1574_5157
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • เมื่อวันพุธที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราช บัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ บรรยายเรื่อง “สังคมและความขัดแย้ง” ความโดยสรุปว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่มีความจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็ย่อมมีความขัด แย้งกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด ขณะเดียวกัน การใช้อำนาจในการจัดสรรทรัพยากรอาจไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความพอใจ นอกเหนือจากนี้ในสังคมยังมีการจัดสถานะให้มีความเหลื่อมล้ำ ซึ่งผู้ที่มีฐานะต่ำ กว่าอาจไม่มีความพอใจ ดังนั้น ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าความขัดแย้งในสังคมเกี่ยว เนื่องกับการจัดสรรอำนาจในการปกครองบริหาร การจัดสรรทรัพยากร หรือผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การจัดสรรสถานะทางสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาความขัด แย้ง และจัดระเบียบสังคมให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ มนุษย์จึงนำความคิดเรื่องรัฐที่มี อำนาจในการปกครองบริหารมาใช้ ผู้มีอำนาจรัฐหรือรัฐบาลมักจะเป็นบุคคลที่มี พละกำลังแข็งแรง สามารถรวมกลุ่มผู้สนับสนุนไว้ได้มาก ผู้นั้นก็จะทำหน้าที่ใน การใช้อำนาจรัฐ ในขณะเดียวกันการใช้อำนาจรัฐนั้นก็ต้องมีความยุติธรรม มีการ ปกครองบริหารและใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึง มีความชอบธรรมทางการเมืองที่จะ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลสังคมให้มีดุลยภาพ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลง ในค่านิยมและปทัสถาน ทำให้เกิดความไม่ลงรอยของคนในสังคม ก็คือจุดเริ่มต้น ของความขัดแย้งในสังคม ค่านิยมที่ไม่ลงรอยกัน ปทัสถานไม่เป็นที่ยอมรับโดย ทั่วไป ย่อมนำไปสู่ความเห็นที่แตกต่างและพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกันโดยทั่วไป ความขัดแย้งในสังคมจึงเริ่มจากตัวแปรสองตัวดังกล่าว ซึ่งสถานการณ์ของความ ขัดแย้งที่เกิดจากการไม่ลงตัวของการยอมรับระเบียบการเมือง หรือวัฒนธรรม นั้น มีความเป็นไปอยู่ ๔ ประการดังต่อไปนี้ ๑. การเจรจา ซึ่งคู่กรณีที่มีความขัดแย้งต้องยินดีที่จะเจรจาเพื่อหาข้อยุติ โดยการเจรจานั้นต้องไม่ใช่ลักษณะของ zero-sum game คือผู้ชนะได้ทุกอย่าง ผู้แพ้เสียทุกอย่าง จะต้องมีลักษณะเป็น positive-sum game หรือ win win โดยต่างฝ่ายต่างพอใจแม้จะไม่เต็มที่ที่จะตกลงกันในการจัดระเบียบใหม่ของสังคม ทั้งในทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ สังคม และค่านิยมที่เป็นนามธรรม เงื่อนไขสำคัญของการเจรจาคือ ทั้งสองฝ่ายต้องเห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะ กลับไปสู่ความสงบและศานติสุขบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ๒. การใช้ผู้ไกล่เกลี่ย โดยมีบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ภายในชุมชนการเมืองนั้นหรือนอกชุมชนการเมืองนั้นก็ตาม ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย หาทางออกโดยเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย บุคคลผู้ไกล่เกลี่ยนั้นต้องเป็นบุคคล ที่มีอำนาจบารมี เป็นที่ยอมรับในความเป็นกลางและยุติธรรม ในการเมือง ระหว่างประเทศบางครั้งประเทศมหาอำนาจจะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัด แย้งระหว่างประเทศเล็ก หรือนำไปสู่การออมชอมในองค์กรที่ประเทศต่าง ๆ ก่อ ตั้งขึ้นมา เช่น สหประชาชาติ ๓. การปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินต่อไปโดยไม่มีการแก้ไข หากแต่ประคับ ประคองไม่ให้บานปลายใหญ่โต วิธีดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้โดยเด็ด ขาดเพียงแต่ลากยาวออกไป ซึ่งจะสร้างความเสียหายทางจิตวิทยาเพราะขาด ความแน่นอนเกี่ยวกับอนาคต จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของสังคมหลาย ๆ ด้าน ๔. มีการแก้ไขปัญหาโดยใช้ความรุนแรงเพื่อให้รู้แพ้รู้ชนะ ซึ่งในส่วนนี้อาจ จะเสี่ยงต่อการที่ผู้ชนะและผู้แพ้ต่างเสียหายกันทั้งสองฝ่าย จนชัยชนะกลายเป็น ชัยชนะที่อยู่บนกองซากปรักหักพัง และสังคมโดยรวมจะเสียหายที่สุด หรือพูดใน แง่ของประเทศชาติก็จะเป็นผู้เสียหายที่สุด ความขัดแย้งในสังคมจะสร้างความสับสนและความปั่นป่วนในระบบความ คิด ทำให้เกิดความตึงเครียดทางจิตใจ การปล่อยให้สถานการณ์ลากยาวออกไป