2687_3509
7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เรื่อง ส่วนมากเป็นสารคดีและบทความ ส่วนงานเขียนประเภทบันเทิงคดี แบ่งเป็น ประเภทวรรณคดีและพงศาวดารเล่าใหม่ นวนิยาย เรื่องสั้น และบทละคร วรรณคดีและพงศาวดารฉบับเล่าใหม่ ได้แก่ ขุนช้างขุนแผน ฉบับเล่าใหม่, สามก๊กฉบับนายทุน ตอน โจโฉ นายกฯ ตลอดกาล, เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น, ซูสี ไทเฮาและ ฮวนนั้ง บทละคร มีบทละครโทรทัศน์ เช่น บทละครเรื่อง ซูสีไทเฮา บทละครเรื่อง หลายชีวิต ตอน เจ้าลอย และ ท่านชายเล็ก บทละครเรื่อง สี่แผ่นดิน และบท ละครเวที เรื่อง ราโชมอน นวนิยาย ได้แก่ สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, หลายชีวิต และ กาเหว่าที่บางเพลง เรื่องสั้นมี ๒๐ เรื่อง เช่น “บ้านแขนขาด”, “น้ำตานักการเมือง”, “เรื่องสั้น สมัยหิน”, “มอม” ฯลฯ ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือชื่อ รวมเรื่องสั้นคึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มี “พรสวรรค์” ในการเขียน การพูด เพราะสามารถพูดและเขียนเรื่องยากซับซ้อน เป็นวิชาการ ให้เป็นเรื่องง่ายที่ผู้ อ่านหรือผู้ฟังทั่วไปเข้าใจได้แจ่มชัด หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มีต้นทุน วัตถุดิบสำหรับเขียนหนังสือที่เกิดจากประสบการณ์การอ่านและประสบการณ์ตรง ของตนเอง ประกอบกับมีความสามารถในด้านการใช้ภาษาที่เรียบง่าย สั้น กระชับ อย่างที่เรียกได้ว่า “ง่ายคืองาม” และที่สำคัญเป็นผู้แสดงความจริงใจใน งานเขียน วิพากษ์วิจารณ์ตรงไปตรงมาอย่างที่ท่านมักกล่าวว่า “ชมคนที่ควรชม ข่มคนที่ควรข่ม” งานเขียนของท่านจึงมีสีสันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะ การเมืองร้อนแรง นอกจากนี้ ข้อเขียนของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช แทบ ทุกเรื่องแสดงอารมณ์ขัน อันเป็นเสน่ห์ทางวรรณศิลป์ที่ทำให้ผู้อ่านพึงพอใจ ท่านมีฝีมือทางวรรณศิลป์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง นวนิยายเรื่อง หลายชีวิต ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารชาวกรุง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ รวมเล่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๙๙ จนปัจจุบันมีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส มี การนำไปใช้ในการศึกษา การวิจารณ์ นอกจากนี้ยังมีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ๑ ครั้ง ละครโทรทัศน์ ๒ ครั้ง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เล่าถึงมูลเหตุการณ์ที่ แต่งเรื่อง หลายชีวิต ไว้ว่า “ไปรถยนต์ มี ชอบ มณีน้อย สละ ลิขิตกุล ใครต่อใครหลายคน วิลาศ มณีวัต นั่งรถยนต์จะไปเที่ยวศรีราชากันสนุก ๆ ไปกันหลายชั่วโมงกว่าจะถึง