2688_8492

7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ๒. งานออกแบบประเภทโรงแรมตากอากาศ นายเอ. ริกาซี เป็น สถาปนิกชาวอิตาลี รับราชการเป็นช่างสถาปนิกในกรมรถไฟนั้น ได้รับ มอบหมายให้ออกแบบโรงแรมรถไฟที่หัวหิน เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สูง ๒ ชั้น มีห้องพัก จำนวน ๑๔ ห้อง ห้องพักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ๓. งานออกแบบประเภทโรงแรมในเมือง นายรีกาซี ยังได้สร้าง โรงแรมราชธานี อยู่ติดกับสถานีรถไฟหัวลำโพง มีรูปทรงและการตกแต่ง ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกสมัยเรอแนซองส์ของอิตาลี ๔. งานออกแบบประเภทอาคารสำนักงานและธนาคาร อาคาร สาธารณะที่นายรีกอตตี ช่างสถาปนิกชาวอิตาลีออกแบบ ได้แก่ อาคาร ที่ทำการของบริษัท อีสท์เอเชียติก มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก แบบ อิตาลีเรอแนซองส์ เป็นอาคาร ๓ ชั้น อาคารสาธารณะอีกหลังหนึ่ง ที่นาย รีกอตตีออกแบบ คือ อาคารของบริษัท แบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ที่ต่อ มาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาตลาดน้อย เป็นอาคาร ๒ ชั้น ๕. ออกแบบอาคารราชการ : กรมโยธาธิการ นายชาร์ล เบเกอแลง เป็นชาวฝรั่งเศส–สวิส รับราชการในตำแหน่งนายช่างออกแบบของกรม สาธารณสุข ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นๆ คืออาคารที่ทำการกรม โยธาธิการในปัจจุบัน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก ๖. งานออกแบบอาคารทางการศึกษาและอาคารพักอาศัย นายอี. มันเฟรดี ช่างสถาปนิกและช่างเขียนชาวอิตาลี ผลงานสถาปัตยกรรมบาง ส่วน คือ วังอัศวินของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล และ บ้านของนายมันเฟรดีเอง ที่ซอยอโศก ถนนสุขุมวิท เป็นอาคารที่ได้รับ อิทธิพลจากแนวทางของสถาบันเบาเฮาส์ (Bauhaus) ๗. งานออกแบบอาคารพักอาศัย : บ้านมนังคศิลา นายเอดเวิร์ด ฮีลี เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ ออกแบบบ้านมนังคศิลาของพระยาอุดม ราชภักดี รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบทิวเดอร์ของอังกฤษ เป็นอาคาร ๒ ชั้น หลังคาทรงสูง ๘. ออกแบบบ้านนรสิงห์และบ้านบรรทมสินธุ์ กลุ่มช่างสถาปนิก ได้แก่ นายริโกตี นายมันเฟรดี และนายตามานโย ได้รับมอบหมายให้ ออกแบบบ้านนรสิงห์ นายช่างชุดนี้บางคนออกแบบบ้านบรรทมสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นบ้านพิษณุโลก) ทั้ง ๒ หลังเป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปแบบ สถาปัตยกรรมตะวันตกในช่วงต่อระหว่างสมัยกอทิกกับสมัยเรอแนซองส์ ๙. ผลงานออกแบบอาคารพักอาศัยแบบคฤหาสน์ในยุโรป นาย เบเกอแลงออกแบบ ตำหนักพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคฤหาสน์ในยุโรป และยังได้ออกแบบวังสมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ตั้งอยู่ที่ริมถนน วิทยุ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคฤหาสน์ในยุโรป ๑๐. อาคารพักอาศัยที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแผนใหม่ ในช่วงหลังของนายเบเกอแลงออกแบบ วังรัตนาภาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาที่ถนนเศรษฐศิริ อีกหลังหนึ่งเป็นตำหนักของ เสด็จฯ พระองค์เจ้าเยาวภาสนิท เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปแบบสถาปัตย- กรรมตะวันตกแผนใหม่ที่ประยุกต์ให้เข้ากับดินฟ้าอากาศ สรุปความคิดเห็นเรื่องสถาปนิกต่างชาติ กับทิศทางของวิชาชีพ สถาปัตยกรรมในประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมาสถาปนิกต่างชาติเข้ามามี บทบาทในด้านการออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยมา เป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ต่อมาในช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา ประเทศไทยต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์การ นานาชาติอย่าง แกตต์ (GATT – General Agreement on Teriffs and Trade) โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกแกตต์ โดยสมบูรณ์ ได้รับ สิทธิและข้อผูกพันในการเข้าเป็นสมาชิก รวมทั้งข้อผูกพันต่างๆ ที่ประเทศ ไทยต้องปฏิบัติและยอมรับคำตัดสินของแกตต์ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ แกตต์ ก็จะยกฐานะขึ้นเป็นองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization – WTO) หลักการของแกตต์ คือต้องการ ให้การค้าข้ามชาติทุกประเภทดังกล่าวเป็นการเปิดเสรี โดยไม่มีการกีดกัน ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ที่เป็นสมาชิกแกตต์ การที่สถาปนิก ต่างชาติจะเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยได้ตามข้อตกลงของแกตต์ นี้ มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของ ไทย การร่วมมือกับสถาปนิกชาติอื่นเป็นประโยชน์ต่อการสร้างงาน สถาปัตยกรรม การปิดกั้นสถาปนิกต่างชาติคงจะยาก หลังจากข้อตกลง แกตต์มีผลบังคับใช้ จึงควรต้องเตรียมพร้อมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผลเสีย หายต่อการประกอบวิชาชีพของสถาปนิกไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=