2689_5214

5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๓ เดือนตุลาคม ๒๕๕๓ จากสำนวนเดิมว่า “ผู้ชายรายเหรื่อ” หมายถึงผู้ชายแปลกหน้า แต่ไม่ได้อธิบาย ความหมายของสำนวน “ผู้หญิงริงเรือ” ไว้ เพียงแต่กล่าวว่าภายหลังต่อมา สำนวนนี้เพี้ยนไปเป็นสำนวน “ผู้หญิงยิงเรือ” คำอธิบายของกาญจนาคพันธุ์ทำให้ เห็นความสัมพันธ์ของสำนวน “ผู้ชายพายเรือ” กับ “ผู้หญิงริงเรือ” ซึ่งมี ประโยชน์แก่การศึกษาค้นหาที่มาของคำว่า “ริงเรือ” และสำนวนดั้งเดิมของ “ผู้ หญิงริงเรือ” ในบทความเรื่องนี้ จากการศึกษาความหมายของคำว่า “ริงเรือ” โดยใช้หลักฐานที่พบในภาษา และวรรณคดีไทย เพลงเรือ กวีนิพนธ์ เนื้อร้องของเพลงบางเพลง และความคิด ความเชื่อของคนไทยเรื่องการเกิดมาคู่กันของผู้ชายและผู้หญิง โดยศึกษาความ หมายของสำนวน “ผู้ชายพายเรือ” เป็นแนวคิดทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สำนวน “ผู้ชายพายเรือ” เป็นสำนวนดั้งเดิมที่มีใช้อยู่ในวรรณคดีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ไม่ ได้เพี้ยนมาจากสำนวน “ผู้ชายรายเหรื่อ” อย่างที่กาญจนาคพันธุ์กล่าวไว้ สำนวน “ผู้ชายพายเรือ ผู้หญิงริงเรือ” ใช้ในความหมายว่าผู้ชายทั่วไป และผู้ หญิงทั่วไป และเป็นสำนวนที่มีความหมายสัมพันธ์กันเป็นอย่างยิ่งตามความคิด ความเชื่อของคนไทยที่นิยมให้ฝ่ายชายเป็นฝ่ายเคลื่อนไหว และให้ฝ่ายหญิงอยู่ กับที่ ดังปรากฏให้เห็นในความเปรียบกลุ่มหนึ่งที่สอดคล้องกับความคิดเช่นนี้ คือ เปรียบผู้ชายเป็นแมลง ผู้หญิงเป็นดอกไม้ ผู้ชายเป็นนก ผู้หญิงเป็นต้นไม้ ผู้ชาย เป็นวิทยาธร ผู้หญิงเป็นนารีผล ผู้ชายเป็นราชสีห์หรือหงส์ ผู้หญิงเป็นถ้ำ และ ผู้ชายเป็นปลาหรือมังกร ผู้หญิงเป็นท้องทะเล นอกจากนี้ ยังพบความเปรียบกลุ่มหนึ่งที่เปรียบผู้ชายเป็นเรือ และเปรียบ ผู้หญิงเป็นท่าน้ำหรือท่าเทียบเรือด้วย ทั้งยังพบคำว่า “หลิ่ง” ที่มีเสียงใกล้กับคำ ว่า “ริง” ใช้อยู่ในวรรณคดีไทย คือ โคลงนิราศนครสวรรค์ โคลงโลกนิติ และโค ลงสุภาษิตร้อยแปดของภาคใต้ ซึ่งใช้ในความหมายว่าฝั่งน้ำหรือท่าน้ำ ทำให้สรุป ได้ว่า คำ “ริง” น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “หลิ่ง” และสำนวน “ผู้หญิงริงเรือ” น่าจะผิดเพี้ยนมาจากสำนวนดั้งเดิมว่า “ผู้หญิงหลิ่งเรือ” โดยที่ยังคงใช้สำนวน ผู้ชายพายเรือ ในความหมายว่าผู้ชายทั่วไปเหมือนเดิมแต่ทำให้เข้าใจนัยความ หมายได้ว่าคนไทยเปรียบผู้ชายกับเรือซึ่งเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ได้อย่างเสรี รวม ทั้งเดินทางไปเกี้ยวสาวที่ท่าน้ำต่าง ๆ และใช้สำนวน ผู้หญิงหลิ่งเรือ ในความ หมายว่าผู้หญิงทั่วไปซึ่งแฝงนัยความหมายว่าผู้หญิงควรอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน โดยเปรียบผู้หญิงเป็นท่าน้ำที่คอยให้เรือเข้าไปจอดเทียบท่า สำนวน “ผู้หญิงริง เรือ” เพี้ยนไปจากสำนวน “ผู้หญิงหลิ่งเรือ” ตั้งแต่เมื่อใด ไม่อาจระบุได้ ทราบ แต่ว่ามีสำนวน “ผู้หญิงริงเรือ” ใช้อย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์แล้ว การผิดเพี้ยนของสำนวน “ผู้หญิงหลิ่งเรือ” ไปเป็น “ผู้หญิงริงเรือ” น่าจะมี ขั้นตอนจาก หลิ่งเรือ เป็น ลิงเรือ และจาก ลิงเรือ เป็น