2689_5214
7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๓ เดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ทุกศัพท์สร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยคำไทย เช่น Analogy แนวเทียบ, เข้า แนว, Clumsy รุ่มร่าม, ไม่สละสลวย, Inspiration การบันดาลใจ,ความบันดาลใจ ทุกศัพท์สร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยคำบาลีและสันสกฤต เช่น Applied Arts ศิลปะประยุกต์, ประยุกตศิลป์, Fine Arts วิจิตรศิลป์, วิศุทธศิลป์, Traditional Arts ศิลปะปรัมปรา, ศิลปะปรัมปราคติ บางศัพท์สร้างหรือผูกขึ้นด้วยคำไทย บางศัพท์สร้างหรือผูกขึ้นด้วยคำบาลี และสันสกฤต บางศัพท์สร้างหรือผูกขึ้นด้วยคำไทยผสมกับคำบาลีและสันสกฤต เช่น Abstract Art ทางใจ, คติทางใจ, นามธรรม, Balance ถ่วงเท่ากัน, ดุลยภาพ, Imagine นึกเห็นภาพ, จินตนาการ บางศัพท์สร้างหรือผูกขึ้นด้วยคำไทย บางศัพท์ใช้วิธีทับศัพท์ บางศัพท์ใช้คำ ไทยและ/หรือคำบาลีและสันสกฤตผสมกับการทับศัพท์ เช่น Chiaroscuro คุณค่าของแสงและเงา, คุณค่าของกิอาโรสกูโร, กิอาโรสกูโร, Neo-Classic คตินีโอคลาสสิก, คติคลาสสิกใหม่, Rococo โรโกกโก, สมัยโรโกกโก, Romanticism โรมันติกคติ, โรมันติกซิซึม, คติโรมันติก การบัญญัติศัพท์ด้วยคำบาลีและสันสกฤต ศัพท์บัญญัติในหนังสือศิลปสงเคราะห์ในส่วนที่สร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยคำ บาลีและสันสกฤตนั้น มีวิธีการผูกศัพท์แตกต่างกัน คือ การผูกศัพท์ตามหลักไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น Abstract Art มโน ศิลป์, Achromatic นิรวรรณ, Aerial Form อากาศยรูป, Commercial Art พาณิชยศิลป์ การผูกศัพท์ตามหลักไวยากรณ์ไทย เช่น Allegoric Art ศิลปะปฏิมาน, Applied Arts ศิลปะประยุกต์, Atomic Principle มูลอนุปรมานู, Traditional Arts ศิลปะปรัมปรา การบัญญัติศัพท์ด้วยวิธีทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติในหนังสือศิลปสงเคราะห์ในส่วนที่ใช้วิธีทับศัพท์นั้น มีวิธีการผูก ศัพท์แตกต่างกัน คือ การทับศัพท์ตรงตามรูปศัพท์ภาษานั้น ๆ เช่น Arabesque อารเบสก์, Bacchanal แบกกะนัล, Futurism ฟิวเจอริซึม, Symphony ซิมโฟนี การทับศัพท์โดยมีการเติมคำข้างหน้าด้วย เช่น Chiaroscuro คุณค่าของ กิอาโรสกูโร, Dome ซุ้มโดม, Neo-Classic สมัยนีโอคลาสสิก, Romanticism คติโรมันติก การทับศัพท์โดยมีการเติมคำข้างหลังด้วย เช่น Classicism คลาสสิกคติ, Romanticism โรมันติกคติ การทับศัพท์โดยมีการเติมคำทั้งข้างหน้าและข้างหลังด้วย เช่น Neo- Classicism คติคลาสสิกใหม่ สรุป ศัพท์บัญญัติส่วนใหญ่ในหนังสือศิลปสงเคราะห์มีหลายศัพท์ให้เลือกใช้ได้ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ศัพท์เหล่านี้มีทั้งที่บัญญัติด้วยคำไทย ด้วยคำบาลีและสัน สกฤต ด้วยการทับศัพท์ ด้วยคำไทยผสมกับคำบาลีและสันสกฤต ด้วยการทับ ศัพท์ผสมกับคำไทยและ/หรือคำบาลีและสันสกฤต ศัพท์ที่บัญญัติด้วยคำบาลีและ สันสกฤตก็มีทั้งที่ผูกศัพท์ตามหลักไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต และที่ผูกศัพท์ตาม หลักไวยากรณ์ไทย