1574_5157

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ในฐานะที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ณ ภาคกลางของประเทศ ประสงค์ที่จะได้กลุ่ม อาคารเรือนไทยที่เป็นไม้สักทองผสานกับคอนกรีตเสริมเหล็ก และวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกลมกลืน เพื่อความงดงามและความคงทนถาวรเพื่อให้เป็น อาคารพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาทุกสาขา ภูมิปัญญาทุกภูมิภาค ภูมิ ปัญญาที่ครอบคลุมพัฒนาการของสังคมไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ กลุ่มอาคารเรือนไทยชุดเก้าแห่งนี้ใช้งบประมาณแผ่นดินและงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยร่วมกัน อาคารประมาณ ๓๕ ล้านบาท ถมดินและปรับภูมิทัศน์ ประมาณ ๑๐ ล้านบาท เครื่องเรือนและวัตถุภูมิปัญญาในเบื้องต้นประมาณ ๕ ล้านบาท รวมแล้วประมาณ ๕๐ ล้านบาท ประกอบด้วยพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ตาม จุดประสงค์ต่างกันไป ดังนี้ - พื้นที่ชั้นบนประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร เป็นอาคารทรงงานของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - หอสมุดภูมิปัญญาไทย หอนิทรรศการ ห้องประชุม ศาลากิจกรรม สำนักงาน สามารถใช้เป็นพื้นที่จัดงาน จัดสัมมนา จัดกิจกรรมต่าง ๆ - พื้นที่ชั้นล่างหรือใต้ถุนกั้นเป็นห้องกระจกมีเครื่องปรับอากาศ เป็นที่แสดง นิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย แสดงวัตถุภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ มีศาลาท่าน้ำ มี ประติมากรรม ชื่อ “นกคุ้ม” ของศิลปินแห่งชาติที่ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา คือ กมล ทัศนาญชลี ซึ่งได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ บริเวณโดยรอบจัดตกแต่งสภาพ ภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นและสวยงาม มองไปด้านหน้าจะเห็นหอพระพุทธภควาวิจิตร วันหนึ่งข้างหน้า ที่ต้นราชพฤกษ์และดอกไม้สีเหลืองเติบโตเต็มที่ ใคร ๆ ก็จะ แวะเวียนมาสู่อุทยานการเรียนรู้ “Yellow Campus” ในฤดูร้อนอย่างแน่นอน รองศาสตราจารย์ ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณ- ศิลป์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ภาษา (จงใจให้) กำกวม” ความโดย สรุปว่า ภาษาที่ใช้กันทั่วไปมักไม่สมบูรณ์... [Russell] is convinced that ordinary language is vague and ambiguous and users of ordinary language careless and confused in their thought and speech. R. Clack Bertrand Russell’s Philosophy of Language ความหมายไม่ชัดเจน ๒ ลักษณะ ๑. ความคลุมเครือ (vagueness) ความหมายไม่แน่ชัดพอ เช่น child “เด็ก” อาจหมายถึง “เด็กชาย” หรือ “เด็กหญิง” ๒. ความกำกวม (ambiguity) ความหมายมากกว่าหนึ่ง เช่น child “เด็ก” หรือ “บุตร” -lead “ตะกั่ว” หรือ “นำ” -bear “หมี” หรือ “แบกรับ” ความกำกวม ๒ ระดับ ๑. lexical ambiguity ความกำกวมระดับคำ ๑.๑ homonymy การที่คำต่างกันพ้องรูปกัน ๑.๑.๑ homography การพ้องรูปตัวเขียน เช่น lead “ตะกั่ว” และ “นำ” bear “หมี” และ “แบกรับ” ๑.๑.๒ homophony การพ้องเสียง เช่น sun “ดวงอาทิตย์” กับ son “บุตรชาย” ๑.๒ polysemy การที่คำเดียวกันมีหลายความหมาย จะถือว่าเป็นคำ เดียวกันที่มีหลายความหมายก็ต่อเมื่อความหมายเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กัน และ รูปคำมาจากแหล่งเดียวกัน เช่น ear “หู” “โสตประสาท” “ความใส่ใจฟัง” “หู (ถ้วย)” “ส่วนยอดของธัญพืช” ๒. structural ambiguity ความกำกวมระดับโครงสร้าง ๒.