โดยไม่มีการแก้ไขย่อมเกิดความเสียหายอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันการใช้ อารมณ์ในการแสดงความคิดเห็น การใช้ทิฐิมานะหรือความแข็งกระด้างของ จุดยืนในการแก้ปัญหาก็ไม่สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ใช้สติและปัญญา ยอมเสียสละโดยเห็นแก่ประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ของเยาวชนรุ่นหลัง ปัญหาจึงอาจจะ บรรเทาลงได้ สุภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ถ้าท่านถอยหลังมาหนึ่งก้าว ขอบ ฟ้าจะกว้างขึ้น” กลับกันอาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าต่างฝ่ายต่างรุกเข้าหากันขอบฟ้าก็ จะแคบลง ซึ่งเท่ากับทางออกก็จะน้อยลง สติและปัญญาจึงเป็นกุญแจสำคัญที่สุด ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม • เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม บรรยายเรื่อง “สวัสดิการครอบครัวในสังคมไทยเน้นบริการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ” ความโดยสรุปว่า ข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบ ว่า ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่า ๖๐ ปี ๘ ล้านคน อีก ๑๐ ปี ข้างหน้าจะเพิ่มเป็น ๑๒ ล้านคน และใน พ.ศ. ๒๕๗๓ จะเพิ่มสูงถึง ๑๗ ล้านคน จากจำนวนประชากรกว่า ๗๐ ล้านคน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากสังคม เนื่องจากวัยชรานั้นเป็นวัยที่มี การเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุจึงต้องการการดูแล และเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากลูกหลาน ญาติ และสังคมส่วนรวม การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุและความต้องการของผู้สูงอายุหากมิได้รับ การตอบสนอง ปัญหาต่าง ๆ อาจจะตามมา คือ ปัญหาสุขภาพกาย ปัญหา สุขภาพจิตและอารมณ์ ความเครียดทางร่างกาย ความเครียดทางจิตใจ และ ความเครียดทางสังคม ความเครียดเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาทางจิตใจตามมา ปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการทางจิตเนื่องจากสมองเสื่อม อาการเพ้อ คลั่ง อาการหลงลืม อาการเหงา ความวิตกกังวล อาการหวาดระแวง อาการซึม เศร้า นอกจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สูงอายุอาจประสบปัญหาสังคมและ เศรษฐกิจได้เช่นกัน อาทิ ปัญหาการขาดความสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลใน ครอบครัวรุ่นเยาว์กว่า ปัญหาการขาดรายได้ประจำเมื่อเกษียณอายุ จากปัญหา ดังกล่าวรัฐจึงวางนโยบายช่วยเหลือผู้สูงอายุโดยจัดบริการเพื่อช่วยส่งเสริมผู้สูง อายุไว้ในแผนงานพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว โดยเน้นการพัฒนาความ สัมพันธ์ในครอบครัวและเครือญาติ (รวมถึงผู้สูงอายุ) ตลอดจนการเน้นความ สัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชนและสังคม การพัฒนาความสัมพันธ์เหล่านี้โดย การนำวัฒนธรรมไทยและทรัพยากรในชุมชนมาใช้ เช่น การจัดกิจกรรมวันผู้สูง อายุแห่งชาติ ตัวอย่างหนึ่งของโครงการที่รัฐบาลจัดเพื่อผู้สูงอายุ คือ โครงการ เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนใน ครอบครัวมีความประพฤติและการปฏิบัติที่เหมาะสมและรับผิดชอบต่อครอบครัว ตามหน้าที่ ทั้งนี้รวมไปถึงการอุปการะผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการ เสนอให้การจัดบริการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากจำนวน ของผู้สูงอายุกำลังเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดจนความต้องการของผู้ สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จึงควรมีบริการสังคมสำหรับผู้สูงอายุให้มาก พอที่จะสนับสนุนผู้สูงอายุในสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต • เมื่อวันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “กรรมหมู่ : พฤติกรรมสำคัญในการสร้าง และทำลายสังคม กรณีศึกษา : การเลือกตั้งของไทย” ความโดยสรุปว่า คนไทย ไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า “กรรมหมู่” ทั้ง ๆ ที่คนไทยร่วมทำกรรมหมู่เสมอมาทั้ง กรรมหมู่ที่ดีและไม่ดี อีกทั้งยังไม่คิดด้วยว่า การร่วมกันทำกรรมหมู่ทั้งดีและไม่ดี นั้นเป็นการทำบุญทำบาปซึ่งย่อมมีผลแก่ตนเองและสังคม กรรมหมู่ คือ พฤติกรรมประเภทเดียวกันที่คนในสังคมรวมกลุ่มกันทำมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง เรื่องบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=