ศัพท์ที่ใช้การทับศัพท์ก็มีทั้งที่ทับศัพท์ตรงตามรูปศัพท์ภาษา นั้น ๆ ทับศัพท์โดยมีการเติมคำข้างหน้า ทับศัพท์โดยมีการเติมคำข้างหลัง และ ทับศัพท์โดยมีการเติมคำทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ศัพท์บัญญัติในหนังสือศิลป สงเคราะห์จึงมีหลากหลาย และสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยหลักเกณฑ์กว้าง ๆ และยืดหยุ่นมาก การศึกษาศัพท์บัญญัติในหนังสือศิลปสงเคราะห์ นอกจากจะทำให้เห็นความ หลากหลายของศัพท์บัญญัติในสาขาศิลปะแล้ว ยังทำให้เข้าใจวิธีการบัญญัติ ศัพท์ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และเข้าใจหลักเกณฑ์การบัญญัติ ศัพท์ในยุคแรก ๆ ของราชบัณฑิตยสถานด้วย นายวิทย์ พิณคันเงิน ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชา จิตรกรรม บรรยายเรื่อง พุทธศิลป์ก่อนมีพระพุทธรูป ความโดยสรุปว่า เมื่อ ราว พ.ศ.๓๐๐ ชาวพุทธยังไม่นิยมสร้างพระพุทธรูป จึงสร้างแต่สิ่งแทนแสดง ความหมายเกี่ยวกับพระพุทธองค์ไว้กราบไหว้บูชา ซึ่งประกอบด้วยรูปสัตว์อันมี ความหมายเลื่อนออกไปจากเดิมซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เช่น สิงห์ ม้า วัว หรือโค ช้าง กลายมาเป็นสิ่งแสดงความหมายเกี่ยวกับพระพุทธองค์ นอกจากนี้ยังมีรูปลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงพุทธประวัติ เช่น รูปประสูติพระ โพธิสัตว์ที่แสดงด้วยรูปพระมารดาทรงยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ แล้วทำดอกบัวซ้อนกัน ๗ ดอก รูปเสด็จออกผนวช แสดงด้วยรูปม้ากัณฐกะมีหลังเปล่าเหยาะย่าง ท่ามกลางเทวดา รูปตรัสรู้ แสดงด้วยพระแท่นว่างเปล่าใต้ต้นโพธิ รูปประทาน ปฐมเทศนา แสดงด้วยรูปพระธรรมจักร ส่วนอื่น ๆ อันได้แก่ดอกบัว ก็แสดงด้วย รูปวงกลมมีทั้งดอกบัวบานและดอกบัวเรียงกันในวงกลม นอกจากนั้นยังมี เครื่องหมายมงคล คือ เปลวรัตนตริยะ (เปลวแสดงถึงพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์) และเครื่องหมายศรัตสะ ซึ่งเป็นที่นับถือกันมาแต่โบราณ พระธรรมจักรนั้นเป็นสิ่งแทนพระธรรมเทศนาที่เรียกกันว่า ธัมมจักกัปวัตน สูตร แม้ในสมัยที่มีการสร้างพระพุทธรูปแล้วก็ยังนับถือกันอยู่ ในประเทศไทยมี พระธรรมจักรสมัยทวารวดีอยู่หลายองค์ ซึ่งแสดงว่าได้รับคติบูชาพระธรรมจักร มาจากประเทศอินเดียนานแล้ว รอยพระพุทธบาทเป็นสิ่งที่แสดงถึงความนับถือในพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้ง ในรอยพระพุทธบาทนั้นปรากฏการทำรูปมงคล ๑๐๘ ประการไว้ด้วย ส่วน พระพุทธบาทคู่ที่เรียกว่า พระยุคลบาท แสดงถึงพระพุทธรูปทั้งองค์ประดิษฐาน อยู่ ณ ที่แห่งนั้น การสร้างพระสถูปเจดีย์ เป็นสิ่งที่แสดงถึงพระพุทธองค์ปรินิพพาน พระ สถูปรูปโอคว่ำ ด้านบนมีพระแท่นและมียอดเป็นฉัตร แสดงถึงพระชาติกำเนิดที่ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์ เช่น พระมหาสถูปเก่าแก่ในประเทศ อินเดียคือพระสถูปสาญจี ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายยุคหลายสมัย รอบ พระมหาสถูปทั้ง ๔ ทิศ มีเสาประตูที่เรียกว่า โดรณะ ตั้งอยู่ เสาประตูเหล่านี้ สลักเป็นภาพพุทธประวัติตกแต่งไว้ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=