2687_3509
5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ หรือหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ คำว่า หนี้นอกระบบ นั้นเป็นคำที่ใช้กันอยู่ ทั่วไปตามความเป็นจริงในปัจจุบัน แต่ในกฎหมายนั้นยังไม่พบว่ามีการให้คำจำกัด ความว่าหนี้นอกระบบคืออะไร อย่างไรก็ดี มีนักวิชาการหรือบุคคลต่าง ๆ ให้ความหมายของหนี้นอกระบบ และหนี้ในระบบ สรุปความได้ว่าหนี้นอกระบบ เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างประชาชน โดยไม่ได้กู้ยืมเงินจาก สถาบันการเงิน หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นหนี้ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับหนี้ใน ระบบที่หมายถึงหนี้เงินกู้จากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ในทางกฎหมายแล้วบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันที่ เข้ามารับบทบาทเป็นกลไกในการรองรับและควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เป็น เจ้าหนี้เงินกู้มิให้มีการเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้มากจนเกินสมควรนั้น โดยพื้นฐานก็ คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดนิติ สัมพันธ์ของเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาที่มีสถานะที่เท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมาย บทบัญญัติในเรื่องกู้ยืมเงินนั้นปรากฏอยู่ในมาตรา ๖๕๓ ถึงมาตรา ๖๕๖ ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม ๔ มาตรา ซึ่งหากพิจารณาจาก บทบัญญัติเหล่านี้แล้วก็จะพบว่ามีเนื้อหาสำคัญ ๆ อยู่ ๔ เรื่องด้วยกัน ได้แก่ (๑) หลักเกณฑ์ในการกู้ยืมเงิน (๒) หลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เงินกู้ (๓) ดอกเบี้ย (๔) การตกลงรับของแทนเงินกู้ ในเรื่องผลของการใช้บังคับของสัญญากู้ยืม เงินนั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่า การให้กู้ยืมเงินเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป จะต้อง ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม ซึ่งหากเพิกเฉยไม่ทำตามแล้ว ต่อมา หากปรากฏว่าผู้กู้ยืมไม่ยอมชำระเงินกู้คืน ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ผู้กู้ ยืมคืนเงินไม่ได้ แม้ว่าจะได้ความว่าผู้กู้ยืมมีเจตนาโกงก็ตาม และหากไปบังคับกัน ทางอื่นซึ่งนอกเหนือวิถีทางตามกฎหมายแล้ว เช่นการทำร้ายร่างกายผู้กู้ยืมหรือ หยิบฉวยเอาทรัพย์สินของผู้กู้ยืมมา ผู้ให้กู้ย่อมมีความผิดทางอาญา อย่างไรก็ตาม หากปรากฏว่าผู้กู้ยืมยอมชำระหนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือให้แก่ผู้ให้กู้ไป แล้วเช่นนี้ ผู้กู้ยืมก็ไม่สามารถเรียกเงินกู้ที่ชำระไปแล้วคืนได้ เพราะถือว่าการทำ สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดหนี้เงินกู้ตามกฎหมายจริง และหากพิจารณา ถ้อยคำตามตัวบทกฎหมายแล้ว บทบัญญัติก็กำหนดเพียงแต่ว่า หากผู้กู้ยืมยังไม่ได้ ชำระหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้ก็ไม่สามารถฟ้องศาลเรียกเงินกู้ได้เท่านั้น สำหรับอัตราดอก เบี้ยตามสัญญากู้เงินที่ผู้ให้กู้จะสมารถเรียกได้ตามกฎหมายนั้น โดยปรกติหาก เป็นการกู้ยืมเงินในระหว่างประชาชนคนธรรมดาด้วยกันแล้ว การคิดดอกเบี้ยย่อม ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญา แต่ก็จะต้องไม่สูงเกินกว่าเพดานแห่งอัตรา ดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กล่าวคือ ไม่เกินร้อย ๑๕ ต่อปี หรือร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน รัฐบาลได้มีการวางนโยบายที่จะแก้ไขปัญหานี้อยู่บ้างกล่าวคือ ในสมัยที่ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในช่วงนั้น (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๘) กระทรวงมหาดไทยเปิดให้คนจนลงทะเบียนและคัดแยกประเภทปัญหา โดยส่ง เฉพาะปัญหาหนี้ต่าง ๆ ของประชาชนต่อให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงการ คลังได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนขึ้น ต่อมาในช่วงของ รัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้โดยมีนโยบายในการแก้ปัญหาหนี้ นอกระบบอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รัฐบาลโดยการนำของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาค ประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นภารกิจจำเป็นเพื่อช่วยเหลือให้ ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ ในระบบสถาบันการเงินในเครือข่ายของรัฐได้ง่ายขึ้น อันเป็นการช่วยลดภาระค่า ใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมากเกินปรกติ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอ สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและมีเงินเหลือออมในที่สุด ทั้งนี้สิ่งที่คาดหมายว่าจะได้รับ จากการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบคือประชาชนมีเงินเหลือเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย ที่จำเป็นหรือมีเงินคงเหลือไว้เพื่อเป็นการเก็บออม นอกจากนี้ โครงการนี้ยังรวมถึง โครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของผู้มีปัญหาหนี้สินให้มีความเข้มแข็งและสามารถ สร้างรายได้ที่มั่นคง มีการดำรงชีพภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงิน อันเป็น รากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ แต่โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบ นั้นดูเหมือนว่าจะยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคอยู่ไม่ว่าจะมองในเชิงของ ข้อเท็จจริงหรือในเชิงกฎหมาย จึงควรจะมีการบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อแก้ไขหรือ เพิ่มเติมเป็นการเฉพาะว่าลูกหนี้ในสัญญากู้ยืมเงินนั้นสามารถเป็นผู้เสียหายในทาง อาญาได้โดยไม่ถือว่าขาดคุณสมบัติการเป็นผู้เสียหายในทางนิตินัย ดังที่ปรากฏ เป็นแนวคำพิพากษาของศาลอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะทำให้กฎหมายสาร บัญญัติมีผลใช้บังคับได้โดยไม่จำเป็นต้องติดขัดในด้านของวิธีบัญญัติแล้ว ยัง เป็นการทำให้บรรลุเป้าหมายในการคุ้มครองลูกหนี้ผู้กู้ยืมตามเจตนารมณ์แห่งการ บัญญัติกฎหมายฉบับนี้อีกด้วย นอกจากการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังที่ได้เสนอ แนะมาแล้วในข้างต้น ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลควรที่จะดำเนิน นโยบายให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนด้วยการจัดหาแหล่งเงินกู้ที่มีระดับความ เข้มงวดในการปล่อยหนี้เงินกู้ที่ต่ำกว่าระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลักในการคิด คำนวณดอกเบี้ยก็ไม่ควรจะสูงมากนัก โดยธนาคารของรัฐหรือแหล่งที่รัฐจัดหา เพื่อการปล่อยเงินกู้นั้นควรที่จะคำนึงถึงสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศตามหลัก การทางเศรษฐศาสตร์ด้วย เพราะหากปล่อยให้เกิดหนี้นอกระบบแล้วการแก้ไข ปัญหาอันเกิดจากหนี้นอกระบบนั้นอาจจะมิใช่หนทางที่ถูกต้องเพราะมิใช่การแก้ ปัญหาที่ต้นเหตุ ถึงแม้ว่าจะเป็นหนทางที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อยู่ ไม่น้อยก็ตาม นอกจากการจัดหาแหล่งเงินกู้ที่มีลักษณะพิเศษดังที่ได้กล่าวข้างต้น แล้ว รัฐควรที่จะดำเนินนโยบายในการเสริมสร้างสวัสดิการให้มีความครบครันและ เพียบพร้อมเหมาะสมกับประชาชนทุกระดับ โดยให้สามารถเข้าถึงได้ในทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ ตัวอย่างของสวัสดิการที่รัฐควรจะจัดให้มีหรือส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น เช่น สวัสดิการในการรักษาพยาบาล สวัสดิการสำหรับผู้มีร่างกายพิการหรือผู้สูงอายุ เพราะเมื่อประชาชนได้รับสวัสดิการเหล่านี้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพแล้วก็จะ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในส่วนนี้อีก นโยบายเช่นนี้จึงน่า จะช่วยแก้ปัญหาการเป็นหนี้สินได้อีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีความ สำคัญที่สุดที่จะช่วยป้องกันปัญหาเรื่องหนี้สินนอกระบบคือ การที่ประชาชนนั้น สามารถดำเนินชีวิตของตนเองได้ โดยรู้จักประมาณตนและมีความเพียงพอในการ จับจ่ายใช้สอย เพื่อมิให้เกิดความต้องการหรือความจำเป็นในการกู้หนี้ยืมสิน ทั้งนี้ รัฐบาล ควรจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศ น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็น แนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการปลูกฝังให้คนไทยมีความพอ เพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ และรู้จักประมาณตน ตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สันทัด โรจนสุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “มาตรฐาน Global G.A.P.” ความโดยสรุปว่า มาตรฐาน Global G.A.P. เน้นผลิตผลที่เป็นสิ่งที่ออกจากฟาร์ม ส่วนใหญ่จะเป็นอาหาร ผัก ผลไม้ กาแฟ ชา ปศุสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำ ตลอดจนไม้ดอกและไม้ประดับ และมาตรฐานการผลิต อาหารสัตว์ เริ่มต้นมาจากมาตรฐานยุโรปที่เรียกว่า EUREPGAP ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับทั่วโลกมากกว่ามาตรฐานใด ๆ ดังนั้น มาตรฐาน Global G.A.P. จึง เป็นมาตรฐานอ้างอิงสำหรับตลาดโลก ปัจจุบันมีประเทศกว่า ๘๐ ประเทศในทุก ทวีป การออกมาตรฐานใบรับรองจะออกโดยหน่วยงานอิสระ ปรับให้เหมาะสมกับ แต่ละภูมิภาค จะมีการตอบสอบประจำปีและจะไม่มีการแจ้งล่วงหน้าก่อนตรวจ รากฐานที่สำคัญ คือ GAP (Good Agricultural Practice) หรือระบบเพาะปลูก ที่ดี เป็นระบบการจัดการด้านการผลิตทางการเกษตรที่มีความสำคัญ มีการผลิตที่ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง โดยมีแหล่งน้ำและพื้นที่เพาะปลูกที่ดี ใช้สารเคมี อย่างปลอดภัย มีการเก็บรักษาและขนย้ายผลิตผลที่ดี ผลิตให้ปลอดศัตรูพืช มี คุณภาพดี ดูแลการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว และมีการบันทึกข้อมูลตลอดจน ระบบตรวจสอบที่เหมาะสม ระบบ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) เป็นการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤติ ในกระบวนการผลิตอาหารระบบนี้ ใช้กำหนดและป้องกันอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพที่อาจมีอยู่ในอาหาร ตลอดกระบวนการผลิต ระบบ GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นระบบที่ควบคุมการ ผลิตอาหาร ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ตลอดจนกระบวนการคัดบรรจุ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=