1573_2907
7 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ การเขียนคำแสดงมุทิตาจิตไม่มีผู้ใดเขียนไว้ว่าควรเขียนอย่างไร ผู้บรรยาย ใช้ประสบการณ์ที่เคยเขียนข้อความลักษณะนี้ จึงคิดขั้นตอนหรือลักษณะทั่วไป ของการเขียนคำแสดงมุทิตาจิตไว้ย่อ ๆ ดังนี้ ๑. จะมีหัวข้อหรือไม่มีก็ได้ ๒. ข้อความที่เขียนอาจเริ่มต้นว่าผู้เขียนรู้จักเจ้าของวันเกิดในฐานะอะไร เป็นเพื่อนสนิทกัน เป็นผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา หรืออื่น ๆ ๓. ข้อความถัดไปมักจะเป็นเรื่องความสามารถ คุณความดี คุณลักษณะ เฉพาะหรือคุณลักษณะพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าของวันเกิด ๔. ข้อความช่วงสุดท้าย อาจมีการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เพิ่มเติมอีก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นข้อคิดทางสังคมก็ได้ ในการบรรยายครั้งนี้ได้ยกตัวอย่างข้อเขียนคำแสดงมุทิตาจิต ซึ่งผู้ บรรยายเขียนเองมาไว้ ๒ ตัวอย่าง คือ คำแสดงมุทิตาจิตซึ่งเขียนให้ รอง ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เมื่อครั้งมีอายุครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ โดยให้หัวข้อว่า “นักบริหารชั้นยอด ผู้มีคุณสมบัติของ ผู้ดี” อีกตัวอย่างหนึ่งคือคำแสดงมุทิตาจิตที่ผู้บรรยายเขียนให้ ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ เมื่อมีอายุครบ ๗๕ ปี ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยให้หัวข้อว่า “ท่านอาจารย์อุดมผู้เป็นกัลยาณมิตร” ผู้บรรยายได้เขียนคำแสดงมุทิตาจิตทั้งสองเรื่องนี้ตามขั้นตอนที่ได้กล่าว ไว้ข้างต้น ในที่นี้จะขอยกเพียงข้อความตอนท้ายมาไว้เป็นตัวอย่าง ดังนี้ เรื่องที่เขียนให้ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร “ข้าพเจ้าปลาบปลื้มใจที่จะกล่าวว่า ท่านอาจารย์นรนิติเป็นกัลยาณมิตรผู้ มีความเสมอต้นเสมอปลายในจำนวนไม่กี่คนที่ข้าพเจ้ามีอยู่ และภูมิใจที่ท่าน เป็นนักบริหารชั้นยอดในทางราชการ ทั้งยังเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของความเป็น ผู้ดีอยู่ในตัวอีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติที่ดีเลิศทั้งสองอย่างมารวมอยู่ในคนคน เดียวกันได้อย่างกลมกลืนเช่นนี้ หาไม่ได้ง่ายนักในสังคมปัจจุบัน” เรื่องที่เขียนให้ ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ “ผู้ที่ได้ร่วมงานกับท่านอาจารย์อุดมก็คงจะมีความรู้สึกเช่นเดียวกับ ข้าพเจ้า คือได้รับความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ยิ่งต่อ ส่วนรวม มีความเป็นมิตร และความจริงใจกับทุกคน ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม หน้าไหว้ หลังหลอก หรืออิจฉาริษยาเหมือนคนบางคนในแวดวงสังคมปัจจุบัน ซึ่งก็ไม่มี เว้นแม้ในแวดวงวิชาการดังที่เราก็เห็น ๆ กันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลตัวเรา” ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม บรรยายเรื่อง “กลวิธีการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำมัน” ความโดยสรุปว่า เมื่อเราเปิดอ่านหนังสือทัศนศิลป์สากลที่เป็นมาตรฐาน หรือ เปิดดูภาพศิลปะก็ตาม เราจะพบคำบรรยายใต้ภาพ (caption) มักเป็นตัว อักษรขนาดเล็กกว่าตัวอักษรที่เป็นเนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนั้น การเขียนคำ บรรยายหรือคำอธิบายใต้ภาพที่เป็นมาตรฐานสากล ยอมรับร่วมกัน จะเริ่ม ต้นด้วยชื่อและนามสกุลศิลปิน (artist’s name and surname) ชื่อผลงาน ศิลปะ (title) สื่อแสดงออกและพื้นรองรับ (medium and ground) ขนาด ผลงาน (size) และปีที่สร้างสรรค์ การระบุพื้นรองรับนิยมเฉพาะที่เป็นงาน จิตรกรรม ในกรณีที่เป็นงานประติมากรรมจะไม่เกี่ยวกับพื้นรองรับที่จะ แสดงออกหรือสร้างสรรค์ เพราะประติมากรรมจะแสดงออกเป็น ๓ มิติ ใน ตัวของมันเอง ส่วนในกรณีของศิลปะภาพพิมพ์ (printmaking) นิยมระบุ กลวิธีหรือเทคนิคแทนสื่อ แสดงออก การพิมพ์ชื่อผลงานศิลปะจะพิมพ์ด้วย ตัวหนาหรือตัวเอนเพื่อให้เห็นแตกต่าง ทางด้านจิตรกรรม