2687_3509
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เป็นการผลิตที่ดีอย่างมีคุณภาพที่ตรวจสอบได้ โครงการหลวงให้ความสำคัญกับ คุณภาพ และมาตรฐานของผลิตผล ถึงแม้การผลิตจะมาจากชาวเขาก็ตาม โดย เริ่มต้นจากการ GAP, GMP และ HACCP ของประเทศไทย ซึ่งได้จัดทำ โครงการวิจัยคือ “โครงการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อการส่งออก : กรณีโครงการ หลวง” โดยสภาวิจัยแห่งชาติให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ • วันพุธที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร. พญ.ศศิธร ผู้กฤตยาคามี ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “Primaquine ยาต้านมาลาเรีย” • วันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร. มนุวดี หังสพฤกษ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาสมุทรศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “สมุทรศาสตร์กับการขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล” ศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ กายภาพ สาขาวิชาเคมี บรรยายเรื่อง “การศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพ ของพืชในวงศ์ Dasymaschalon (Annonaceae)” และ ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปี ๒๕๕๒” สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นายชนก สาคริก ภาคีสมาชิก ประเภท วิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง “วงดนตรี ๓ พิณ” ความ โดยสรุปว่า วงดนตรี ๓ พิณ เป็นแนวคิดของผู้บรรยายที่นำเครื่องดนตรีต่างชาติ คือ พิณกู่เจิง พิณพม่า มาบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีไทยคือ ขิม (พิณผีเสื้อ) พบ ว่าเสียงของเครื่องดนตรีดังกล่าวมีสำเนียงความไพเราะที่กลมกลืนกันและมีสีสันที่ แปลกใหม่ และได้แต่งทำนองเพลงใหม่เพลงหนึ่ง โดยจินตนาการถึงยอดดอยสูง แห่งหนึ่งท่ามกลางขุนเขาที่งดงามและสงบเงียบปกคลุมไปด้วยละอองหมอกและ อากาศหนาว ทันใดก็เกิดพายุหิมะอย่างรุนแรง (ใช้เสียงกรีดสายของพิณกู่เจิงอ ย่างเกรี้ยวกราดแทนเสียงพายุ) จนดอกเหมยที่บานสะพรั่งต้องซบเซาลง เมื่อพายุ หิมะสงบลง ดอกเหมยจึงค่อยผลิดอกบานอีกครั้ง สรรพสิ่งทั้งหลายบนยอดดอย จึงกลับมามีชีวิตและงดงามดังเดิม กระรอกป่าจึงเริ่มออกหากิน (ใช้เสียงขิมตีขยี้ อย่างต่อเนื่องรวดเร็วแทนการเคลื่อนไหวของกระรอก) จากนั้นคาราวานภูเขาที่ หลบซ่อนพายุหิมะก็เริ่มเดินทางกลับบ้าน (เครื่องดนตรีทุกชิ้นเริ่มบรรเลงทำนอง ช้าแทนการระหกระเหินเหนื่อยล้า) เมื่อผ่านดงดอกเหมยที่บานสะพรั่งคนในกอง คาราวานจึงเกิดความสุขใจ (ทำนองดนตรีเปลี่ยนเป็นอ่อนหวานอิ่มเอิบใจ) บาง คนรำพึงถึงคนรักที่บ้าน (มีการขับร้องประกอบทำนอง) เมื่อเดินทางลับเหลี่ยมเขา สรรพสิ่งทั้งหลายจึงเงียบสงบอีกครั้ง ทิ้งให้ดอกเหมยบานท้าลมหนาวอยู่เดียวดาย ผู้บรรยายได้ตั้งชื่อเพลงจากจินตนาการดังกล่าวว่า “สายหมอกดอกเหมย” และแต่งคำร้องประกอบภายหลังจากไปบรรเลงดนตรีในรายการ ๙ วันใหม่ โดย ได้เพิ่มซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ร่วมบรรเลงผสมด้วย นอกจากนี้ ผู้บรรยายยังได้ กล่าวถึงตำแหน่งการวางเครื่องดนตรีของวงดนตรี ๓ พิณ เพื่อความสวยงามและ เสียงของเครื่องดนตรีกลมกลืนว่ามี ๒ กรณี คือ ในกรณีที่บรรเลงเฉพาะพิณกู่เจิง พิณพม่า และขิม ตำแหน่งของพิณพม่าควรอยู่ตรงกลาง พิณกู่เจิงอยู่ด้านซ้ายของ ผู้ชม และขิมอยู่ด้านขวาของผู้ชม ส่วนกรณีบรรเลงร่วมกันเป็นวงอาจวางพิณ พม่าไว้มุมซ้ายหรือกลางเวทีก็ได้ตามเหมาะสม พิณกู่เจิงและขิมอาจวางสลับด้าน กันได้ แต่ควรวางให้เอียงเข้าหาส่วนกลาง เพื่อให้วงดนตรี ๓ พิณมีมติโค้งเว้า สวยงาม รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ บรรยายเรื่อง “เพลงแห่งฤดูใบไม้ร่วง” ความโดยสรุปว่า “เพลงแห่งฤดูใบไม้ร่วง” เป็นชื่อบทกวีภาษาฝรั่งเศสว่า “Chanson d’automne” ของปอล แวร์แลน (Paul Verlaine) ซึ่งมีชีวิตระหว่าง ค.ศ.๑๘๔๔-๑๘๙๖ บทกวี “เพลงแห่งฤดูใบไม้ร่วง” ปรากฏอยู่ในหนังสือรวมบทกวี ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๖ ชื่อ Poè mes saturniens บทกวี “เพลงแห่งฤดู ใบไม้ร่วง” ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดย “นิตยเกษม” (หม่อมราชวงศ์ นิตยโสภาคย์ เกษมสันต์) บทกวีนี้มีความยาว ๓ บท บทละ ๖ บาท บาทละ ๔ พยางค์ ท่วงทำนอง สะท้อนถึงธรรมชาติของฤดูใบไม้ร่วง กล่าวคือ ความเศร้าสร้อย ความเหงา และ ใบไม้ที่ร่วงโรยยามต้องลม ความรู้สึกเศร้าที่สะสมอยู่ในใจของกวีแสดงออกมา อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติโดยรอบ เสียงของถ้อยคำที่คัดสรรมาใช้ในบทกวีเป็น เสียงของธรรมชาติในฤดูใบไม้ร่วง สะท้อนให้เห็นหลักการเขียนบทกวีของแวร์ แลนที่กล่าวว่า “เสียงดนตรีก่อนอื่นใด (De la musique avant toutes choses)” บทที่ ๑ ของบทกวี แวร์แลนกล่าวถึงธรรมชาติของฤดูใบไม้ร่วงโดยวิธีการ อุปมาอุปไมย เสียงลมหวีดหวิวในฤดูใบไม้ร่วงทำให้กวีนึกถึงเสียงไวโอลินที่ฟังแล้ว เหมือนเสียงสะอื้นไห้อันยาวนาน นอกจากนี้ เสียงไวโอลิน (เสียงลม) บาดหัวใจ ของกวี ด้วยความรู้สึกเศร้าสร้อย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า บทที่ ๒ แวร์แลนกล่าวถึงตัวของเขาเองเด่นชัดขึ้น คำว่า “ฉัน” (je) ปรากฏ ถึง ๒ ครั้งในบทนี้ กล่าวคือ “ฉันนึกถึงวันเก่า ๆ” และ “ฉันร้องไห้” อาการทั้ง ๒ ประการทำให้เข้าใจถึงคำคุณศัพท์ ๒ คำที่ขยาย “ฉัน” ได้แก่ อาการที่หายใจไม่ใคร่ ออก (suffocant) ซึ่งในที่นี้คงเป็นนัยทางนามธรรมอันเกิดจากความทุกข์ที่อัดอั้น อยู่ ส่วนคำคุณศัพท์ “ blÍ me ” หมายถึง ใบหน้าซีดเซียวอันเกิดจากสภาวะเจ็บป่วย ซึ่งในที่นี้ก็คือ ใบหน้าซีดเซียวเนื่องด้วยความระทมทุกข์ อาการทั้ง ๒ ประการนี้จึง เป็นเหตุและผลต่อกัน และเกิดขึ้นเมื่อ “เวลาผันผ่าน” (quand sonne l’heure) ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ “ดำรงอยู่ตลอดเวลา” เพราะเวลาไม่เคยหยุดเดิน เวลาคง เดินต่อไป ความทุกข์ใจไม่บรรเทา บทที่ ๓ แวร์แลนเปรียบตนเองกับใบไม้ร่วงที่เคลื่อนไหวหรือปลิวไปกับ สายลมแห่งฤดูใบไม้ร่วง กวีผนึกตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับลีลาแห่งฤดูกาล แวร์แลน ระบุว่าลมที่พัดพาตัวเขาไปนั้นเป็น “ลมร้าย” (vent mauvais) หมายถึง ลมแห่ง ความเศร้า ซึ่งโยงไปถึงชื่อหนังสือรวมบทกวีที่เขาเขียน คือ PoËmes saturniens เป็นบทกวีแห่งดาวเสาร์ ในวรรณคดี ดาวเสาร์เป็นสัญลักษณ์แห่งความเศร้า หนังสือเล่มนี้จึงรวมบทกวีแห่งความเศร้าเข้าไว้ด้วยกัน การใช้สัมผัสและเสียงสัมผัสในบทกวีทั้ง ๓ บท เป็นแบบเดียวกัน บทเพลงที่ แสดงอารมณ์เศร้าหลายเพลงมักใช้รูปแบบสัมผัสเช่นนี้ คำสุดท้ายของบทกวีคือ “ morte ” สื่อถึงความตาย เป็นการย้ำถึงอารมณ์เศร้าอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจบบทกวี ปอล แวร์แลน ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านกวีนิพนธ์ในวรรณคดีสโมสร ( salons ) และกลุ่มกวีปาร์นัสร่วมสมัย ( Parnasse contemporain ) เขาไม่นับถือศาสนาใดๆ และประกาศตนเป็นผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ เขาได้รับอิทธิพลจากกวีแนว สัญลักษณ์นิยม ( symbolisme ) ผลงานสำคัญช่วงนี้ได้แก่ PoËmes saturniens แวร์แลนได้รับยกย่องว่าเป็น “กวีที่สมบูรณ์แบบ” ( parfait poËte ) และ “เจ้าชายแห่งมวลกวี” ( le prince des poËtes ) บทกวีของเขาโดดเด่นในกลุ่มกวี สัญลักษณ์นิยม อานาตอล ฟรองซ์ ( Anatole France ) และมาลาร์เม ( MallarmË é ) กล่าวยกย่องหนังสือ PoËmes saturniens ของเขาว่าเป็นหนังสือรวมบทกวีที่เยี่ยมยอด ศาสตราจารย์. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง “หลากชีวิตในหลายชีวิต ของคึกฤทธิ์ ปราโมช” ความโดยสรุปว่า ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบุคคลสำคัญของไทย ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๓ ของประเทศไทย เป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ที่ทรงอิทธิพลทางความคิด จนยกย่องกันว่าเป็น “เสาหลักแห่งประชาธิปไตย” ในทางวรรณกรรม ท่านมีผลงานโดดเด่นมากมาย และได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ คนแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ โครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี ค.ศ. ๒๐๑๐–๒๐๑๑ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๓๕ ได้มีมติ รับรองการจัดงานเฉลิมฉลองหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในวาระ ๑๐๐ ปีแห่ง ชาตกาล ซึ่งจะมาถึงในวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติ สูงยิ่งในระดับสากล เป็นเกียรติภูมิของประเทศไทยและเป็นความชื่นชมยินดีอย่าง ยิ่งของประชาชนชาวไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกใน ๔ สาขา คือ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน นับเป็นคนไทย คนที่ ๒๐ ซึ่งได้รับยกย่องจากยูเนสโก ท่านมีผลงานประพันธ์จำนวนกว่า ๑๔๐
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=