2688_8492
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก *** นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน รับ รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ใน ฐานะที่ ราชบัณฑิตยสถาน ได้รับรางวัลดังกล่าว ประเภทองค์กรที่มีผลงานประชาสัมพันธ์ดีเด่น จาก สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศ ไทย โดย นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ ห้องดุสิตธานีฮอล โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นายสนั่น ไชยานุกุล ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “ราธสวามี” ความโดยสรุปว่า ท่านซาวัน ซิงห์ เขียนไว้ว่า การให้อภัย มี ความหมายว่ายกโทษให้แก่ความผิดของผู้อื่น และไม่นึกถึงความผิดนั้นอีก บุคคลผู้ปราศจากการให้อภัย จะทะเลาะเบาะแว้งกันและทำลายตนเอง คนเป็นล้าน ๆ คน พินาศไปเพราะว่าเขาปราศจากคุณธรรมข้อนี้ บุคคลที่ เต็มไปด้วยการให้อภัยจะมีธรรมชาตินิสัยที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถ้าไม่มีการ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ก็จะไม่มีการให้อภัย การให้อภัยทำให้การทะเลาะเบาะ แว้งสิ้นสุดลงได้ และเป็นหนทางที่จะขจัดความทุกข์ที่เกิดขึ้น บุคคลที่มี ธรรมชาตินิสัยแห่งการให้อภัย มักจะเยือกเย็น ถ่อมตน อดทน และสงบ ระงับ แม้ขณะที่เผชิญกับความยากลำบาก เขาก็สามารถให้อภัย และเขา จะเป็นคนร่าเริงอยู่เสมอ ท่านเกรท มาสเตอร์ กล่าวว่า “เราจะล้างเลือด ให้สะอาดด้วยการใช้เลือดได้อย่างไร” ถ้าเราเรียกร้องหาความยุติธรรม เรียกร้องที่จะลงโทษบุคคลที่ทำผิด และคนที่ทำผิดก็จะเผชิญกับการถูก ลงโทษ พฤติกรรมเช่นนี้ไม่สามารถขจัดความเกลียดชังที่มีต่อกันและจะ กระตุ้น ให้เกิดการล้างแค้นต่อไปอีก ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นก็จะไม่ยอมหยุด จนกว่าจะได้แก้แค้นอีกฝ่าย การขัดแย้งจะเพิ่มขึ้น เพราะความยุติธรรมไม่ สามารถลบล้างความมุ่งร้ายหมายขวัญ และความอยากแก้แค้นได้อีกทาง หนึ่ง ถ้ามีการให้อภัยผู้ที่ได้รับการยกโทษก็จะรู้สึกขอบคุณและมีความรู้สึก เป็นมิตรกับผู้ที่อภัยให้เขา การให้อภัยสามารถดับไฟแห่งความโกรธได้ เพราะไม่มีวิธีอื่นใดอีกแล้ว มนุษย์ย่อมไม่รู้ถึงสัจจะความจริง เพราะเหตุ แห่งความหยิ่งทะนงตน สิ่งนี้เราจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเราพบกับคุรุที่เพียบ พร้อมสมบูรณ์เท่านั้น ความโกรธสามารถขจัดออกไปได้ด้วยการนำการให้ อภัยเข้ามาแทนที่ในใจของเราด้วยเกรซหรือความเมตตากรุณาของคุรุ ทั้ง อหังการและความโกรธจะออกไปจากใจเราเมื่อมีความสันโดษเข้ามา แทนที่ การให้อภัยทำให้เราได้สิ่งเหล่านี้ คือ ๑. ได้บุญกุศล อภัยทานเป็น หนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อยู่ในหมวดของการทำบุญด้วยการให้ ซึ่งมี อานิสงส์สูงมากเพราะปฏิบัติได้ยาก แต่ถ้าทำได้ จะเป็นอริยทรัพย์ที่ติดตัว ไปทุกภพทุกชาติ ๒. ได้เป็นผู้ใหญ่ไปอีกขั้น ผู้ที่ให้อภัยได้ส่วนใหญ่จะให้ สัมภาษณ์ว่า พวกเขารู้สึกเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น และพร้อมสำหรับบทเรียน ชีวิตบทใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะยากขึ้นหรือทำให้ทุกข์ใจมากขึ้นกว่าเดิม ๓. ได้ รู้จักความรักที่แท้จริง การให้อภัยคือการเมตตาตัวเองและผู้อื่น เป็นการ ให้ความรักโดยไม่แบ่งแยก ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกอิ่มเต็มและสามารถเผื่อแผ่ ความรักได้อย่างไม่จำกัด ๔. ได้ความแข็งแรง ๕. ได้ความสงบ ๖. ได้ช่วย เหลือเพื่อนมนุษย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย มุมมองใหม่ของคำว่า “อภัย” การให้อภัยมิได้มีความหมายถึง การยกโทษแก่บุคคลที่ทำผิดหรือทำร้าย เราเท่านั้น แต่ยังมีอีกมุมมองหนึ่งซึ่งลึกกว่า คือ “อภัย” หมายความว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=