2687_3509
3 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๓๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “มิติทางสังคมและวัฒนธรรมแห่งความรุนแรง” ความโดยสรุปว่า สิ่งที่เรียกว่า เป็นความรุนแรงนั้นมีความหมายกว้าง ครอบคลุมการกระทำ หรือการไม่กระทำ มากมาย ที่มีผลหรือน่าจะมีผล ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาวะทางกาย จิตใจ ชีวิต รวมถึงพัฒนาการ และสิทธิที่พึงมีพึงได้ของผู้ถูกทำ หรือของตัวผู้ทำความ รุนแรงเอง ในรายงานระดับโลกว่าด้วยความรุนแรงกับสุขภาพ องค์การอนามัย โลก ให้ความหมายความรุนแรงไว้อย่างครอบคลุม ว่า คือ “การใช้กำลังหรือ อำนาจ ที่บุคคลจงใจกระทำต่อตัวเอง ต่อผู้อื่น หรือต่อกลุ่มคนหรือชุมชน และ การกระทำเช่นนั้นได้ก่อให้เกิด หรือน่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต จิตใจ หรือทำให้เกิดพัฒนาการที่ผิดเพี้ยนไป หรือเป็นการลิดรอนสิทธิอันพึงมีของผู้อื่น การใช้กำลังนั้น ไม่ว่าจะลงมือทำจริง ๆ หรือเพียงแค่ขู่ว่าจะทำ ก็ถือเป็นความ รุนแรงด้วย” ความรุนแรงนั้นมีหลายรูปหลายแบบ แต่เราอาจจำแนกง่าย ๆ ตามประเภท ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) ความรุนแรงที่บุคคลทำต่อตนเอง เช่น การฆ่าตัวตาย การทำร้ายตัวเอง ด้วยประการต่าง ๆ (๒) ความรุนแรงระหว่างบุคคลหรือที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การทะเลาะวิวาทระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ความรุนแรงทางเพศ ความ รุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในหน่วยงาน (๓) ความรุนแรงที่เกี่ยวกับกลุ่มคน เช่น การต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ หรือระหว่างกลุ่มชนที่มีอุดมคติทางการเมือง ศาสนา หรือวัฒนธรรมต่างกัน ความรุนแรงแต่ละประเภทที่กล่าวข้างต้น เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงรูป แบบต่าง ๆ ต่อไปนี้ ๑. ความรุนแรงทางร่างกาย ได้แก่ การทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นให้ได้รับบาด เจ็บทางร่างกาย หรือเสียชีวิต ๒. ความรุนแรงทางเพศ หมายถึง การกระทำที่มีเป้าหมายทางเพศทุกอย่างที่ ผู้ตกเป็นเหยื่อไม่ได้เต็มใจ หรือไม่ยินยอม ไม่ว่าจะเป็นการลวนลามด้วยประการ ต่าง ๆ หรือการหว่านล้อม ล่อลวง หรือใช้กำลังบังคับเพื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็ตาม รวมถึงการทำให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การบังคับค้าประเวณี การกดขี่กีดกัน ๓. ความรุนแรงทางจิตใจ ได้แก่ การพูด การกระทำ (หรือไม่ทำ) ด้วยประการ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ วิตกกังวล เครียด หรือซึมเศร้า ๔. การลิดรอนสิทธิ ด้วยการเลือกปฏิบัติ หรือปิดกั้นบุคคลจากการมีหรือ การใช้สิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขา มาตรการแก้ปัญหาความรุนแรงที่มีประสิทธิภาพ ควรเป็นมาตรการที่เป็น องค์รวม ให้ความสำคัญแก่ปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง ตั้งแต่ระดับบุคคล ความสัมพันธ์ ชุมชน ไปจนถึงระดับสังคมและวัฒนธรรมไปพร้อมกัน ดังนี้ ๑. ระดับบุคคล ควรมีจุดมุ่งหมายหลักอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ประการ แรก ควรมุ่งปลูกฝังทัศนคติและพฤติกรรมที่ไม่รุนแรงในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นทั่วไป เพื่อพวกเขาจะได้ไม่เป็นผู้กระทำความรุนแรง ทั้งต่อผู้อื่นและต่อตัวเอง ขณะ เดียวกันก็จะได้มีทักษะในการหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้ สิ่งหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ มากในระดับบุคคลนี้คือ การสร้างทัศนคติแบบเข้าใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจ เรา และมองคนอื่นในแง่ดี ทัศนคติเช่นนี้จะช่วยลดความขัดแย้ง และยอมรับ ความแตกต่างของคนอื่นได้ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้งและ ความรุนแรง ประการที่ ๒ ควรมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่บุคลที่ตกอยู่ในภาวะ ความรุนแรงหรือเสี่ยงต่อความรุนแรง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งในฐานะผู้ก่อและ ผู้รับผลของความรุนแรง มาตรการนี้อาจต้องการบุคคลหรือหน่วยงานที่ผู้มี เชี่ยวชาญในด้านการจัดการความรุนแรงโดยเฉพาะ ๒. ระดับความสัมพันธ์ ควรมุ่งให้คนรู้จักสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับ คนรอบข้าง ในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัว