2689_5214
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.เดือน คำดี ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง พุทธ - ปรัชญา : อริยสัจครอบปฏิจจ–สมุปบาทดับชาติ ความโดยสรุปว่า หลักอริยสัจ เป็นคำสอนที่ครอบคลุมหลักธรรมทั้งหมดในพุทธธรรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งมีคุณค่าต่อด้านปัญญาในการดำเนินชีวิตและการแก้ปัญหาชีวิต โดยนำเอา หลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ไม่ต้องอ้างอำนาจดลบันดาล ของตัวการพิเศษเหนือธรรมชาติ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ (ปัญญาภาวนา) เพราะ อริยสัจ ๔ เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน เป็นหลักธรรมความ จริงกลาง ๆ ที่ติดเนื่องอยู่กับชีวิต หรือเป็นเรื่องความเป็นไปของชีวิตตามกฎ อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นอกาลิโกไม่ติดอยู่กับกาลเวลา อริยมรรคที่ ๔ หรือนิโรธ คามินีปฏิปทา อริยสัจ อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการนั้น เป็นประมวลหลัก จริยธรรมทั้งหมดในพุทธธรรม เป็นคำสอนภาคปฏิบัติโดยตรงเพื่อช่วยให้การ ดำเนินไปสู่ความจริงสูงสุดเป็นไปได้ เพราะพุทธธรรมมีความหมายกับชีวิตภาค ปฏิบัติเป็นสำคัญ และเป็นกระบวนการดับทุกข์ตามหลักมัชฌิมาปฏิปทานี้ เรียก อีกอย่างว่าเป็นการดำเนินชีวิตไปตามระบอบพรหมจรรย์ เพราะผู้ดำเนินไปตาม ระบอบนี้ ย่อมบรรลุความสิ้นกรรมคือการไม่ปฏิบัติผิดทาง ซึ่งเรียกว่าสุดโต่งทั้ง ๒ สาย และอันเป็นการดับสังสารวัฏเสียได้ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบอริยสัจ ๔ ทรงสั่งสอนประชาชนให้ปฏิบัติตามทาง สายกลางและทรงประกาศความเป็นอนัตตาโดยหลักแห่งปฏิจจสมุปบาทคือ แสดงสัมพันธภาพแห่งเหตุปัจจัย ที่เรียกว่ากฎอิทัปปัจจยตา พุทธธรรมมีลักษะ เป็นกิริยวาที หรือกรรมวาท ที่สอนว่าคนจะดีจะชั่วก็เพราะการกระทำของ ตนเอง ไม่ใช่เพราะชาติโคตรกำเนิดกล่าวคือสอนให้เชื่อการกระทำหรือกรรมของ ตน พุทธธรรมมีวิมุติเป็นแก่นสาร เพราะสอนโดยมีวิมุติเป็นจุดหมายใหญ่ และ เป็นหลักการใหญ่ คือมีความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นปริโยสาน โดยอาศัยปัญญาเป็น เครื่องตัดสิน ดังนั้น หลักธรรมทั้ง ๔ หมวด คือ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท อนัตตาธรรม และหลักกรรม จึงเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นปัจจัยอิงอาศัยกัน ทั้งในทาง ทฤษฎีและทางปฏิบัติ อธิบายโลกและชีวิตอย่างแจ่มแจ้งครบถ้วน ทั้งในแง่ของ อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของโลกและชีวิต กล่าวคือ ทั้งมัชเฌนธรรมและ มัชฌิมาปฏิปทาสัมพันธ์กัน ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญารู้เท่าทันโลกและชีวิตและ ความเป็นไปของโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ถอนเสียซึ่งอัตตานุทิฏฐิ เข้าถึง ความเป็นอนัตตา ด้วยการดับชาติได้สิ้นเชิง • วันพุธที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.จิรโชค วีระสย ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยาย เรื่อง คตินิยมเชิงโครงสร้าง–การหน้าที่ ความโดยสรุปว่า โครงสร้างและการ หน้าที่มีสมมุติฐานว่าสังคมอยู่รอดได้โดยการเข้าสู่สภาวะคงที่ (someostasis) เป็นกระบวนการที่ดำเนินการไปได้โดยปรกติ แม้เปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสิ่ง แวดล้อม ทั้งนี้ เป็นไปตามกลไกอัตโนมัติ ถือว่าระบบสังคมย่อมดำเนินไปโดยมี ลักษณะที่จะธำรงรักษาตนเองได้ (self-maintained) หรือทำให้เกิดดุลยภาพเอง ได้ (self-equilibrating) การเข้าสู่ระบบสังคม คือ มีทั้งโครงสร้างและการหน้าที่ ประโยชน์ประกอบไปด้วยความจำเป็นขั้นต้นที่ขาดไม่ได้ (pre-requisites) โครงสร้างมีทั้งแบบเป็นทางการ คือ รูปนัย (formalstructure) และแบบไม่เป็น ทางการคือ อรูปนัย (informal structure) แบบที่เป็นทางการ คือโครงสร้างทาง สังคม ซึ่งจะเป็นของกลุ่มก็ได้ หรือขององค์การใหญ่ ๆ ก็ได้ มีการกำหนดกฎ เกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจนสำหรับโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการเป็นส่วนหนึ่งของ โครงสร้างทางสังคมหรือสภาวะเชิงสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือองค์การใด องค์การหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ตั้งข้อกำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างเป็นทางการ แต่มีการคาด หวังกันว่าเป็นเช่นนั้น คำอธิบายเชิงการหน้าที่ ย่อมบ่งบอกเชิงเหตุและเชิงผล และบอกปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การอธิบายเชิงการหน้าที่ประโยชน์ประกอบ ไปด้วยผลลัพธ์ของปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีต่อระบบนั้น ๆ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์เกิดขึ้นในนานาระบบ ดังนั้นต้องบ่งบอกว่าเป็นระบบอะไร ตัวอย่าง คือ คำอธิบายว่าด้วยหน้าที่ของหัวใจที่เน้นในเรื่องของการหมุนเวียนของโลหิต ย่อมแตกต่างจากคำอธิบายว่าด้วยหน้าที่ของหัวใจ ซึ่งมองไปทั่วทั้งร่างกายว่า เป็นระบบขั้นพื้นฐาน ในการพิจารณาของแนวดังกล่าวย่อมสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น แต่การเลือกใช้อย่างไรขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจัย ทั้งนี้เพราะตัวระบบมีต่าง ๆ กัน และ ไม่ได้ถูกกำหนดมาว่าให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง นักวิเคราะห์เชิงการหน้าที่ย่อมมี ทรรศนะหรือเกณฑ์ต่าง ๆ กันในการเลือกปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งมา ศึกษาในฐานะที่เป็นพื้นฐาน บางคนเน้นเรื่องแรงจูงใจ (motivation) และ บุคลิกภาพ (personality) หรืออาจให้ความสนใจกับข้อมูลเชิงสังคมวิทยามาก กว่าเชิงจิตวิทยา คตินิยมเชิงโครงสร้างการหน้าที่มีอิทธิพลในวงการวิชาการ มาระยะหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่มีการฟื้นฟูและปรับแก้ นักวิชาการผู้มีบทบาท สำคัญคือ เจฟฟรีย์ อะเล็กซานเดอร์ (Jeffrey Alexander) และพอล โคโลมี (Paul Colomy) ระบุว่า neofunctionalism คือ โครงสร้างการหน้าที่ มีลักษณะ ที่แคบเกินไป และจุดเป้าหมายคือการสร้างทฤษฏีสังเคราะห์ที่มากกว่านั้น จึง เรียกว่า “neofunctionalism” นอกจากนี้ อะเล็กซานเดอร์ กล่าวว่า จำเป็นต้องรู้ ปัญหาที่ต้องข้ามพ้นลักษณะของทฤษฏีแบบเดิม คือ การต่อต้านปัจเจกชน การ เป็นอริกับการเปลี่ยนแปลง หรือการมี bias ลักษณะที่อนุรักษ์นิยม การมีอุดมคติ และโดยเฉพาะต่อต้านการเป็นประจักษวาท (antiempirical) กล่าวโดยสรุป กระแสวิทยาการคตินิยมเชิงโครงสร้าง-การหน้าที่ย่อมยังมีการศึกษาและมีการ พัฒนาต่อไป คุณประโยชน์ย่อมมีอยู่ แต่ย่อมมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา นายสมพร เทพสิทธา ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชา อภิปรัชญาและญาณวิทยาบรรยายเรื่อง ค่านิยมต่อต้านการทุจริต ความโดย สรุปว่า ค่านิยมของสังคมอาจจะเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์หรือค่านิยมที่ สร้างสรรค์ เช่น ค่านิยมในเรื่อง ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต แต่ค่า นิยมของสังคมบางอย่างอาจจะเป็นค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์หรือค่านิยมที่ไม่ สร้างสรรค์ เช่น ค่านิยมที่ยึดถือวัตถุนิยมเป็นใหญ่ที่เรียกว่าวัตถุนิยม หรือค่า นิยมที่ว่าอำนาจเป็นสิ่งสำคัญที่เรียกว่าอำนาจนิยม หรือค่านิยมที่ไม่เชื่อในเรื่อง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่เชื่อว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” ค่านิยมที่ พึงประสงค์หรือค่านิยมที่สร้างสรรค์จะช่วยพัฒนาคนและสังคมให้เจริญ รุ่งเรืองก้าวหน้า ตรงกันข้ามกับค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์จะทำให้คนและสังคม เสื่อมลง ถ้าคนเชื่อในค่านิยมที่ว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว ก็จะทำให้ผู้นั้นทำชั่วโดย ไม่ละอายและเกรงกลัวต่อบาป การปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์หรือค่านิยมที่ สร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาการ ทุจริต ถ้าคนส่วนใหญ่เห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่องปรกติธรรมดา ไม่เป็นเรื่องน่า อับอาย การทุจริตก็จะระบาดขยายกว้างขวางอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ คณะ กรรมการปรับปรุงวัฒนธรรมและค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน ได้จัดทำค่านิยมสร้างสรรค์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ กล้า ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ เลือกปฏิบัติ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามค่านิยม สร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่ทุจริตและไม่คอร์รัปชัน จะ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติที่แท้จริง และควร แก่การยกย่อง ดังนั้น จึงขอเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่องค่านิยมต่อต้าน การทุจริต คือ ๑. รัฐบาลควรถือเรื่องการป้องกันปราบปรามการทุจริต การปลูกฝังค่า นิยมต่อต้านการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=