1574_5157
7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๖ เดือนมีนาคม ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีรูปร่างต่าง ๆ กันออกไป ตั้งแต่วงกลมจนถึงพระจันทร์เสี้ยว สระอีก็ยังคงถือ หลักเติมขีดด้านบนของสระอิ ส่วนสระอึกับสระอืไม่มีตัวอย่าง รูปร่างของสระในสมัยอยุธยาตอนกลาง ในสมัยอยุธยาตอนกลาง รูป ร่างของสระได้กลับไปเหมือนกับสมัยสุโขทัย คือหางตวัดลง สระอายังไม่ต่างออก ไปมากนัก สระอิได้เปลี่ยนไปจนกลายเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวที่ด้านซ้ายยกขึ้น ประมาณ ๔๕ องศา สระอีมีขีดหนึ่งขีดตรงกลางด้านบน สระอึมีวงกลมเล็กอยู่ ตรงกลางด้านบน และสระอืมีขีดสองขีดตรงกลางด้านบน รูปร่างของสระในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยอยุธยาตอนปลาย หาง ของสระอะได้ตวัดขึ้นเหมือนกับรูปปัจจุบัน สระอาก็ปรับรูปให้เส้นเอียงเพียงเล็ก น้อย รูปร่างของสระอิ สระอี สระอึ สระอืมิได้ต่างไปจากสมัยอยุธยาตอนกลาง มากนัก แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ขีดสองขีดเหนือสระอืค่อย ๆ เลื่อนลงมาทางขวา กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ รูปร่างของสระทั้ง ๖ เริ่มคงที่ รูปร่างของสระในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถึงแม้รูปร่างจะไม่ต่างออกไปจากสมัยอยุธยาตอนปลายมากนัก แต่ก็สังเกตเห็น ได้ว่า ขีดสองขีดบนสระอืค่อย ๆ เลื่อนไปทางขวาจนขีดด้านขวาพ้นจากรูป พระจันทร์เสี้ยว การประกอบรูปสระ รูปร่างของสระอี สระอึ สระอื ที่เกิดจากการเติม สัญลักษณ์ลงไปบนสระอินี้ สอดคล้องกับที่ พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้กล่าวไว้ใน หนังสืออักขรวิธี ว่า รูปสระนั้นบางทีก็ใช้รูปเดียวเป็นสระหนึ่ง บางทีก็ใช้หลาย รูปประสมกัน รวมแล้วมี ๒๑ รูป นั่นคือ สระอิ + ฝนทอง (ขีด ๑ ขีด) = สระอี สระอิ + นฤคหิต (รูปวงกลม) = สระอึ สระอิ + ฟันหนู (ขีด ๒ ขีด) = สระอื ซึ่ง สอดคล้องกับการประกอบรูปสระอี สระอึ และสระอื นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตัวพิมพ์ในยุคแรก เมื่อเริ่มมีการพิมพ์รูปร่างของอักษรไทย รวมทั้งสระอะ สระอา สระอิ สระอี สระอึ สระอื ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักสร้างตัวพิมพ์ และ นักสร้างฟอนต์ในยุคต่อ ๆ มา ดังที่ปรากฏว่า ในหนังสือ Bangkok Recorder นั้น เครื่องหมายขีด ๑ ขีดบนสระอี เครื่องหมายวงกลมบนสระอึ และ เครื่องหมายขีด ๒ ขีดบนสระอื ยังอยู่ตรงกึ่งกลางเหนือรูปสระอิ ลายมือในยุคที่เริ่มมีตัวพิมพ์ ในด้านลายมือเขียนของคนในยุคเริ่มการ พิมพ์ เครื่องหมายเหนือสระอิอาจจะเลื่อนไปทางขวาจนถึงพ้นรูปพระจันทร์เสี้ยว ไปบ้างก็ได้ ดังในลายพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในลายพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งที่เห็นได้ ชัดจากภาพลายพระราชหัตถ์ก็คือลักษณะอันไม่คงที่ของเครื่องหมายขีด ๒ ขีด บนรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือรูปสระอื ซึ่งบางครั้งก็อยู่ทางด้านขวาสุด บางครั้งก็ ล้ำออกไปทางขวา ทำให้ขีดหนึ่งยังเกาะอยู่บนรูปพระจันทร์เสี้ยวเหมือนรูปสระอี แต่อีกขีดหนึ่งล้ำออกไปทางขวา ซึ่งเป็นลักษณะธรรมดาของลายมือเขียนที่ไม่ถูก บังคับให้ “แช่แข็ง” เหมือนตัวพิมพ์หรือฟอนต์ในยุคหลัง ๆ การสร้างตัวพิมพ์ในยุคหลัง ในช่วงระยะ พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๑๐ ศูนย์พัฒนา หนังสือโตเกียว (Tokyo Book Development Center) ด้วยความร่วมมือของยู เนสโก ได้ให้ทุนเพื่อพัฒนาตัวพิมพ์ของประเทศที่ไม่ใช้อักษรโรมัน กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้ส่งข้าราชการไปร่วมอบรมและออกแบบด้วย จนได้ตัว พิมพ์ไทยที่ให้ชื่อว่าตัวยูเนสโก ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์ได้พัฒนาขึ้น การ สร้างตัวพิมพ์ก็พัฒนาต่อไปอีก จนมีรูปแบบมากมาย มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๕–๒๕๓๙ ราชบัณฑิตยสถานได้มอบหมายให้ คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การใช้ภาษาไทย