1574_5157
5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๖ เดือนมีนาคม ๒๕๕๓ หรือกรรมประเภทเดียวกันที่คนในสังคมเดียวกันแยกกันทำในคราวเดียวกันบ้าง ต่างคราวกันบ้าง แต่ผลที่เกิดขึ้นนอกจากมีผลแก่ตัวเองแล้ว ยังมีผลต่อสังคม ด้วย การเลือกตั้งเป็นกรรมหมู่ที่สำคัญ เพราะนอกจากมีการรวมตัวของนักการ เมืองตั้งเป็นกลุ่มที่เรียกว่า “พรรค” และแต่ละพรรคประกอบด้วยสมาชิกจำนวน มากแล้ว กิจกรรมสุดท้ายของการเลือกตั้งคือการได้คะแนนจากประชาชน เพราะฉะนั้นในการเลือกตั้งจะมีผู้ร่วมทำกรรมหมู่ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายนักการเมืองผู้ ต้องการคะแนน กับ ฝ่ายประชาชนผู้ให้คะแนน การเลือกตั้งในฐานะเป็นกรรม หมู่ที่ไม่ดีที่เกิดมาจาก ๑) นักการเมืองที่ไม่ดี ก็คือ นักการเมืองที่ทำงานการเมือง แบบมุ่งให้ตนเองได้ประโยชน์มากกว่าให้สังคมประเทศชาติได้ประโยชน์ จึงหา เสียงอย่างไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ซื้อเสียง แสวงหาความนิยมโดยการทำลายคู่แข่ง ขันด้วยการกล่าววจีทุจริต คือ การพูดเท็จใส่ร้าย พูดส่อเสียดยุยงให้แตกแยกกัน พูดคำหยาบคายด่าทอกัน พูดเลื่อนลอยไร้สาระ แต่กลับไม่ชูนโยบายไม่ชี้แจงให้ ประชาชนเข้าใจถึงผลดีในนโยบายของพรรคตนที่สังคมจะได้รับ หรือชูนโยบาย แต่เป็นนโยบายหลอก ๆ ที่ไม่ต้องการปฏิบัติให้เกิดผลจริง และ ๒) ประชาชนผู้ ให้คะแนนที่ไม่ดี ก็คือ ผู้ลงคะแนนด้วยความเชื่อตามคำชักจูงของนักการเมืองที่ ใช้วจีทุจริตเป็นตัวเรียกความนิยม ผลที่เกิดจากกรรมหมู่นี้พิจารณาได้ ๒ ทาง คือ ผลที่เกิดส่วนตัว ทำให้คนส่วนมากแต่ละคนได้ความรู้ผิด เกิดความเข้าใจผิด และคิดผิดไปตามข้อมูล เมื่อเกิดความเข้าใจผิดและคิดผิดคนเหล่านั้นก็ย่อมพูด ทำ และดำเนินชีวิตไปอย่างผิด ๆ ผลที่เกิดแก่สังคม คือ สังคมจะได้รับการ พัฒนาแบบผิด ๆ หรือบางทีอาจไม่ได้รับการพัฒนาใด ๆ เลย ซึ่งนำไปสู่การสูญ เสียความสุข ความสงบ ศักดิ์ศรี และบางทีถึงสูญเสียอิสรภาพ ผลที่เกิดแก่ สังคมจากการเลือกตั้งที่ผิดนั้นมีผลกระทบยาวและกว้างขวาง เพราะการเลือก ตั้งเป็นการเมืองที่สัมพันธ์กับระบบต่าง ๆ ในสังคม เนื่องจากระบบต่าง ๆ จะต้อง ดำเนินไปตามนโยบาย และนโยบายจะต้องมีนักการเมืองมาบริหาร และเมื่อ นักการเมืองที่มาบริหารเป็นนักการเมืองที่ไม่ดี เมื่อเกิดกรรมหมู่ที่ไม่ดีอย่างนี้ ก็ แสดงว่า นักการเมืองกับผู้ลงคะแนนร่วมกันทำบาปให้แก่สังคมและประเทศชาติ ซึ่งทำให้คนส่วนมากต้องได้รับผลแห่งบาปนั้นด้วย ไม่ว่าจะลงคะแนนให้หรือไม่ลง ก็ตาม เพราะอยู่ในฐานะเป็นผู้ร่วมสังคมร่วมประเทศชาติ. สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ ราช- บัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “การสังเคราะห์ซีโอไลต์ชนิด Na-X จากดินขาวธรรมชาติ” ความโดยสรุป ว่า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์ Na-x จากดินขาวธรรมชาติด้วยกระบวนการไฮโรเทอร์มัล โดยใช้ดินขาวที่มีสาร ประกอบของอะลูมิโนซิลิเกตเป็นวัตถุดิบ ขั้นตอนของการสังเคราะห์ซีโอไลต์ Na- x เริ่มจากการปรับปรุงคุณภาพของดินขาว