ในโรงเรียน และสถานที่ ทำงาน นอกจากนี้ ควรเน้นกิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนละ เลิก อบายมุข ยา เสพติด และการดื่มสุรา เพราะมีการศึกษาจำนวนมากชี้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ นำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว ๓. ระดับชุมชน ควรมุ่งทำให้คนในชุมชนตระหนักในภัยคุกคามจากความ รุนแรง ให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ และ เฝ้าระวังไม่ให้โอกาสที่ความรุนแรงในรูปของอาชญากรรม หรือการทะเลาะวิวาท จะเกิดขึ้นได้ รูปแบบของกิจกรรมอาจเป็นการรณรงค์เพื่อให้การศึกษาแก่ ประชาชนในชุมชน โดยใช้สื่อมวลชนที่มีอยู่ ดำเนินการลดปัจจัยเสี่ยงและพื้นที่ เสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรง เช่น สถานบันเทิง บ่อน และแหล่งอบายมุขต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็เพิ่มพื้นที่ดี เช่น สวนสาธารณะ ห้องสมุด สนามกีฬา จัดให้มีการ เฝ้าระวังความรุนแรงโดยคนในชุมชนร่วมมือกัน และให้มีกลไกภายในสังคมเพื่อ จัดการความขัดแย้งทุกระดับ โดยใช้หลักสมานฉันท์เป็นสำคัญ ๔. ระดับสังคมวัฒนธรรม ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อการขับเคลื่อนสู่ สังคมที่ไร้ความรุนแรง ลดความความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง การขับเคลื่อน ในระดับมหภาคเช่นนี้จะต้องประสานพลังจาก ๓ ด้านไปพร้อมกัน คือ การขับ เคลื่อนความรู้ การขับเคลื่อนนโยบาย และการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรม • วันพุธที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์นพมาศ อุ้งพระ ภาคี สมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา บรรยายเรื่อง “ความก้าวร้าว : การทำร้ายผู้อื่นและพฤติกรรมต่อต้านสังคม” ความโดยสรุปว่า ความก้าวร้าวมีการแสดงออก ๒ รูปแบบ คือ ความก้าวร้าวเพราะรู้สึกเป็นศัตรู (hostile aggression) ซึ่งเกิดจากอารมณ์ เช่น ความโกรธ และความตั้งใจที่จะ ทำร้าย และความก้าวร้าวเพื่อเป้าหมายอื่น (instrumental aggression) ซึ่งเป็น ช่องทางสู่เป้าหมายอื่น มีทฤษฎีเกี่ยวกับความก้าวร้าวกว้าง ๆ ๓ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีสัญชาตญาณ (instinct) ซึ่งเป็นความคิดของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) และคอนราด ลอเรนซ์ (Konrad Lorenz) ซึ่งเสนอว่าพลังความก้าวร้าว จะสะสมจากภายในเหมือนน้ำสะสมหลังเขื่อน แม้มีหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีน้อย แต่ความก้าวร้าวก็ถูกภาวะทางชีวภาพกระทบโดยการสืบทอดทางยีน โดยเคมีใน เลือดและโดยสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีที่ ๒ คือ ความคับข้องใจ (frustration) ซึ่งทำให้เกิดความโกรธและความรู้สึกเป็นศัตรู ถ้ามีสัญญาณความก้าวร้าว ความ โกรธดังกล่าวจะยั่วให้ก้าวร้าว ความคับแค้นมิได้เกิดจากตัวความขาดแคลน (deprivation) เอง แต่เกิดจากช่องว่างระหว่างความคาดหวังและผลที่ได้หรือ ความสำเร็จ หวังมากและไม่สมหวังทำให้คนต่อต้านมากกว่าไม่หวังและไม่ได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (social learning) ถือว่าความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรม ที่เรียนรู้มา โดยอาศัยประสบการณ์และการสังเกตคนอื่นว่าสำเร็จหรือไม่ บางครั้ง เราได้เรียนรู้ว่าความก้าวร้าวสร้างผลดี การเรียนรู้ทางสังคมทำให้ครอบครัว วัฒนธรรมย่อย และสื่อมีอิทธิพลต่อความก้าวร้าว จากการศึกษาด้วยวิธีหาสหสัมพันธ์ (correlational) และการทดลอง (experimental) ได้ผลตรงกัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ความรุนแรงจะพิจารณาจาก (๑) สร้างพฤติกรรมให้รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่คนที่ถูกยั่วยุ (๒) ลดความ ไวของความรู้สึก (desensitizes) ทำให้ชินชาต่อความก้าวร้าว และเปลี่ยนการรับ รู้ความเป็นจริง ผลที่ได้ ๒ ประเด็นนี้มีความคล้ายกับผลการวิจัยเกี่ยวกับการดูสื่อ ลามกรุนแรง ซึ่งสามารถเพิ่มความรุนแรงของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง และบิดเบือน การรับรู้ปฏิกิริยาของผู้หญิงที่มีต่อการถูกบังคับทางเพศ ความก้าวร้าวเป็นจำนวน มากกระทำโดยกลุ่มคน เหตุการณ์ที่ยั่วยุบุคคลสามารถยั่วยุกลุ่มด้วย กลุ่มเพิ่ม ความก้าวร้าวโดยการกระจายความรับผิดชอบ (diffusing responsibility) และ ทำให้พฤติกรรมรุนแรงสุดโต่งขึ้น (polarizing action)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=