โอ้โฮ หลุมบ่อ ก็ไปเห็นสะพาน รถมันตกสะพาน เห็นซากรถ ก็คิดว่าคนคงตายเยอะ ก็ พูดกันขึ้นมาแบบคนโบราณว่า เอ๊ะ นี่ทำกรรมอะไรกันมา ทำบุญอะไรกันมา ต่าง คนต่างอะไรกัน มาจากไหนก็ไม่รู้ มาตายพร้อมกันทีเดียว แล้วมีใครว่า เออน่าคิด นะ! ทำไมเราไม่แต่งนิยาย ย้อนหลังกลับไปดูว่าเขาทำกรรมอะไรกันบ้าง ก็ตกลง กัน นักเขียนใหญ่ ๆ ทั้งนั้นที่ไปกัน อบ ไชยวสุ ใครต่อใคร ก็ว่าเอาอย่างนี้ดีกว่า จะเอามาลงชาวกรุง เขียนกันคนละเรื่อง คนละชีวิต แล้วคุณวิลาศก็รับว่าไม่ เป็นไรเขาจะไปชวนพี่เล็กพี่อะไร นักประพันธ์ของคุณวิลาศอีกเยอะแยะ มาช่วย เขียนคนละเรื่อง กลับมาถึงกรุงเทพฯ คุณวิลาศ บรรณาธิการชาวกรุง ท่านก็ว่าพร้อมแล้ว เอาเลย แต่ให้ผมเป็นคนเขียนเรื่องแรก ผมก็เขียนส่งอ้ายลอยเป็นเรื่องแรก ก็ พิมพ์ตูมลงไปคนถอนตัวหมดไม่มีใครยอมเขียน” มีผู้วิจารณ์ว่ายกเว้นเรื่อง สี่แผ่นดิน แล้ว นวนิยายทุกเรื่องของหม่อม ราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำเค้าโครงเรื่องมาจากวรรณกรรมต่างชาติ ผู้วิจารณ์ กล่าวว่าเรื่อง หลายชีวิต นำมาจากเรื่อง The Bridge of the San Luis Rey ของ Thornton Wilder แต่เมื่อผู้บรรยายศึกษาเปรียบเทียบนวนิยายทั้ง ๒ เรื่องพบ ว่าเนื้อหาและแนวคิดของเรื่องไม่ตรงกันเลย นวนิยายของ Wilder เป็นเรื่อง โศกนาฏกรรมหมู่ของบุคคล ๕ คนเนื่องจากสะพานเชือกแขวนอายุกว่า ๑๐๐ ปีหัก ขาดลง พระรูปหนึ่งค้นคว้าที่มาของเรื่องเศร้าสลดนี้พบว่าคนทั้ง ๕ เกี่ยวพันกัน นวนิยายเรื่องนี้ต้องการแสดงว่าความตายเป็นเรื่องน่าเศร้าสะเทือนใจเพราะพราก ชีวิตของผู้เป็นที่รัก แต่ความรักจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่กับผู้ที่ สิ้นชีวิตไปแล้ว รูปแบบการแต่งก็มีผู้เข้าใจผิดว่าเรื่องหลายชีวิตเป็นเรื่องสั้น หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ชี้แจงไว้ว่า “หลายชีวิต คือ นวนิยาย ไม่ใช่ ‘เรื่องสั้น’ เนื่องจากทุกชีวิตคือส่วนหนึ่งของโครงนวนิยายเรื่องยาว และจำเป็นต้องรักษา โครงนั้นไว้ ตอนจบแต่ละชีวิตจึงต้องจมน้ำตายในเรือลำนั้นทุกคนไป” น่าสังเกตว่าในจำนวนตัวละคร ๑๑ ตัว มีตัวละครที่มีลักษณะเป็นคู่ตรงกันข้าม และตัวละครที่มีลักษณะสอดคล้องส่งเสริมกัน เช่น เจ้าลอย กับ หลวงพ่อเสม เป็น ตัวละครคู่ตรงข้าม เจ้าลอยเป็นตัวอย่างของความชั่ว ความเลวที่น่าขยะแขยง หลวงพ่อเสมก็เป็นตัวแทนของความสะอาดบริสุทธิ์ ท่านชายเล็ก กับ จั่น เป็นตัว ละครคู่ตรงข้ามอีกคู่หนึ่ง ท่านชายเล็กพยายามละทิ้งฐานันดรศักดิ์อันสูงซึ่งทำให้ ชีวิตมีความทุกข์ แต่จั่นกลับพยายามรักษายศศักดิ์ของตนเองเอาไว้ โนรี ซึ่งเป็นนัก ประพันธ์ กับ ผล ซึ่งเป็นพระเอกยี่เก มีลักษณะใกล้เคียงกัน นั่นคือ ติดยึดอยู่ในชื่อ เสียงของตนเอง เมื่อชื่อเสียงสูญสิ้นไป ก็พยายามเรียกกลับคืน