2687_3509

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เราจะลดความก้าวร้าวได้อย่างไร? ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เสนอให้ควบคุม ความก้าวร้าวโดยใช้การต่อต้านตัวแปรที่ยั่วยุโดยการลดการกระตุ้นที่ไม่ดี (aversive stimulation) ด้วยการให้รางวัลและสร้างตัวแบบที่ไม่ก้าวร้าว และโดย การส่งเสริมการมีปฏิกิริยาที่ไม่เข้ากับความก้าวร้าว อย่างไรก็ตาม มีตัวอย่างของ การใช้ทฤษฎี Catharsis ที่ได้ผลคือ สังคมอินเดียที่ใช้วิธีนี้สร้างพฤติกรรมและ เจตคติแบบอหิงสา ตามที่ทราบอยู่แล้วว่าท่านมหาตมา คานธี เป็นมหาบุรุษที่ เป็นต้นแบบของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียที่อยู่ภายใต้การปกครองของ อังกฤษด้วยวิธีอหิงสา และสังคมอินเดียก็เป็นสังคมที่ค่อนข้างสงบ มีการทำ สงครามน้อยครั้ง ชาวอินเดียที่เป็นมังสวิรัติก็มีจำนวนไม่น้อย เป็นสังคมที่ค่อนข้าง จะไม่มีความรุนแรงมากเมื่อเทียบกับสังคมอื่น เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนีสมัย สงครามโลกครั้งที่ ๒ ทฤษฎี Catharsis มีความเชื่อว่าเราสามารถลดความ ก้าวร้าวโดยการให้ระบายความก้าวร้าวออก ด้วยวิธีแสดงความก้าวร้าวหรือชมผู้ อื่นแสดงความก้าวร้าว เช่น ดูมวย ดูหนัง แต่ในทางจิตวิทยาสังคมพบว่า การ แสดงความก้าวร้าวและยิ่งดูคนอื่นแสดงความก้าวร้าวทำให้คนยิ่งก้าวร้าวขึ้น กรณีของอินเดียเป็นกรณีที่แสดงว่าทฤษฎี Catharsis ใช้ได้ผล เพราะสังคม อินเดียมีการแสดงละครที่เกี่ยวกับสงครามหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง มหาภาร ตะ ภควัทคีตา หรือรามเกียรติ์ คนอินเดียจำนวนมากดูละครที่เกี่ยวกับสงครามจน แทบเรียกได้ว่าจำจนขึ้นใจ จุดเด่นของสงครามมหากาพย์ของอินเดียคือ อินเดียใช้เรื่องราวในการทำสงครามสอนศีลธรรมให้แก่ชาวอินเดีย ในภควัทคีตา พระกฤษณะใช้วิธีสนทนาธรรมกับอรชุน เพื่อกระตุ้นให้อรชุนทำหน้าที่นักรบต่อสู้ กับญาติซึ่งผิดศีลธรรม แต่ในระหว่างการสนทนาธรรม พระกฤษณะสอนศีลธรรม อย่างลึกซึ้งแก่ชาวอินเดีย อินเดียจึงมีวัฒนธรรมที่ใช้ religiotainment หรือศาสน- บันเทิงในการสอนประชาชนให้บรรลุธรรม ซึ่งได้ผลดีมาก ชาวอินเดียรักสัตว์ รัก สันติ มีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมอหิงสา ท่านมหาตมา คานธี เป็นผู้ที่อ่าน ภควัทคีตาตลอดเวลาที่ต่อสู้กับรัฐบาลอังกฤษด้วยวิธีอหิงสา ดังนั้น บทเรียนจาก อินเดียคือ การใช้วิธีผูกเรื่องในสงครามแล้วใช้ความบันเทิงสอนศีลธรรม • วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยาย เรื่อง “เหลียวหลังแลหน้าสังคมเศรษฐกิจไทย : วิกฤตการณ์ของปัญหาและ ทางออก” ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยเคยเป็นสังคมที่มีความสงบสุข เป็นสังคม ที่มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แม้ว่าการพัฒนาการทางเศรษฐกิจจะ อยู่ในขั้นล้าหลังอยู่บ้างก็ตาม แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและสังคมที่มี ความสงบสุขก็สามารถเลี้ยงประชากรทั้งประเทศให้มีความร่มเย็นสงบสุขได้ อย่างไรก็ตาม หลัง พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา จำนวนประชากรของไทยได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ จากจำนวนประมาณ ๑๘ ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น ๓๕ ล้าน คนใน พ.ศ. ๒๕๑๓ และ ๕๖ ล้านคนใน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งในระยะหลังจำนวน ประชากรได้เพิ่มในอัตราที่ชะลอตัว และมีประมาณ ๖๓ ล้านคนใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในด้านของการพัฒนา กระทรวงเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ใช้ระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยมแบบเปิดกว้าง ซึ่งได้ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็ต้องพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น และเผชิญปัญหาความผันผวนทางเศรษฐกิจมากขึ้น ในด้านของชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนพบว่ามีความแตกต่างกันมากขึ้น เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมใน การกระจายรายได้และเกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น โดยมีประเด็น สำคัญคือ ๑. การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุลและปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่ เป็นธรรมในสังคม ๒. ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารกับความต้องการมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนและปัญหาความขัดแย้งในสังคม ๓. ปัญหาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมกับปัญหาคุณภาพ ของนักการเมืองและคุณภาพของประชากร ๔. บทบาทของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมและความขัดแย้งใน สังคม การหาทางออกจากวิกฤตการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นต้องเน้นเฉพาะการ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือ ๑. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้น ประกอบด้วย สร้างเสถียรภาพ ทางการเมือง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการส่งออก กระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศ ใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ๒. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบด้วย สร้างระบบการแข่ง ขันทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการ ส่งออกและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเน้นฐานการผลิต เน้น ด้านการศึกษา และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างโครงสร้าง พื้นฐานทางสังคมให้เข้มแข็ง โดยเน้นด้านการศึกษา และด้านวินัย คุณธรรม ความดี เน้นผลประโยชน์ของสังคมเป็นหลัก ปฏิรูประบบการเก็บภาษีที่เป็น ธรรมควบคู่กับการจัดระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงมาปรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาความต้องการ ขั้นพื้นฐานของประชาชนมากกว่าคำนึงถึงเพียงความเจริญเติบโตในอัตราที่สูงและ การพึ่งพาเศรษฐกิจต่างประเทศ อนึ่งหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาอยู่ที่คุณภาพ ของผู้นำและคุณภาพของประชากร ในขณะเดียวกันการสร้างความอยู่ดีกินดีและ ความสงบในสังคมขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แนวทาง ในการแก้ปัญหามีดังนี้ ๑. พัฒนาคุณภาพของประชากรให้เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน ของนักการเมืองและข้าราชการด้วยการสร้างระบบธรรมาภิบาลทั้งในภาครัฐและ ภาคเอกชน ๒. สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และมี การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม พัฒนาความสามารถทางเศรษฐกิจด้วยการแข่งขัน ที่เป็นธรรม มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้มีขีดความสามารถใน การแข่งขันกับต่างประเทศ ลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๓. มีระบบการกำหนดอัตราผลตอบแทนหรือราคาปัจจัยการผลิตที่เป็นธรรม การกระจายความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จาก ปัจจัยการผลิตอย่างเป็นธรรม เช่น การปฏิรูปที่ดิน การถือครองที่ดินในรูปของ โฉนดชุมชน ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจ มีระบบภาษีและการใช้จ่ายของรัฐที่ เป็นธรรม ๔. สร้างระบบสังคมที่มีความเอื้ออาทรและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มี ระบบรัฐสวัสดิการที่ช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สร้างระบบรัฐสวัสดิการที่ มีประสิทธิภาพและขจัดการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไปได้นั้น ใน ระยะแรกจะต้องเริ่มด้วยระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ มีผู้นำที่มีคุณภาพ มีหลัก ธรรมาภิบาลในการทำงานและมีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ในขณะ เดียวกันประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย ถ้าเรา สามารถยกระดับคุณภาพของพลเมืองให้สูงขึ้นตามแนวทางที่กล่าวมาแล้ว คุณภาพของพลเมืองจะเป็นพลังสำคัญในการแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองของประเทศ ความหวังจะอยู่กับเด็กและคนรุ่นต่อไป ถ้าเราเริ่มต้นในวัน นี้ภายในระยะเวลา ๒๕ ปี ข้างหน้า เราก็จะได้เห็นสังคมไทยที่มีความเข้มแข็งและ มีความร่มเย็นสงบสุข ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “ปัญหาหนี้นอกระบบในสังคม ไทย” ความโดยสรุปว่า สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ในช่วงที่กำลังประสบปัญหา มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ปัญหา เหล่านี้แตกแขนงออกไปเป็นปัญหาย่อยให้รัฐบาลต้องตามแก้ไขอยู่เป็นจำนวนมาก หนึ่งในบรรดาปัญหาที่รัฐบาลกำลังพยายามดำเนินการแก้ไขอยู่คือปัญหาหนี้ นอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความยากจนของประชาชน และนำมาซึ่ง ปัญหาอื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา เรื่องที่เกี่ยว กับการทำร้ายร่างกาย ปัญหานี้มิใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่แต่อย่างใด หากแต่เป็น ปัญหาที่มีอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีการนำมากล่าวถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=