ริงเรือ โดยลำดับสาเหตุ ของการผิดเพี้ยนนี้ ถ้าไม่ได้เกิดจากความเข้าใจผิด ก็น่าจะเกิดจากการกลมกลืน เสียง เพราะคำว่า “หลิ่ง” และ “ลิง” กับคำว่า “เรือ” เป็นคนละเสียง คือ เสียง /ล/ กับ /ร/ ทำให้ออกเสียงไม่สะดวก หากเปลี่ยนเป็นเสียงเดียวกัน คือ ริงเรือ ออกเสียงได้ง่ายกว่า ภายหลังมีการเพี้ยนเสียงจาก “ริงเรือ” เป็น “ยิงเรือ” ซึ่ง อาจเกิดจากการกลมกลืนเสียง คือ เสียง /ย/ ในคำว่า “หญิง” ทำให้เสียง /ร/ ในคำว่า “ริง” เปลี่ยนเสียงเป็น /ย/ ตามไปด้วย หรืออาจเกิดจากไม่สามารถแปล ความหมายของคำว่า “ริงเรือ” ได้ จึงเร่ไปหาคำที่แปลได้ คือ “ยิงเรือ” แทน แต่ก็ไม่สามารถอธิบายความหมายของสำนวน ผู้หญิงยิงเรือ ได้เช่นเดิม ทำให้ เกิดข้อสงสัยและถามกันมากว่าความหมายของสำนวน ผู้หญิงยิงเรือ คืออะไร การค้นพบสำนวนว่า “ผู้หญิงหลิ่งเรือ” เป็นสำนวนดั้งเดิมของ “ผู้หญิง ริงเรือ” ทำให้สามารถอธิบายความหมายของคำทุกคำที่ปรากฏในสำนวนนี้ได้ อย่างชัดเจน จึงขอเชิญชวนให้นักวิชาการใช้สำนวน ผู้หญิงหลิ่งเรือ แทน สำนวน ผู้หญิงริงเรือ เพื่อให้สำนวนที่ถูกต้องได้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นอีกครั้งใน วงการภาษาและวรรณคดีของไทย • วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำ ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง รุกขกรรมในงานภูมิทัศน์เมือง ความโดยสรุปว่า รุกขกรรม (Arboriculture) เป็นวิชาพืชกรรมหรือพืชสวนสาขาหนึ่ง (Horticulture) ที่แตกออกจากวิชาสาขาวิทยาไม้ผล (Pomology) ประเภท ยืนต้น ผสมผสานกับวิชาการป่าไม้ วิชารุกขกรรมเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการดูแล และการจัดการกับต้นไม้ใหญ่ในเมือง ถนน ทางหลวงและที่อื่น ๆ ไม่มี วัตถุประสงค์เพื่อเก็บเกี่ยวผลิตผลที่เป็นผลไม้หรือเนื้อไม้เพื่อประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ แต่เพื่อดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในเมืองให้มีความสวยงาม แข็งแรงไม่ก่อ ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือทรัพย์สินสาธารณะ ความเป็นมา วิชารุกขกรรมนับเป็นสาขาวิชาใหม่ มีจุดเริ่มต้นจาก สหรัฐอเมริกาที่ผู้ดูแลต้นไม้ใหญ่ได้รวมตัวกันจัดประชุมระดับชาติประจำปีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ เรียกว่า “การประชุมต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาแห่งชาติ” (National Shade Trees Conference - NTSC) ในการประชุมประจำปีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เริ่มเรียกผู้ปฏิบัติวิชาชีพนี้ว่า “Arborists” หรือ “รุกขกร” และได้ตั้งสมาคม “รุกขกรแห่งชาติ” (National Arborists Association) และตราระเบียบปฏิบัติ วิชาชีพและจรรยาบรรณใช้บังคับใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้จัดตั้ง The Council of Tree and Landscape Appraisers (CTLA) เพื่อกำหนดแนวทางและวิธีการ ประเมินค่าต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์เพื่อให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ต่อมา ประเทศแคนาดาได้เรียกร้องให้เปลี่ยนชื่อการประชุมให้เป็นนานาชาติว่า