2688_8492

5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ เกิดเป็นแฝดสาม แฝดสี่ แฝดห้า หรือมากกว่านั้น เนื่องจากการมีบุตร แฝดเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่เรื่องปรกติโดยทั่วไป จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และมีการเอ่ยถึงมาตั้งแต่สมัยโบราณในตำนานและวรรณกรรมของชาติ ต่าง ๆ ตำนานกรีกมีเรื่องของอพอลโล สุริยเทพ และอาร์เตมีส เทพีแห่ง ดวงจันทร์ซึ่งเป็นบุตรของซุส จอมเทพแห่งโอลิมปุส กับนางลีโต คาส- เตอร์และพอลลักซ์ บุตรของซุสกับลีดา ซึ่งทั้งคู่ก็ยังเป็นแฝดกับไคลเต็ม เนสตราและเฮเล็นด้วย ในตำนานการสร้างกรุงโรมของโรมัน โรมิวลุสและ รีมุส เป็นบุตรฝาแฝดของมาร์ส เทพแห่งสงคราม กับ รีอา ซิลวิอา ผู้ทำ หน้าที่ดูแลไฟศักดิ์สิทธิ์ของเวสตา เทพีแห่งเตาไฟ ทั้งสองทะเลาะกันเรื่อง สถานที่ตั้งเมืองใหม่ โรมิวลุสฆ่ารีมุสตายและตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า โรมา ตามชื่อของตน ในตำนานของชาวยิว อีซอและเจคอบเป็นบุตรฝาแฝด ของไอแซกกับรีเบ็กกา ในฐานะลูกคนโต อีซอมีสิทธิ์ได้ครอบครองสมบัติ ทุกอย่างของบิดา แต่เขายอมยกสิทธิ์นี้ให้เจคอบเพื่อแลกกับถั่วหนึ่งชาม ภายหลังเจคอบได้ชื่อใหม่ว่าอิสเรล และได้เป็นผู้อาวุโสและบรรพบุรุษของ เผ่าพันธุ์ทั้ง ๑๒ เผ่าของชนชาติอิสเรล ทางด้านวรรณกรรม วิลเลียม เชกสเปียร์ ได้ใช้เรื่องฝาแฝดเป็นลักษณะเด่นในบทละครสุขนาฏกรรม เรื่อง Twelfth Night โดยตัวละครเอกคือ ซีบาสเตียนและไวโอลาซึ่ง เป็นแฝดชาย-หญิง มีการสับตัวกันทำให้เกิดความเข้าใจผิดและความ วุ่นวายต่าง ๆ กว่าจะลงเอยด้วยความสุขในที่สุด วรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ พระเพื่อนพระแพง ซึ่งเป็นพระธิดา ฝาแฝดของท้าวพิชัยพิษณุกรแห่งเมืองสรองได้ยินเรื่องความงามของ พระลอแห่งเมืองสรวงซึ่งเป็นเมืองศัตรู จึงขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ จนพระลอตามมาหานาง ภายหลังทั้งสามถูกพระเจ้าย่าซึ่งอาฆาตแค้นว่า พระบิดาของพระลอฆ่าสวามีของนางจึงให้ทหารมาจับพระลอ ทั้งสามพระองค์ จึงถูกธนูยิงสิ้นพระชนม์ เกิดเป็นโศกนาฏกรรม วรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ บุตรฝาแฝดของทศกัณฐ์กับนางช้างพัง คือ ทศคีรีวันและทศคีรีธร มีจมูกเป็นช้างเหมือนมารดา แต่ตัวเป็นยักษ์ ได้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวอัศกรรณมาราสูรแห่งเมืองดุรัม ภายหลังมา ช่วยทศกัณฐ์รบและถูกพระลักษมณ์ฆ่าตาย ฝาแฝดอีกสองคู่ใน รามเกียรติ์ คือ พระลักษมณและพระสัตรุต โอรสของท้าวทศรถกับ นางสมุทรเทวี และพระมงกฎและพระลบ โอรสของพระรามกับนางสีดา วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี นางสร้อยสุวรรณและนางจันทร์สุดา เป็นธิดาฝาแฝดของพระอภัยมณีกับนางสุวรรณมาลี ส่วนเรื่อง ศิวาราตรี ของพนมเทียน มีพี่น้องแฝดสามซึ่งเป็นเจ้าชาย เผ่ามิลักขะ คือ ทุษยันต์ เวชยันต์ และทัสสยุ เป็นตัวเอกของเรื่อง • วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ไขแสง ศุขะวัฒนะ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม บรรยาย เรื่อง “แม่น้ำดานูบในกระแสเสียงดนตรี” ความโดยสรุปว่า แม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำอยู่บริเวณป่าดำทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี ไหล ผ่าน ๘ ประเทศลงสู่ทะเลดำ มีความยาวประมาณ ๒,๘๕๐ กิโลเมตร มี พื้นที่รับน้ำ ๘๒๙,๕๘๐ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำสายต่าง ๆ ไหลลงสู่แม่น้ำ ดานูบประมาณ ๓๐๐ สาย ปัจจุบันแม่น้ำดานูบเป็นเส้นทางสำคัญของการ ขนส่ง การคมนาคม และการท่องเที่ยวของประเทศยุโรปกลางและยุโรป ตะวันออก An der sch Ö enen blauen Donau By the Beautiful Blue Danube งานลำดับที่ ๓๑๔ ของ Johann Strauss II (ค.ศ. 1825-2899) โยฮันน์ ชเตราสส์ ได้เริ่มแต่งเพลง By the Beautiful Blue Danube ต้น ค.ศ. ๑๘๖๗ เนื่องจากสมาคมนักขับร้องประสานเสียงชายแห่งกรุงเวียนนาได้ ขอร้องให้เขาแต่งบทเพลงหนึ่งโดยใช้บทกวีของ Karl Beck ซึ่งพรรณนา ความสวยงามของแม่น้ำดานูบที่ไหลผ่านกรุงเวียนนา เป็นเนื้อร้อง ขณะ นั้น โยฮันน์ ชเตราสส์ อายุ ๔๒ ปี และได้แต่งเพลงต่าง ๆ ไว้มากมาย กว่า ๓๐๐ เพลง แต่เขาไม่เคยแต่งเพลงเกี่ยวกับแม่น้ำดานูบเพราะมีความ รู้สึกและทัศนคติที่ไม่ดีต่อแม่น้ำดานูบตั้งแต่วัยเยาว์ เนื่องจากปู่ของเขาได้ จมน้ำเสียชีวิตที่แม่น้ำสายนี้ ตอนแรก โยฮันน์ ชเตราสส์ ปฏิเสธที่จะแต่งเพลงให้ แต่ผู้แทน สมาคมได้ขอร้องและมอบเงินจำนวนหนึ่งให้ล่วงหน้าเขาจึงตกลง โดยมี เวลาแต่งเพลง ๑ สัปดาห์ เช้าวันสุดท้ายเขาก็ยังไม่สามารถแต่งเพลงได้ ทั้งที่ตามปรกติเขาจะแต่งเพลงได้รวดเร็วมาก จนกระทั่งเขาออกจากบ้าน เพื่อมุ่งหน้าไปยังริมแม่น้ำดานูบ เห็นแม่น้ำกำลังไหลเชี่ยวกรากไปทางทิศ ตะวันออกท่ามกลางบรรยายกาศแสงสลัว เขาจึงคิดทำนองเพลงได้และ เสร็จทันเวลาพอดีแบบเส้นยาแดงผ่าแปด เพลงบลูดานูบแสดงครั้งแรกโดยสมาคมนักขับร้องประสานเสียงชาย แห่งกรุงเวียนนา เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๖๗ ณ โรงเรียนขี่ม้า สเปน ปรากฏว่าประสบความล้มเหลวเพราะนักดนตรีและนักขับร้องอ่อน ซ้อม ทำให้ผู้ฟังและโยฮันน์ ชเตราสส์ผิดหวังมาก ต่อมา ค.