2688_8492

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔ รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ภายใต้บริบทการ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนา ภาคต่าง ๆ ของประเทศให้รับกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่โดย (๑) กำหนดรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศและภาคตลอด จนระบบชุมชนและโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศให้ เหมาะสม เอื้อต่อการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และส่งทอดความ เจริญไปสู่ภูมิภาค เพื่อสร้างความสมดุลของการพัฒนา (๒) กำหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาให้สอดคล้องกับ ศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันทาง เศรษฐกิจ เกิดการลงทุนเพื่อสร้างงาน และสร้างรายได้แก่ประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพคนและยกระดับคุณภาพชีวิต การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการรักษาความ มั่นคงของประเทศและการบริหารจัดการที่ดีเพื่อประโยชน์ของประชาชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ ประเทศไทยวางทิศทางการพัฒนาพื้นที่ ของประเทศให้สอดคล้องกับโอกาสและศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของแต่ละภาค โดยเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่ม เศรษฐกิจ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาด้านการเกษตร และการแปรรูป ทางการเกษตร การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของแต่ละ ภาค เช่น (๑) พัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก ตะวันตก ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (๒) พัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตามแนวเหนือใต้ ของภาค เหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยพัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร อุตสาหกรรม และการค้าชายแดน (๓) พัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพให้เป็นแหล่งการลงทุนด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม (๔) พัฒนาชุมชนที่ติดต่อกับชุมชนตามแนวเขตเศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก และแนวเหนือใต้ที่มีบทบาทหลักทางการเกษตร การค้า การบริหาร โดยพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงเพื่อกระจายการพัฒนามายังชุมชนต่าง ๆ (๕) การพัฒนาโครงข่ายถนน ๔ ช่องทางจราจรที่เชื่อมต่อระหว่าง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และทวาย (สหภาพพม่า) (๖) การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเมือง และแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและชุมชน ให้สามารถ ฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศให้สมดุล รวมทั้งป้องกันมลพิษจากการพัฒนา อุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิผล ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง (๑) พัฒนาทั้งการเกษตร การค้า อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว (๒) พัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นแหล่ง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร เข้าสู่การผลิตอาหารในพื้นที่จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง (๓) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมโดย สนับสนุนการตลาด เงินทุน และความรู้การบริหารจัดการแก่อุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อม (๔) ส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมถึง พัฒนาและปรับปรุงการปลูกพืช การปศุสัตว์ และการประมง โดยเน้นพื้นที่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง (๕) ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี (๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาในการอนุรักษ์และ รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยรณรงค์สร้างจิตสำนึกและ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม (๗) พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมโยงตามแนวทาง เศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก โดยเชื่อมโยงทวายในสภาพพม่า ทาง จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว เพื่อเชื่อมไปสู่พนมเปญ (กัมพูชา) และวังเตา (เวียดนาม) และจังหวัด พระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี เชื่อมไปยังจังหวัด พิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สายไปคุณหมิง (จีนตอนใต้) (๘) สนับสนุนให้มีการทำผังเมืองระดับจังหวัดโดยท้องถิ่นร่วมกับ ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดบริการโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้อง กับผังเมืองที่วางไว้ โดยเน้นเมืองที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรม (๙) ส่งเสริมการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และชุมชน โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอ ต่อความต้องการ การป้องกันน้ำท่วม การแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ชานเมือง ศาสตราจารย์ผุสดี ทิพทัส ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง “ช่างฝรั่งในกรุงสยาม : จากอดีต สู่ปัจจุบัน (ตอนที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๕๕๓)” ความโดยสรุปว่า ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) เมื่อ พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปลาย พ.ศ. ๒๔๕๓ อารยธรรมตะวันตก เข้ามามีอิทธิพลในไทยมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างอาคารสถานที่ที่จำเป็น เช่น สถานเสาวภา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสามเสน โรงไฟฟ้าสามเสน และ สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งกรมนคราทร มีช่างชาวตะวันตกสาขาต่าง ๆ รับ ราชการในกระทรวงโยธาธิการ กรมสุขาภิบาล กรมศิลปากรเป็นจำนวน มาก ช่างสถาปนิกชาวอังกฤษและชาวอิตาลี ส่วนช่างฝรั่งในกรม สุขาภิบาลเป็นช่างชาวฝรั่งเศสเป็นหลัก ส่วนในกรมศิลปากรก็มีช่าง ออกแบบ ช่างเขียน ช่างปั้น ชาวอิตาลีทำงานอยู่หลายคน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นมา ประสบวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก พระองค์พยายามตัด ทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก ทรงยุบตำแหน่งที่ปรึกษาและข้าราชการชาว ต่างประเทศลงเกือบทั้งหมด ในรัชกาลนี้มีนักเรียนไทยออกไปศึกษาต่อ ต่างประเทศในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ณ ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส แล้วกลับเข้ามารับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ สถาปัตยกรรมที่สำคัญในรัชกาลนี้ มีเพียงสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ช่างฝรั่งจากต่างประเทศที่เข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ออกแบบ ก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ ไว้มีข้อมูลโดยสรุปดังนี้ ๑. การติดต่อว่าจ้างช่างฝรั่งจากต่างประเทศผ่านกระทรวงการต่าง ประเทศ โดยการให้อัครราชทูตไทยประจำประเทศอิตาลีเป็นผู้ติดต่อว่า จ้าง นายเอ. รีกอตตี เข้ามาเป็นนายช่างแบบใหญ่ของกระทรวง มหาดไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=