จากนั้นนำดินขาวทำปฏิกิริยากับเบส และเข้าสู่กระบวนการไฮโดรเทอร์มัล ตัวแปรที่ศึกษา คือ อุณหภูมิไฮโดรเทอร์มัล และเวลาในการเกิดผลึก จากการสังเคราะห์ซีโอไลต์ Na-x ที่อัตราส่วนโดยโมล ของซิลิกาต่ออะลูมินาเท่ากับ ๒ และอัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมไฮดรอกไซด์ ต่ออะลูมินาเท่ากับ ๘ พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์ Na-x คือ ที่อุณหภูมิไฮโดรเทอร์มัลเท่ากับ ๙๐ องศาเซลเซียส เวลาในการเกิดผลึกเท่ากับ ๔๘ ชั่วโมง และเมื่อเวลาในการเกิดผลึกสูงขึ้นเป็น ๒๔๐ ชั่วโมง ซีโอไลต์ Na-x จะเปลี่ยนรูปเป็นไฮดรอกซิลโซดาไลต์ ซึ่งเป็นซีโอไลต์ที่มีความเสถียรมากกว่า ดร.จำลอง เพ็งคล้าย ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขา วิชาพฤกษศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ พรรณไม้วงศ์ไม้กระท้อนของไทย ” ความโดย สรุปว่า การศึกษาวิจัยพรรณไม้วงศ์ไม้กระท้อนของไทย นับเป็นส่วนหนึ่งของการ ดำเนินงานโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทยที่เริ่มมาแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ โดย นักพฤกษศาสตร์ไทยและต่างประเทศ เช่น จากประเทศเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นหลักร่วมมือกันวิจัย มีผลงานที่พิมพ์เผยแพร่เล่มแรกใน พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. ๑๙๗๐) และทยอยพิมพ์เผยแพร่ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการพิมพ์เผยแพร่แล้วรวม ๑๗๘ วงศ์ สำหรับพรรณไม้วงศ์ไม้กระท้อน จาก การตรวจสอบตัวอย่างพรรณไม้ ๓,๔๑๕ ชิ้น ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เป็นเวลาประมาณ ๓ ปี สรุปได้ว่าพรรณไม้วงศ์นี้ของไทย ประกอบด้วยพรรณไม้ ๑๘ สกุล จำนวน ๘๔ ชนิด ๓ ชนิดย่อย และ ๔ สายพันธุ์ ในจำนวนนี้เป็นสกุล ใหม่ของไทย ๑ สกุล เป็นชนิดใหม่ของไทย ๑๑ ชนิด เป็นพรรณไม้ที่ใช้ในการ บริโภค ๒๒ ชนิด เป็นพรรณไม้ที่ค่อนข้างล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ ๑๐ ชนิด และเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางเคมีภัณฑ์ ทั้งที่มีการนำเอามาใช้ประโยชน์และยัง ไม่มีการนำมาใช้อีกมากชนิด ทั้ง ๑๘ สกุล ประกอบด้วย Aglaia ๓๒ ชนิด, Aphanamixis ๒ ชนิด, Azadirachat ๓ ชนิด, Chisocheton ๑๐ ชนิด, Chukrasia ๒ ชนิด, Cipadessa ๑ ชนิด, Dysoxylum ๑๕ ชนิด, Heynea ๑ ชนิด, Lansium ๑ ชนิด, Melia ๑ ชนิด, Munronia ๒ ชนิด, Pseudoclausena ๑ ชนิด, Sandoricum ๒ ชนิด, Swietenia ๒ ชนิด, Toona ๓ ชนิด, Turraea ๑ ชนิด, Walsura ๔ ชนิด และ Xylocarpus ๓ ชนิด • เมื่อวันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “ชีวกโกมารภัจจ์ ควมสำเร็จด้านการแพทย์” ความโดยสรุปว่า อินเดียสมัย พุทธกาลแบ่งออกเป็น ๑๖ แคว้น แคว้นมคธ เป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุด อยู่ฝั่งใต้ของ แม่น้ำคงคา มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ เมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์ ชีวกโกมารภัจจ์ เกิดจากนางสาลวดี ซึ่งเป็นหัวหน้านางคณิกาของกรุง ราชคฤห์ที่ตั้งครรภ์โดยมิได้ตั้งใจ เมื่อคลอดทารกแล้วได้นำไปทิ้งไว้ที่หน้าเมือง ราชคฤห์ ต่อมาพระเจ้าอภัยราชกุมารได้เดินทางมาพบเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่จึงนำ ไปเลี้ยงและตั้งว่า ชีวก ซึ่งมีความหมายว่า ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออายุ ๑๖ ปี ได้หนีเจ้าชายอภัยราชกุมารไปเมืองตักศิลา สมัครเป็น นักเรียนกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสำนักนั้น โดยเรียนวิชาแพทย์ เมื่อครบ ๗ ปี พิสูจน์และสอบแล้วมีความสามารถเพียงพอจึงลากลับกรุงราชคฤห์ ระหว่าง เดินทางกลับมาทรัพย์หมด จึงใช้วิชาชีพทางการแพทย์รักษาเพื่อเลี้ยงตน เมื่อถึง เมืองสาเกต ได้รักษาภรรยาเศรษฐีซึ่งป่วยเป็นโรคปวดศีรษะเป็นเวลานานจนหาย ได้ค่าตอบแทนเป็นจำนวนมากทั้งเงิน รถเทียมม้า และอื่น ๆ ผลงานทางการ แพทย์ของชีวกโกมารภัจจ์มีมากมาย ที่สำคัญคือ ๑. การรักษาโรคของพระเจ้า พิมพิสารที่มีเลือดออกทางทวารหนัก (Fistula in ano) ๒. การผ่าตัดกะโหลก ศีรษะดึงหนอนพยาธิออก ๓. การผ่าตัดท้อง ๔. การรักษากษัตริย์แห่งแคว้น อุชเชนี ที่เป็นโรคดีซ่าน ๕. การสร้างโรงพยาบาลในกรุงราชคฤห์เพื่อรักษาบุคคล ทั่วไป ๖. การเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ชีวกโกมารภัจจ์ยังเป็นสาวกที่ซื่อสัตย์ต่อพระพุทธองค์ ได้ถวายสวนมะม่วง ที่อยู่ใกล้กับที่พัก และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ศาสตราจารย์ นพ.เรือน สมณะ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสุขภาพการแพทย์ บรรยายเรื่อง “ อัณฑะ ” สำนักศิลปกรรม • เมื่อวันอังคารที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บรรยายเรื่อง “การออกแบบพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย” ความโดยสรุปว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้เชิญผู้บรรยายให้ออกแบบและควบคุมการ ก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เนื่องจากในอดีตนั้นได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงมีความ ยินดีอย่างยิ่งที่จะใช้ความรู้และประสบการณ์ทำงานดังกล่าวให้แก่มหาวิทยาลัย งานที่รับออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเป็นลักษณะอาคารกลุ่มเรือนไทยชุด เก้า มีชื่อว่า “เรือนหมู่ ธ ทูลกระหม่อมแก้ว” เพื่อถวายเป็นศรัทธานุสรณ์แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่พระองค์ทรงสำเร็จ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ และเสด็จพระราชดำเนินมายังพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยในวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งเป็น “วันลอยกระทง” นับเป็นมิ่งมงคล ยังความปีติ โสมนัสเป็นล้นพ้นแก่ชาวมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอย่างมิรู้ลืม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสงค์ที่จะสร้างกลุ่มอาคารเรือนไทยภาคกลาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=