ศ. ๑๘๖๘ โยฮันน์ ชเตราสส์ ได้รับเชิญไปแสดงดนตรีในงาน มหกรรมโลกที่กรุงปารีส เขานำต้นฉบับเพลงบลูดานูบมาแก้ไขและ ปรับปรุงเป็นคอนเสิร์ตวอลตซ์ที่สมบูรณ์ บรรเลงด้วยวงดุริยางค์ล้วน และบรรเลงในงานมหกรรมนั้นเป็นครั้งแรกและทุก ๆ วันต่อมาในงาน มหกรรมนั้น ปรากฏว่าเพลงบลูดานูบได้รับการต้อนรับที่ดีเกินความคาด หมายจากชาวปารีส นอกจากนี้ยังมีชาวปารีสจำนวนมากอยากให้เขาแต่ง เพลงเกี่ยวกับแม่น้ำแซนที่ไหลผ่านกรุงปารีสบ้าง แต่ โยฮันน์ ชเตราสส์ ตอบชาวปารีสอย่างอ่อนน้อมว่า “ผู้ที่ควรแต่งเพลงเกี่ยวกับแม่น้ำแซนนั้น ควรจะเป็น เมอซิเออร์ จาคส์ ออฟเฟนบาค มากกว่าตัวเขา” เมื่อเขา กลับมายังกรุงเวียนนา เขาได้นำบทเพลงบลูดานูบให้ โยฮันเนส บรามส์ คีตกวีเพลงคลาสสิกดู และได้รับคำชื่นชมโดย โยฮันเนส บรามส์ ได้เขียน ไว้ที่หน้าแรกของบทเพลงบลูดานูบว่า “Alas, not composed by Brahms. อนิจจา, มิได้แต่งเพลงโดยบรามส์” ค.ศ. ๑๘๗๒ มีการจัดมหกรรมโลกขึ้นอีกครั้งที่นครบอสตัน ใน สหรัฐอเมริกา โยฮันน์ ชเตราสส์ ได้รับเชิญให้ไปแสดงในงาน ครั้งนี้เขา นำเพลงบลูดานูบออกแสดงอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด จนหนังสือ “The Guinness Book” และหนังสือ “Ripley-Believe It or Not” ต่างบันทึก ตรงกันว่า “การบรรเลงเพลงบลูดานูบครั้งนี้ ได้มีนักร้องชายหญิงเป็น จำนวน ๒๐,๐๐๐ คน นักดนตรี ๑,๐๘๗ คน ชเตราสส์ได้อำนวยเพลงบน หอสูง และมีผู้ช่วยผู้อำนวยเพลง ๒๐ คน คอยช่วยอำนวยเพลง โดย แต่ละคนจะมีกล้องส่องทางไกลสองตา (bino culars) สำหรับใช้ส่อง ดูชเตราสส์อำนวยเพลง และถ่ายทอดการอำนวยเพลงของชเตราสส์สู่นัก ดนตรีและนักขับร้องที่มีจำนวนมากมายให้ร่วมแสดงอย่างมีเอกภาพ การ แสดงครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมชมและฟังมากมายมหาศาลเป็นจำนวนถึง ๑๕๐,๐๐๐ คน” นับแต่นั้นมาเพลงบลูดานูบจึงเป็นเพลงที่รู้จักกันดีทั่วโลก และเป็นเพลงวอลตซ์เหนือเพลงวอลตซ์ทั้งหลายโดยแท้ • วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ดร.ชลิตภากร วีรพลิน ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาการผังเมือง บรรยายเรื่อง “แนวทางการพัฒนาภาคกลางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์” ความโดยสรุป ว่า แนวทางการพัฒนาภาคกลางจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=