2688_8492

3 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ ไม่เป็นภัย ไม่มีภัย ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังเช่น การที่บุคคลถือศีล ๕ ได้ อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง การนั่งสมาธิเป็นการขออภัยที่แท้จริงจากพระเจ้า การทำสมาธินั้น คือการเคารพบูชาพระองค์ด้วยจิตวิญญาณ จงใช้เวลา ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของชีวิตประจำวันของเธอไปกับการทำสมาธิ และเธอจะ ได้รับพร ๑๐ ประการจากพระองค์ดังนี้ (๑) สมาธินั้นคืออาหารซึ่งหล่อ เลี้ยงวิญญาณของเรา (๒) สมาธินั้นเปรียบเสมือนจรวดขีปนาวุธที่ทรง พลัง มันสามารถทะลุและทำลายศัตรูทั้งห้าของเราได้ (๓) สมาธิสามารถ ควบคุมใจของเราจากการร่อนเร่ออกสู่ภายนอก ดังเช่น หมองูสามารถ ควบคุมงูไว้ได้ (๔) สมาธิเป็นเหมือนมีดอันแหลมคม มันสามารถตัดกรรม ต่าง ๆ ออกจากวิญญาณของเราได้ (๕) สมาธิเป็นเสมือนที่ทำความ สะอาดชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากวิญญาณของเรา (๖) สมาธิทำให้ บุคคลซึ่งบำเพ็ญ แข็งแกร่งประหนึ่งภูเขา ไม่สั่นคลอนและสงบระงับเสมอ (๗) สมาธิเป็นเสมือนยา มันสามารถควบคุมความดันโลหิต และปกป้อง เราจากอาการป่วยอื่น ๆ (๘) บุคคลผู้ทำสมาธิบำเพ็ญทานเปรียบเสมือน ดอกไม้แรกแย้มสดใส ส่งกลิ่นหอมละมุนละไมไปยังทุกแห่งหนที่เขาไป (๙) สมาธิทำหน้าที่ขจัดสิ่งกีดขวางต่าง ๆ บนหนทางซึ่งเราเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้า (๑๐) สมาธิเปรียบเสมือนแม่เหล็ก มันดึงเราให้เข้าใกล้คุรุของเรายิ่งขึ้น เรื่อย ๆ และท้ายที่สุด สมาธินั้นเป็นของขวัญที่ดีที่สุดเพื่อมอบให้แก่คุรุ ของเรา เป็นที่สิ่งให้คุรุของเรายินดี และนี่คือเหตุผลว่าทำไม เราจึงทำ สมาธิบำเพ็ญนาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมควร กวียะ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา ปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “ความรักจัก ครองจักรวาล บทเรียนจากมหวิกฤตไทย ปี พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๓” ความ โดยสรุปว่า ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ความสับสนในระเบียบทางการเมือง ก่อให้เกิดวิกฤตเบ็ดเสร็จ (Total Crisis) ในระบบสังคมไทย คือ มีทั้ง วิกฤตกฎหมาย วิกฤตศีลธรรม วิกฤตจริยธรรม และวิกฤตคุณธรรม ก่อ เกิดรุนแรงขึ้นมาพร้อมกันในลักษณะที่ซับซ้อนและพัวพัน นักการเมือง นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และนักต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในสังคม มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับวิกฤตกฎหมาย วิกฤตศีลธรรม และวิกฤต จริยธรรม แต่ถ้าเราวิเคราะห์ให้ลึกซึ้ง จะพบว่าวิกฤตสุดวิกฤตและยากจะ แก้ไขที่สุดคือ วิกฤตคุณธรรม ซึ่งเป็นต้นตอสาเหตุของวิกฤตทั้งหลายใน ระบบสังคมไทยในปัจจุบัน เพื่อที่จะให้พลเมืองไทยและพลเมืองโลกบรรลุ ศักยภาพสูงสุด ที่พรสวรรค์หรือพลังแห่งวิวัฒนาการได้ประทานมาให้ มนุษย์ การศึกษาในอนาคตควรจะปูพื้นฐานคุณธรรม โดยขยายขอบเขต วัตถุประสงค์ของการพัฒนาความฉลาดออกไปให้กว้างขวางและลึกซึ้ง โดยสื่อมวลชนจะต้องสานต่อด้วยความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อส่วน รวม มหวิกฤตไทย ๒๕๔๙-๒๕๕๓ เป็นวิกฤตเบ็ดเสร็จที่มีผลกระทบทั้ง ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งในระยะสั้นและระยะ ยาว ระยะยาวซึ่งหมายถึงการสร้างอารมณ์ของสังคม (Social Emotion) ให้เป็นไปในวิถีลบ ซึ่งยากที่จะเยียวยาแก้ไข รวมถึงความหวาดระแวง ความโกรธความเกลียดที่มาเบียดบังความไว้เนื้อเชื่อใจ ความสบายอก สบายใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรัก องค์กรและประเทศที่เจริญ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ก็เพราะความรัก รักสังคม เท่ากับรักองค์กร รักองค์กร เท่ากับรักครอบครัว รักครอบครัว เท่ากับรักตนเอง โดยสรุปก็คือ รัก ตนเองและรักผู้อื่นอย่างสมดุลกัน ซึ่งถือว่าเป็นความสมดุลที่ไม่ก่อให้เกิด ความขัดแย้งทั้งในด้านจิตใจหรือผลประโยชน์ ความรักเป็นปัจจัยสำคัญ ที่สุดในสมการของความสุขและสันติภาพ (The most important factor in the equation of love and peace) เริ่มต้นที่คณะกรรมการทุกชุดที่ รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขมหาวิกฤตจะต้องทำงานด้วยความรักและ เพื่อความรัก ถอยหลังเข้าไปถึงพรรคการเมืองก็ต้องทำงานด้วยความรัก และเพื่อความรัก สื่อมวลชนต้องสื่อสารด้วยความรักและเพื่อความรัก การศึกษาต้องสั่งสอนอบรมด้วยความรักและเพื่อความรักตั้งแต่ระดับ ก่อนอนุบาลมาจนถึงระดับปริญญาเอก ตั้งแต่ในโรงเรียนออกมานอก โรงเรียนและเข้าไปในหมู่บ้าน ชุมชน และในโลกกว้าง โทรศัพท์มือถือและ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อมวลชนปฏิสัมพันธ์ (Interactive media) ที่มี อาณาจักร (Cyberspace) ขยายกว้างขวางออกไปทุกขณะ น่าจะเป็น ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการแพร่ “ศาสนารัก” ออกไปทุก พื้นที่ภูมิศาสตร์ ทั้งอาณาจักรของชีวิต (Biosphere) ทุกพรมแดนของ จิตใจมนุษย์ (Psychosphere) และทุกสังคมมนุษย์ (Sociosphere) ความ รักจักครองโลก และครองจักรวาล ถ้าเราเริ่มต้นจากเจตคติที่ถูกต้องและ เจตนารมณ์ที่มั่นคงเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวต่ออคติทั้งปวง • วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วงเดือน นาราสัจจ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคทางการเมืองของสตรี อเมริกัน ก่อน ค.ศ. ๑๙๒๐” ความโดยสรุปว่า ปัญหาเรื่องสถานะทาง กฎหมายของสตรีเกี่ยวพันถึงปัญหาความเสมอภาคทางการเมืองของสตรี อเมริกัน เนื่องจากการขาดโอกาสและการถูกจำกัดสิทธิในการแสดงความ คิดเห็นต่อสาธารณะ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของ ผู้หญิง ทำให้สตรีอเมริกันเห็นว่าพวกตนจะไม่สามารถผลักดันกฎหมายใด ๆ ได้หากไม่มีโอกาสออกเสียงเลือกตั้ง การรณรงค์เพื่อให้ได้รับความเสมอ ภาคทางการเมืองจึงเป็นทางเลือกของกลุ่มสตรีหัวก้าวหน้า จุดเริ่มต้นของ การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคทางการเมืองของกลุ่มสตรีอเมริกันเกิดขึ้นใน ค.ศ.๑๘๔๐ เมื่อสมาชิกสตรีของสมาคมต่อต้านการมีทาสกลุ่มหนึ่ง เช่น แฮร์เรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Beecher Stowe) ลูเครเทีย มอตต์ (Lucretia Mott) และเอลิซาเบท เคดี สแตนตัน (Elizabeth Cady Stanton) ได้รับเลือกจากสมาคมต่อต้านการมีทาสสหรัฐอเมริกาให้เป็น ตัวแทนเดินทางไปร่วมการประชุมของกลุ่มต่อต้านการมีทาสสากลที่กรุง ลอนดอน แต่บุคคลเหล่านี้กลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องประชุม เพราะผู้หญิงไม่สามารถร่วมประชุมกับผู้ชาย จึงต้องนั่งฟังการประชุมที่ ระเบียงนอกห้องประชุมแทน เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มอตต์และสแตนตัน เห็นพ้องกันว่า กลุ่มสตรีจะต้องผนึกกำลังร่วมกันเรียกร้องความเสมอภาค ทางเพศ บุคคลทั้งสองใช้เวลานานถึง ๘ ปีจึงสามารถจัดการประชุมกลุ่ม เรียกร้องสิทธิสตรีที่เมืองเซเนกาฟอลส์ (Seneca Falls) รัฐนิวยอร์ก มีผู้ เข้าร่วมประชุมเป็นหญิงประมาณ ๒๕๐ คน และผู้ชายที่เป็นพวกเควเกอร์ และนักปฏิรูปสังคมอีกประมาณ ๔๐ คน ประเด็นสำคัญที่ถกเถียงกันในที่ ประชุมคือปัญหาเกี่ยวกับสิทธิสตรี หลังสงครามกลางเมือง ปัญหาเรื่องความเสมอภาคทางการเมืองได้ เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้สตรีอเมริกันหลายกลุ่มร่วมกันต่อสู้อีกครั้ง เมื่อ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาผ่านรัฐบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๔ (ค.ศ. ๑๘๖๘) ที่รับรองว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้ กฎหมาย ซึ่งหมายถึงการรับรองสิทธิของชนผิวดำ และมาตรา ๑๕ (ค.ศ. ๑๘๗๐) ที่ให้สิทธิลงคะแนนเสียงแก่อดีตทาสผิวดำ เหตุการณ์นี้ ทำให้มีการก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีขึ้น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ สมาคม สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของสตรีแห่งชาติ (National Women Suffrage Association) นำโดย เอลิซาเบท เคดี และซูซาน บี. แอนโทนี (Susan B.Anthony) ตั้งอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก และมีแนวทางต่อสู้ในเชิงรุก อีกกลุ่ม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=