๑ ประโยคกำกวม - I spotted the man with a telescope. (I = S spotted = V the man= O with a telescope = A) - I spotted the man with a telescope. (I = S spotted = V the man with a telescope = O) ๒.๒ ความหมาย ๓ ระดับ ๒.๒.๑ ระดับที่ ๑ literal meaning ความหมายตามตัวอักษรโดยไม่คำนึงถึงบริบท เช่น That was the last bus. “นั่นคือรถบัสคันท้ายสุด” บริบทสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ ๑. คนขับรถบัสที่สถานีขนส่งหมอชิตตอบผู้โดยสารที่ถามว่ารถบัสคันไหนไปโคราช ๒. เพื่อนส่งข้อความตอบเพื่อนที่แจ้งมาว่าเพิ่งพลาดรถกลับโคราช เที่ยว ๒ ยาม ๒.๒.๒ ระดับที่ ๒ explicature ความหมายตามตัวอักษร โดย นำบริบทมาประกอบด้วย เช่น That was the last bus. บริบทสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ ๑. “คันที่ [คุณถามถึง] คือคันล่าสุด [ที่เพิ่งออกไป]” ๒. “คันที่ [คุณเพิ่งพลาดไป] คือคันสุดท้าย [ของคืนนี้]” ๒.๒.๓ ระดับที่ ๓ implicature ความหมายที่ไม่ปรากฏในตัว อักษร แต่อนุมานจากความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันโดยอิงความหมาย ๒ ระดับแรก เช่น That was the last bus. บริบทสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ ๑. “คุณต้องรอคันหน้า” ๒. “คุณคงต้องค้างที่กรุงเทพฯ แล้วล่ะ” ความกำกวมโดยจงใจ บางครั้งผู้ใช้ภาษาก็จงใจให้ภาษาที่ใช้มีความกำกวม เกิด เป็น “ภาษาจงใจให้กำกวม” (intentionally ambiguous language) LIAR The L exicon of I ntentionally A mbiguous R ecommendations By Robert J. Thornton ตัวอย่างประโยค “ภาษาจงใจให้กำกวม” ซึ่งผู้บังคับบัญชาจำเป็นต้องเขียน รับรองความประพฤติผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่าง ๆ - ABSENTEEISM A man like him is hard to find. - ALCOHOL/DRUG PROBLEMS He once had an alcohol problem, but I understand that he doesn’t drink any more. - CHARACTER DEFECTS He’s an expert at considering multiple opinions. - CRIMINAL BACKGROUND He’s a man of many convictions. - DISAGREEABLENESS You won’t find many people like her. - DISHONESTY He left us with nearly one million dollars last year. - INCOMPETENCE He would always ask if there was anything he could do. - LAZINESS You’ll be very fortunate to get this person to work for you. • เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย บรรยายเรื่อง “รูปร่างของ อะ อา อิ อี อึ อื” ความโดยสรุปว่า รูปร่างของสระ ในสมัยสุโขทัย ในอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหง หางของสระอะคว่ำลงแทนที่จะ ตวัดขึ้นดังในปัจจุบัน ส่วนล่างของสระอาตวัดไปข้างหน้าเล็กน้อย สระอิมีรูปร่าง คล้ายวงกลม สระอีมีรูปร่างคล้ายสระอิและมีขีดตั้งตรงกลาง สระอืมีรูปร่างคล้าย สระอิและมีวงกลมตรงกลาง ส่วนสระอึยังไม่ปรากฏรูป ครั้นถึงสมัยหลังพ่อขุน รามคำแหง รูปร่างก็เปลี่ยนไปบ้าง สระอะยังคงเหมือนเดิม คือหางตวัดลง สระอา เริ่มมีรูปร่างคล้ายกับปัจจุบัน สระอิปรับรูปไปคล้ายเลขหนึ่งไทย สระอีเพิ่มขีดข้าง บนหนึ่งขีด สระอึเพิ่มวงกลมตรงกลาง ส่วนสระอืเพิ่มขีดด้านบนต่อจากสระอึ รูปร่างของสระในสมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยอยุธยาตอนต้น สระอะมีรูป ร่างที่แปลกออกไป กลายเป็นขีดหยัก ๆ คล้ายสระอุ แล้วขมวดหาง จนที่สุด กลายเป็นขีดสองขีดที่เชื่อมด้วยเส้นโค้งด้านบน สระอาเริ่มเป็นเส้นโค้ง สระอิเริ่ม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=