะ-ซับ และ สัง-หา-ริม-มะ-ซับ ถาม คำว่า กะเชอ, กระเชอ, กระเฌอ และ กะเฌอ คำเขียนที่ ถูกต้องคือคำใด ตอบ คำเขียนที่ถูกต้องคือ กระเชอ ถาม คำว่า วิสามัญ และ สามัญ มีความหมายแตกต่างกัน อย่างไร ตอบ คำว่า วิสามัญ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ใช่สามัญ, เช่น ข้าราชการวิสามัญ สมาชิกวิสามัญ ประชุมสมัยวิสามัญ, พิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น คณะกรรมาธิการ วิสามัญ. ส่วนคำว่า สามัญ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ปรกติ, ธรรมดา, เช่น ชนชั้นสามัญ คนสามัญ.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=