ตัวละครหลายตัวในเรื่อง หลายชีวิต มีที่มาจากบุคคลจริงที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช รู้จักคุ้นเคย ดังเช่น โนรี นักประพันธ์ที่ติดเหล้าจนตาย ถ่ายภาพมา จากนักเขียนที่ท่านสนิทสนมนั่นเอง “ก็ใกล้ที่สุดล่ะ เห็นจะเป็นยาขอบมากกว่า” ส่วน ผล พระเอก มาจากพระเอกยี่เกตัวจริง “ไอ้ผลยี่เกผมก็รู้จักตัวรู้จักตัวจริง ๆ มันยี่เกแถวนั้น แล้วเพลงที่ผมโค้ดเอามามันร้องจริง ไอ้ผลเป็นคนลาดปลาดุก ใกล้ ลาดชะโด” ท่านชายเล็ก น่าจะนำมาจากเรื่องราวส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษของผู้ ประพันธ์ ดังที่ผู้ประพันธ์เขียนไว้ใน โครงกระดูกในตู้ ส่วน เจ้าลอย ซึ่งนับเป็นตัว ละครที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องนั้น ไม่มีบุคคลจริงเป็นต้นแบบ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่าเป็นตัวละครที่ท่านสร้างขึ้นมาเอง และเป็นตัวละครที่ผู้ประพันธ์ พอใจมากที่สุด ดังกล่าวว่า “ก็ไม่รู้ แต่รู้สึกว่ามันชั่วดีนะ (ฮา) คือเป็นคาแร็คเตอร์ ที่ผมสร้างขึ้นมาแล้ว ผมรักมากที่สุด คือมันชั่วดี มันไม่มีอะไรดีเลย คนอะไรอย่าง นั้นก็ไม่รู้ ผู้มีพระเดชพระคุณเลี้ยงมันมาแต่อ้อนแต่ออกมันฆ่าเล่นสบายเลย” แนวคิดสำคัญของเรื่องหลายชีวิต แสดงปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียว กับนวนิยายทุกเรื่องของผู้ประพันธ์ นั่นคือชีวิตดำเนินไปตามกรรม อันเป็นภาวะที่ เป็นไปตามธรรมดาธรรมชาติ มีเหตุเช่นไร ก็มีผลเช่นนั้น และความตายไม่ใช่ จุดจบหรือความจบสิ้นแห่งชีวิต เพราะสรรพสัตว์ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในกระแส แห่งกรรม เว้นเสียแต่ว่าสรรพสัตว์นั้นจะสามารถล่วงสู่นิพพานอันเป็นการดับ กิเลสและหลุดพ้นจากกองทุกข์ ไม่เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารอีกต่อไป ดังข้อความที่ กล่าวไว้ตอนท้ายของเรื่องว่า “หลายชีวิตที่เคยรัก เคยเกลียด เคยหัวเราะ เคยร้องไห้ เคยมีสุข มีทุกข์ ก็ มาจบลงพร้อมกัน แต่ทว่าจบนั้นจบจริงหรือ แสงแดดยังส่องจับน้ำค้างตามใบ หญ้าเป็นประกายบนตลิ่ง และตามสุมทุมพุ่มไม้ยังเต็มไปด้วยชีวิตน้อยใหญ่ที่ร่าเริง มีแต่ความหวัง แม่น้ำสายนั้นก็ยังคงไหลต่อไปอย่างเชื่องช้า ไหลไปสู่มหาสมุทรอัน ไพศาล ตราบใดที่แม่น้ำนั้นยังอยู่ เรือแพก็จะสัญจรไปมา ขึ้นล่องไปโดยไม่มีที่สิ้น สุดเหมือนกับธารแห่งชีวิต ซึ่งไหลอยู่เป็นนิรันดร มีเกิดแล้วก็มีตายแล้วก็ต้องมา เกิดใหม่อีก ผู้ที่จะรอดพ้นไม่ถูกธารนั้นกลืนหายไป ก็คือผู้ที่สามารถว่ายเข้าหาฝั่ง ขึ้นยืนเสียบนตลิ่งในที่แห้ง ไม่ปล่อยตัวให้ไหลไปตามธารแห่งชีวิตนั้น แต่คนที่จะ ทำเช่นนั้นได้จะมีสักกี่คน ? เพราะกระแสธารแห่งชีวิตนั้นไหลเชี่ยวแรงนัก...”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=