พิจารณาร่างหลักเกณฑ์โครงสร้างของตัวอักษรไทยขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการนำวิธีพิมพ์เข้ามาใช้ ก็มีการประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นโดย อาศัยรูปแบบตัวเขียนของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาปรับปรุงเป็นตัวพิมพ์อักษร ไทย ซึ่งใช้ได้ทั้งการเขียนด้วยมือและการพิมพ์ด้วยเครื่อง แม้ตัวเขียนและตัว พิมพ์อักษรไทยจะมีใช้แพร่หลายในการเรียนการสอนและการสื่อสารอย่างเป็น ทางการแล้ว แต่ตัวเขียนดังกล่าวก็มิได้มีผู้ใดกำหนดหลักเกณฑ์โครงสร้างของรูป แบบและลักษณะให้ลงตัวเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับใช้เป็นแบบแผนทั่ว ประเทศ ในที่สุดราชบัณฑิตยสถานก็ได้จัดพิมพ์หนังสือ มาตรฐานโครงสร้างตัว อักษรไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ บทสรุป สระอะ สระอา สระอิ สระอี สระอึ สระอื ได้ผ่านความเปลี่ยนแป ลงมานับร้อยปี กว่าที่จะมีรูปร่างตามที่ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดไว้ อย่างไร ก็ตามรูปร่างดังกล่าวเป็นรูปร่างที่ถูกกำหนดบังคับเพื่อการพิมพ์ ผู้ที่เขียนลายมือ อาจจะมิได้เขียนตามแบบดังกล่าวก็ได้ ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคกรรม บรรยายเรื่อง “ ตำราทฤษฎีการประสานเสียงอายุเกือบ สามศตวรรษ ” ความโดยสรุปว่า ทฤษฎีการประสานเสียงในระบบอิงกุญแจเสียง มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และยังเป็นระบบการประสานเสียงที่แพร่หลาย มากที่สุดในปัจจุบัน ในระหว่างช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากระบบอิงโมดไปเป็น ระบบอิงกุญแจเสียง นักทฤษฎีดนตรีหลายคนพยายามอธิบายทฤษฎีการ ประสานเสียงของตนนำเสนอต่อสาธารณชน นักทฤษฎีดนตรีชั้นนำคนหนึ่งที่ เขียนตำราและบทความ เป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีดนตรีในกระแสการเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่นี้ คือ ชอง-ฟิลีป ราโม (Jean-Philippe Rameau; ค.ศ. ๑๖๘๓ – ๑๗๔๖) ชาวฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. ๑๗๒๒ ชอง-ฟิลีป ราโม ได้ตีพิมพ์ตำราทฤษฎีการประสานเสียง เล่มสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ชื่อ Traité de l’harmonie (Treatise on Harmony) ปัจจุบันตำราสำคัญเล่มนี้มีอายุถึง ๒๘๘ ปีหรือเกือบสามศตวรรษ ประกอบด้วย ๔ เล่ม เล่มที่ ๒ เป็นเล่มที่สำคัญที่สุดซึ่ง ว่าด้วยเรื่องทฤษฎีการประสานเสียงโดยตรง ราโมเป็นผู้ปฏิวัติทฤษฎีดนตรีและเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับกฎพื้นฐาน ของทฤษฎีเสียงประสาน ราโมสามารถบูรณาการความรู้ด้านคณิตศาสตร์มาคิด วิเคราะห์ให้เกิดกฎเกณฑ์อย่างมีเหตุผลแบบธรรมชาติ ผสมผสานกับแง่มุมเชิง ปรัชญา ฟิลิป กอสเซท (Philip Gossett; ค.ศ. ๑๙๔๑) ศาสตราจารย์ดนตรีจาก มหาวิทยาลัยชิคาโก ผู้แปลตำราเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. ๑๙๗๑ กล่าว ไว้ในคำนำตอนหนึ่งว่า ตำราเล่มนี้เป็นตำราเล่มแรกที่มีเนื้อหาพื้นฐานด้านการ ประสานเสียงที่ดีที่สุด ราโมได้สร้างทฤษฎีระบบอิงกุญแจเสียงซึ่งยังคงอยู่เป็นพื้น ฐานสำคัญในดนตรีตะวันตกในช่วงเกือบสามศตวรรษที่ผ่านมา ในช่วงเวลาที่ราโมเขียนตำราดังกล่าวเมื่อเกือบ ๓๐๐ ปีที่แล้ว ระบบเสียง ประสานยังไม่ลงตัว ยังหาข้อสรุปไม่ได้ หรือหาข้อสรุปได้แบบไม่มีตรรกะรองรับ เพียงพอและมีบางจุดที่เข้าใจคลาดเคลื่อนจากหลักทฤษฎีในปัจจุบัน ในเวลาต่อ มาตำรา Traité de l’harmonie ถูกวิพากษ์ว่าทฤษฎีเสียงประสานบางประเด็น ไม่มีเหตุผล และขัดแย้งกับทฤษฎีเสียงประสานในยุคหลัง บ้างก็ว่าเป็นตำราที่มี ข้อบกพร่องมาก แต่ก็เป็นตำราที่ดีที่สุดแล้วในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม ในวงการ วิชาการด้านดนตรีทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบันก็ยังยอมรับถึงคุณค่าของตำราเล่ม นี้ในแง่ประวัติศาสตร์ เนื่องจากเนื้อหาแสดงการค้นพบเสียงประสานที่สืบทอดมา เป็นเสียงประสานในระบบอิงกุญแจเสียงที่สมบูรณ์แบบที่ใช้มาจนทุกวันนี้ และ ตำราเล่มนี้ก็ได้รับการอ้างอิงมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=