2688_8492

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน หนึ่งคือ (American Women Suffrage Association) นำโดย ลูซี สโตน (Lucy Stone) และทอมัส เวนต์เวิร์ท ฮิกกินสัน (Thomas Wentworth Higginson) ตั้งอยู่ที่เมืองบอสตัน และมีแนวทางต่อสู้แบบอนุรักษ์ ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๘๙๐ แอนโทนีได้รวมสมาคมทั้งสองเข้าด้วยกันและเปลี่ยนชื่อ เป็น สมาคมสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของสตรีอเมริกันแห่งชาติ (National American Women Suffrage Association) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ กลุ่มสตรีประสบความก้าวหน้าในการทำงานมากขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัย สำคัญคือ กระแสปฏิรูปสังคมอเมริกันในยุคก้าวหน้าและการมีทีมบริหารที่ เข้มแข็ง ใน ค.ศ. ๑๙๑๗ สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับ ฝ่ายสัมพันธมิตรและมีการเกณฑ์ทหารเข้าร่วมในสงครามจำนวนมาก ทำให้สตรีอเมริกันต้องช่วยแบกรับภาระต่าง ๆ ในประเทศ ทั้งการทำงาน หนักในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการ เพื่อให้กิจการโดย รวมของทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชนดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก ทำให้ สังคมตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของผู้หญิง การยอมรับว่าสตรี อเมริกันมีศักยภาพและประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าเพศชายได้ส่งผลให้ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาผ่านรัฐบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙ ใน ค.ศ. ๑๙๒๐ ที่กำหนดให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้ง เมื่อกลุ่มสิทธิสตรีได้รับชัยชนะจากการต่อสู้เพื่อความเสมอภาค ทางการเมืองของสตรีมายาวนานกว่า ๗๐ ปีนั้น คณะผู้ก่อตั้งขบวนการ ต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีที่เซเนกาฟอลส์ซึ่งได้รับสมญาว่า “The Founding Mothers” ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อยินดีกับชัยชนะที่ได้ร่วมกันฝ่าฟันมาตลอด ชีวิต มีผู้เข้าร่วมการประชุมที่เซเนกาฟอลส์เพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิต ชื่อ ชาร์ลอต วูดเวิร์ด (Charlotte Woodward) ที่มีโอกาสได้ใช้สิทธิออกเสียง เลือกตั้งประธานาธิบดี ใน ค.ศ.๑๙๒๐ แทนเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเธอ ขณะมีอายุ ๙๑ ปี การต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคของสตรีอเมริกันในคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นสิ่งที่ยากลำบาก เพราะกลุ่มสตรีหัวก้าวหน้าในยุคแรก ต้องต่อสู้กับความคิดและทัศนะของชาวอเมริกันโดยเฉพาะสตรีอเมริกัน เอง อย่างไรก็ตาม ชัยชนะจากการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคทางการเมือง ของสตรีอเมริกันใน ค.ศ. ๑๙๒๐ แม้จะใช้เวลายาวนาน แต่ก็เป็นเพียงจุด เริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของสตรีอเมริกันที่ยังคงดำเนินต่อ เนื่องมาไม่ถึงจุดสิ้นสุด กลุ่มนักสิทธิเสมอภาคอเมริกันในสมัยหลังมองว่า การได้รับสิทธิและความเสมอภาคทางการเมืองของสตรีอเมริกันในครั้งนี้ ยังไม่ใช่ความเสมอภาคที่สมบูรณ์ เนื่องจากสตรีอเมริกันยังถูกเอารัดเอา เปรียบในด้านต่าง ๆ ทั้งการทำงาน การได้รับความคุ้มครองจาก สวัสดิการสังคม การหย่าร้าง และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว จึง พยายามผลักดันให้มีการออกบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องสิทธิเสมอ ภาค (Equal Rights Amendment - ERA) เพื่อให้ครอบคลุมถึงชนทุก เพศ ทุกสีผิว และทุกเชื้อชาติ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จแม้กระทั่ง ปัจจุบัน สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาการบริหารจัดการ เทคโนโลยี บรรยายเรื่อง “ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารของ ประเทศไทยและทางเลือกด้านสิ่งแวดล้อม” • วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาการ ประมง บรรยายเรื่อง “การปรับปรุงสูตรอาหารกุ้งที่มีส่วนประกอบ โปรตีนจากพืชสูงเพื่อเพิ่มปริมาณการกินอาหารของกุ้งกุลาดำ” และ ศาสตราจารย์ ดร.สายชล เกตุษา ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิทยา ศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ บรรยายเรื่อง “สารเรสเวอราทรอล (resveratrol) ในผลองุ่น” สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ดร.ชลิตภากร วีรพลิน ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาการผังเมือง บรรยายเรื่อง “แนวทางการพัฒนาภาคตะวันตก” ความโดยสรุปว่า แนวคิดเกี่ยวกับ โครงสร้างเพื่อพัฒนาพื้นที่ของภาคตะวันตก ประกอบด้วย ๖ จังหวัด คือ ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบ คีรีขันธ์ โดยมีแนวคิดที่สัมพันธ์กันระหว่างแนวทางการพัฒนาประเทศ แนวทางการพัฒนาภาค แนวทางการพัฒนาจังหวัด และแนวทางการ พัฒนาพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้ศักยภาพของแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔ ซึ่งยึดหลัก ความพอเพียง ความมีเหตุผล และความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวปฏิบัติควบคู่กับการพัฒนา ประเทศที่สมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน ทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ ยึดความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิ- ศาสตร์เศรษฐกิจและศักยภาพของภาคตะวันตกเพื่อให้สามารถแข่งขันใน ตลาดโลกได้ รวมทั้งให้สอดคล้องกับโอกาสและศักยภาพการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย อีกทั้งเพื่อเชื่อมโยงกับ ความร่วมมือระหว่างประเทศกลุ่มเศรษฐกิจด้วย เพราะภาคตะวันตกมี พื้นที่ติดต่อกับสหภาพพม่า ๔ จังหวัด คือ ๑. จังหวัดราชบุรี ทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพพม่า คือ อำเภอ สวนผึ้ง และกิ่งอำเภอบ้านคา ๒. จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพพม่า ๔ อำเภอ คือ อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอด่าน มะขามเตี้ย ๓. จังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพพม่า ๒ อำเภอ คือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง และอำเภอแก่งกระจาน ๔. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพพม่า ๗ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี กิ่งอำเภอสาม ร้อยยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย รองศาสตราจารย์มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ บรรยายเรื่อง “แนวคิดเด่น เรื่องฝาแฝดที่ปรากฏในตำนานงานวรรณกรรม” ความโดยสรุปว่า ฝาแฝดหรือ twins ทางการแพทย์หมายถึง บุตรที่เกิดจากการตั้งครรภ์ ครั้งเดียวกันและ/หรือคลอดในคราวเดียวกัน ฝาแฝดยังแบ่งได้เป็นหลาย ชนิดตามลักษณะของการผสมระหว่างตัวอสุจิของเพศชายกับไข่ของเพศ หญิงและการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เกิดเป็นฝาแฝดเหมือนหรือ identical twins ฝาแฝดต่างหรือ fraternal twins ฝาแฝดติดกันหรือ conjoined twins เช่น ฝาแฝดสยามอิน-จัน นอกจากนั้นยังมีการให้ กำเนิดบุตรมากกว่าสองคนในคราวเดียวกันที่เรียกว่า multiple birth

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=