The International Shade Tree Conference (ISTC) ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ และจากการ มีสมาชิกทั่วโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีหลายประเทศจัดตั้งสมาคมรุกขกรรม หรือสมาคมชื่ออื่นที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันขึ้น จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “สมาคมรุกข- กรแห่งชาติ” เป็น “สมาคมรุกขกรรมนานาชาติ” (International Society of Arboriculture - ISA) จนถึงปัจจุบัน งานรุกขกรรมเป็นวิชาชีพที่ต้องมีความรู้ ความชำนาญแบบบูรณาการเฉพาะและมีผลต่อความปลอดภัย สวัสดิภาพและ ความสวยงาม ดังนั้น หลักสูตรที่รุกขกรจะต้องเรียนรู้ในระดับต่าง ๆ มีดังนี้ - ประกาศนียบัตรรุกขกรนานาชาติ - การศึกษาในระดับปริญญา - การฝึกอบรม หลักสูตรสำหรับวิชาชีพรุกขกร ประกอบด้วยงานบริการ ๓ ลักษณะ ได้แก่ ๑. งานที่ปรึกษาด้านการจัดการต้นไม้ใหญ่ หรือ Vegetation Management (VM) ประกอบด้วยการประเมินค่าต้นไม้ใหญ่ การเตรียมการ ก่อนพายุ การออกแบบภูมิทัศน์ การเลือกและการปลูกต้นไม้ ต้นไม้ในงาน พัฒนาที่ดิน ๒. งานจัดการด้านรุกขกรรม ประกอบด้วยการปีนต้นไม้ขั้นพื้นฐานและขั้น ก้าวหน้า ความปลอดภัยในการใช้เลื่อยยนต์ภาคสนาม การผูก-ยึดโยงและหย่อน กิ่งไม้และลำต้นขั้นพื้นฐานและขั้นก้าวหน้า การฝึกงานด้านการดูแลต้นไม้ใหญ่ ปฏิบัติการภาคสนามสมัยใหม่ การปีนต้นไม้เชิงนันทนาการ ๓. งานให้บริการเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ ประกอบด้วยงานเลือกชนิดและการ ปลูกต้นไม้ การตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ การใส่ลวดเคเบิลและการยึดต้นไม้ใหญ่ งาน รับโค่นต้นไม้ รุกขกรจะต้องชำนาญในการใช้เครื่องมือ เช่น เลื่อยตัดต้นไม้ชนิด ต่าง ๆ เชือก อุปกรณ์นิรภัย เครื่องสับกิ่งไม้ รถปั้นจั่น คุณสมบัติของรุกขกร ได้แก่ ความรอบรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นไม้ ใหญ่ ความรู้ด้านความปลอดภัย ด้านกฎหมายจราจร กฎหมายเกี่ยวกับความ ปลอดภัยและความรับผิดทางละเมิด ความรู้ด้านการใช้เครื่องจักรกลและเครื่อง มือ ความรู้ในวิชาลูกเสือเกี่ยวกับการผูกเงื่อนเชือกแบบต่าง ๆ ตลอดจนวิชาการ จัดการ การเงินและการบัญชีและระเบียน จรรยาบรรณของรุกขกร และที่ สำคัญคือจะต้องมีความเป็นศิลปินที่รักความสวยงามของต้นไม้ใหญ่ที่ต้องทำ ประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุในการทำงานอีกด้วย นอกจากนี้ รุกขกรยังต้อง ผ่านการฝึกหัดงานที่ดูแลโดยรุกขกรผู้ได้ใบรับรอง และผ่านการสอบจึงจะเรียก ได้ว่าเป็น “รุกขกรผู้มีใบรับรอง” (Certified Arborists) การป่าไม้ในเมือง นิเวศวิทยาเมือง กับงานรุกขกรรม เป็นสาขาวิชาใหม่ ที่เกิดขึ้นรองรับปัญหามลพิษและกระแสภาวะโลกร้อน การป่าไม้ในเมืองและ นิเวศวิทยาเมืองมีขอบเขตครอบคลุมไปถึงพื้นที่ “ป่า” หรือกลุ่มต้นไม้ใหญ่ที่ปลูก ในเมือง รวมทั้งระบบนิเวศและสัตว์ป่าเมือง (Urban wildlife) ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ หน่วยงานราชการ องค์การบริหารท้องถิ่นต่าง ๆ และองค์กรเอกชน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=