2689_5214

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้ปฏิบัติงานจึงมีผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา และรวมถึงรุกขกรอาชีพด้วย เป้าหมาย ของการป่าไม้ในเมืองคือการนำป่าและระบบธรรมชาติมาไว้ในเมืองและในบาง ประเทศรวมไปถึงการทำป่าไม้ในเมืองเพื่อผลทางเศรษฐกิจพลอยได้อีกด้วย ลักษณะและขอบเขตของงานรุกขกรรมในภูมิทัศน์เมือง งานตัดแต่งต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่โตและสูงในเมือง ทั้งเพื่อป้องกันอันตราย และการแก้ไข รวมทั้งการจัดการกับต้นไม้ที่โค่นจากพายุ หรือการโค่นทิ้งเพราะ ส่อเค้าให้เห็นว่าเป็นโรคหรือเสี่ยงต่อการโค่นล้ม งานศัลยกรรมต้นไม้ (Tree surgery) เป็นงานสำคัญอีกด้านหนึ่งรุกขกรรม ในการอนุรักษ์ต้นไม้เก่าแก่คู่เมืองและในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธี การต่าง ๆ รวมทั้งงาน “ผ่าตัด-รักษา” ต้นไม้ที่ได้รับความเสียหายจากพายุ หรือ จากอุบัติเหตุต่าง ๆ งานป้องกันต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่เดิมในบริเวณโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบอาคารหรือภูมิสถาปนิกพยายามรักษาต้นไม้เดิม เอาไว้ก็รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการย้ายต้นไม้ขนาดใหญ่อีกด้วย การปฏิวัติแนวคิดรุกขกรรมเก่าสู่รุกขกรรมสมัยใหม่ ประมาณปลาย ทศวรรษ ๑๙๘๐ ดร.อะเล็กซ์ ชิโก นักพยาธิวิทยาพืช (Plant Pathology) ผู้ เชี่ยวชาญด้านโรคต้นไม้ใหญ่ ทำงานวิจัยในด้านนี้ต่อเนื่องมายาวนานมากกว่า ๓๐ ปี ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวความเสียหายของต้นไม้ใหญ่ที่เกิดจากการตัดแต่งที่ ผิดวิธีของรุกขกรยุคก่อนหน้านั้น ซึ่งมีผลให้ตำราการตัดแต่งและการทำ ศัลยกรรมต้นไม้ใหญ่ที่ปฏิบัติกันมานานทั่วโลกล้าสมัย ต้องแก้ไขกันทั้งหมด รวม ทั้งหนังสือตำราวิชารุกขกรรม ตลอดจนการฝึกอบรมและการเผยแพร่ของ ISA เอง การยอมรับดังกล่าวจะเห็นได้จากต้นไม้ใหญ่ในเมืองที่ได้รับการตัดแต่งดูแล หรือทำศัลยกรรมเป็นอย่างดียังคงผุและอายุสั้นขึ้น ความเป็นมาของรุกขกรรมในประเทศไทย สาขาวิชารุกขกรรมยังเป็นที่ รู้จักของคนไทยในวงแคบและมีการปฏิบัติน้อยมาก ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีปฏิบัติใน การตัดแต่งสำหรับต้นไม้ผล ปัจจุบันแม้จะมีผู้ปฏิบัติเป็นอาชีพต่อเนื่องอย่าง จริงจังที่พอนับได้ว่าใกล้เคียงกับมาตรฐานงานรุกขกรรมสมัยใหม่ แต่ยังไม่ได้ ผ่านการศึกษาหรือการฝึกฝนตามโปรแกรมจนได้รับประกาศนียบัตรรับรองความ ชำนาญนานาชาติของ ISA หน่วยงานรุกขกรรมในประเทศไทย เป็นการยากที่จะให้บริษัทเอกชนที่ รับจ้างกรุงเทพมหานคร และองค์บริหารส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ตลอดจนหน่วยงาน ภาครัฐหรือเอกชนในประเทศไทย มีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการ ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับค่าจ้างที่ได้รับที่ต่ำ หนทางที่พอทำได้ในปัจจุบันที่ผู้ เขียนเคยเสนอแนะคือการรวมตัวระหว่างการไฟฟ้าทั้งนครหลวงและฝ่ายภูมิภาค ซึ่งมีอุปกรณ์ที่จำเป็นเกือบครบครันอยู่แล้วกับกรุงเทพมหานคร (บริษัทกรุงเทพ ธนาธร) หรือเทศบาล หรือ อ.บ.ต. ใหญ่ ๆ ซึ่งมีพนักงานสวนและตัดแต่งต้นไม้ อยู่แล้ว ร่วมจัดตั้งเป็นบริษัทบริการรุกขกรรมขึ้น และจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ ปฏิบัติระดับต่างๆ ให้ได้ตามมาตรฐานของ ISA หรือสมาคมรุกขกรรมนานาชาติ ที่พร้อมให้การฝึกอบรมและให้ประกาศนียบัตรได้ทั่วโลกอยู่แล้ว • วันอังคารที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์อัศนีย์ ชูอรุณ ราช- บัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม บรรยายเรื่อง ศัพท์บัญญัติ ในหนังสือศิลปะสงเคราะห์ ความโดยสรุปว่า หนังสือศิลปสงเคราะห์เป็น หนังสือภาษาไทยประเภทพจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวันตกเล่มแรกของไทย เป็น ผลงานของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) โดยท่านเจ้าคุณ ได้แปลและเรียบเรียงจากคำอธิบายที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี เขียนให้ท่าน เป็นภาษาอังกฤษ ผลงานแปลและเรียบเรียงเรื่องศิลปสงเคราะห์เริ่มทยอยตีพิมพ์ครั้งแรกใน วารสารโบว์แดงตั้งแต่ฉบับที่ ๔ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงฉบับที่ ๓๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ รวม ๓๐ ฉบับ ก็เลิกลงพิมพ์ทั้ง ๆ ที่ลงพิมพ์ถึงตัว E เท่านั้น ต่อมามีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิง ศพ หลวงวิจิตรจำนงค์ (พด พัฒนานนท์) เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ หลังจากนั้นจัดทำศัพท์เพิ่มขึ้นและทยอยลงพิมพ์ในวารสารศิลปากรตั้งแต่ฉบับที่ ๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๕ จนถึงฉบับที่ ๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ รวม ๒๔ ฉบับ ก็จบบริบูรณ์ การจัดพิมพ์หนังสือศิลปสงเคราะห์เป็นหนังสือพจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวัน ตกอย่างแท้จริง ดำเนินการโดยราชบัณฑิตยสถานด้วยความกรุณาเป็นพิเศษจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น มีการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ พิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ และพิมพ์ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือศิลปสงเคราะห์ ยังได้มอบให้สำนักพิมพ์บรรณาคารจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อีกด้วย ศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์ตั้ง ศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์มี ๒๐๗ ศัพท์ ศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์หลายศัพท์มีการนำศัพท์ที่เปลี่ยนรูปไปมา รวมไว้ด้วยกัน เช่น Character, Characteristic; Conceive, Conception; Harmonious,Harmony ศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์มีประมาณ ๕๐ ศัพท์เท่านั้นที่ตรงกับศัพท์ ตั้งในหนังสือ The Concise Oxford Dictionary of Art Terms , หนังสือ The Thames and Hudson Dictionary of Art Terms และหนังสือ Harper Collins Dictionary of Art Terms and Techniques เช่น Aesthetic, Antique, Applied Art, Balance, Caricature, Chiaroscuro ศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์มีประมาณ ๑๖๐ ศัพท์ที่แม้ว่าจะไม่ตรงกับ ศัพท์ตั้งในหนังสือประเภท Dictionary of Art Terms ดังกล่าว แต่ก็เป็นศัพท์ที่ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น Abtract เป็นศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์ แต่ในหนังสือประเภท Dictionary of Art Terms ดังกล่าวเก็บศัพท์ Abtract Art Classic เป็นศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์ แต่ในหนังสือประเภท Dictionary of Art Terms เก็บศัพท์ Classical, Classical Abstraction, Classical Period, Classicism นอกจากนี้ยังมีศัพท์ตั้งจำนวนมากในหนังสือศิลปสงเคราะห์ที่ไม่ตรงหรือ สัมพันธ์ใกล้ชิดกันกับศัพท์ตั้งในหนังสือประเภท Dictionary of Art Terms ดัง กล่าวเลย อาจกล่าวได้ว่าเป็นศัพท์ทั่วไปมิใช่ศัพท์เฉพาะทางศิลปะ เช่น Abrupt, Ample, Ascend, Average ทำให้เข้าใจว่าพระยาอนุมานราชธนไม่ได้คัดเลือก ศัพท์ตั้งจากหนังสือประเภท Dictionary of Art Terms แต่เป็นการเลือกเก็บ ศัพท์ตั้งตามที่ท่านเจ้าคุณเห็นว่า เป็นศัพท์ที่มีประโยชน์แก่การอ่านหนังสือภาษา อังกฤษที่เป็นเรื่องศิลปะเป็นสำคัญ การบัญญัติศัพท์เป็นศัพท์เดียว ศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์จำนวนหนึ่ง มีการ บัญญัติศัพท์เป็นศัพท์เดียว และสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นหลายวิธี คือ การสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยคำไทย เช่น Accompaniment สิ่งประกอบ ตาม, Artisan ช่างฝีมือ, Caricature เรื่องล้อเลียน, Cool Colour สีเย็น, Decoration การตกแต่ง การสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยคำบาลีและสันสกฤต เช่น Achromatic นิรวรรณ, Aesthetic สุนทรียภาพ, Criticism วิจารณ์, Monochrome เอกรงค์, Sculpture ประติมากรรม การสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยคำไทยผสมกับคำบาลีและสันสกฤต เช่น Academic Art ศิลปะตามหลักวิชา, Primitive Art ศิลปะแรกเริ่ม, Rhythmic จังหวะลีลา, Rural Art ศิลปะชนบท การสร้างศัพท์ขึ้นด้วยวิธีทับศัพท์ เช่น Cartoon การ์ตูน Classic คลาสสิก, Cubism คิวบิซึม, Fresco เฟรสโก, Romantic โรมันติก, Symphony ซิมโฟนี การสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นด้วยวิธีทับศัพท์ผสมกับคำไทยและ/หรือคำบาลี และสันสกฤต เช่น Classicism คลาสสิกคติ, Dome ซุ้มโดม, Impressionist นักอิมเพรสเชินนิสต์ การบัญญัติศัพท์เป็นหลายศัพท์ ศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์ตั้งในหนังสือศิลปสงเคราะห์จำนวนหนึ่งมีการ บัญญัติศัพท์เป็นหลายศัพท์ และมีการสร้างหรือผูกศัพท์ขึ้นหลายวิธี คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=