สื่อแสดงออกหรือสีชนิดต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับ แสดงออกหรือสร้างสรรค์งานจิตรกรรม เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีฝุ่น หมึก ดินสอ ถ่าน พื้นรองรับ หมายถึง พื้นระนาบที่รองรับการแสดงออก เช่น กระดาษ ผ้าใบ ไม้ ส่วนทางด้านศิลปะภาพพิมพ์ที่เป็น ๒ มิติ เช่นเดียวกัน ระบุกลวิธี หรือเทคนิคแทนสื่อแสดงออก กลวิธีในการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์มี มากมาย เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) ภาพพิมพ์ผ่านฉากไหม (silk screen) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์หิน (lithograph) เป็นต้น การแสดงขนาดของผลงานทัศนศิลป์ จิตรกรรมหรือประติมากรรม ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็มีมาตรฐานหรือความเป็นสากลถือปฏิบัติกันมาด้วย เช่นกัน ถ้าเป็นจิตรกรรมหรือ ๒ มิติ ก็จะเป็นแนวตั้ง x แนวนอน หน่วยวัดตามนิยม เช่น ขนาด ๔๕ x ๖๐ ซม. หมายถึง แนวตั้งสูง ๔๕ ซม. แนวนอนกว้าง ๖๐ ซม. เป็นภาพแนวนอน ถ้า ขนาด ๖๐ x ๔๕ ซม. หมายถึง แนวตั้งสูง ๖๐ ซม. แนวนอนกว้าง ๔๕ ซม. เป็นภาพแนวตั้ง กรณีที่เป็น ประติมากรรมหรือ ๓ มิติ ก็จะเป็นแนวตั้ง x แนวนอน x แนวลึก เช่น ขนาด ๖๐ x ๔๕ x ๓๐ ซม. หมายถึงประติมากรรมชิ้นนั้น แนวตั้งสูง ๖๐ ซม. แนวนอนกว้าง ๔๕ ซม. แนวลึก ๓๐ ซม. ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ศิลปิน น้อยใหญ่ในเมืองไทยมักไร้ระบบ พัฒนาการการสร้างสรรค์จิตรกรรมกระแสตะวันตกสืบเนื่องมานับพัน ๆ ปี อาจนับตั้งแต่อาณาจักรโรมันรุ่งเรือง ช่วงรอยต่อคริสต์ศักราช ก็นับด้วยสองพันปี เศษแล้ว มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เมืองปอมเปอีและเมืองเฮอคิวเรเนียม ที่ภูเขาไฟวิตซูเวียสถล่มในช่วงคริสต์ศักราช ๗๙ ลาวาได้ถมทับเมืองทั้งสองไว้ ชาวโรมันเสียชีวิตทั้งสองเมือง เมื่อมีการขุดค้นทางโบราณคดีภายหลัง ลาวา พิทักษ์อาคาร โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จำนวนหนึ่งไว้ กล่าวเฉพาะผลงานจิตรกรรม ทั้งที่เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปได้ว่า จากหลัก ฐานที่หลงเหลือรอดปลอดภัยนั้น มีทั้งจิตรกรรมผนังปูนเปียก (Fresco Painting) จิตรกรรมสีผสมขี้ผึ้ง (Encaustic Painting) จิตรกรรมสีฝุ่น (Tempera Painting) และจิตรกรรมที่ใช้น้ำมันฉาบทับลงบนภาพสีฝุ่น เป็นต้น หลักฐานการที่จิตรกรชาวโรมันเริ่มรู้จักนำน้ำมันมาฉาบเคลือบลงบน ภาพเขียนสีฝุ่น ไม่มีข้อสรุปว่าเป็นน้ำมันอะไร น้ำมันประเภทใด เป็นการนำ น้ำมันบางชนิดมาฉาบเคลือบเพื่อให้สีและภาพเขียนสีฝุ่นมีความคงทนถาวร ยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความเป็นมาที่ใช้กาวฉาบเคลือบจิตรกรรมสีฝุ่น ให้มีความคงทนถาวรด้วย ซึ่งน่าจะเป็นกาวหนังกระต่าย (rabbit skin glue) ตามความนิยมของจิตรกรตะวันตก ที่ใช้กาวหนังกระต่ายผสมสีฝุ่นสืบเนื่อง กันมาอีกกลวิธีหนึ่ง สีน้ำมัน สื่อผสมสีที่เป็นน้ำมันมีความสำคัญมาก มีการทดลองใช้น้ำมัน จากสัตว์ จากพืชชนิดต่าง ๆ มากมาย ปัญหาน้ำมันที่ผสมกับรงควัตถุแล้ว สามารถรักษาสภาพสีให้คงทนถาวร สีไม่เปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนแม้เวลาจะผ่าน พ้นไปนานเท่าไรก็ตาม รวมทั้งเมื่อผสมกับรงควัตถุแล้ว มีช่วงเวลาที่หมาด และแห้งเหมาะสมกับกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปิน จวบจนถึง คริสต์ศักราช ๑๔๑๐ ศิลปินชื่อ เฟลมิช แจน แวน ไอค์ (Jan Van Eyck) ได้ คิดค้นและทดลองใช้น้ำมันจากเมล็ดต้นแฟลกซ์ ต้นไม้ที่ใช้ใยทอเป็นผ้าลินิน นำเมล็ดแฟลกซ์มาบีบให้เป็นน้ำมัน น้ำมันที่ได้ปัจจุบันเรียกว่า น้ำมันลินสีด (linseed oil) นับเป็นน้ำมันผสมสีหรือผสมรงควัตถุที่มีคุณสมบัติเป็นสีน้ำมัน เพื่อการสร้างสรรค์จิตรกรรมที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง สามารถคงสภาพสี มีความ คงทนถาวร และมีช่วงเวลาแห้งเหมาะสมกับการสร้างสรรค์จิตรกรรมใน กลวิธี ต่าง ๆ ได้อย่างดี เรื่องความคงทนถาวรของผลงานจิตรกรรม ช่วง เวลายาวนานถึง ๕๐๐–๖๐๐ ปี ย่อมพิสูจน์ได้เป็นอย่างดี และในช่วงเวลาดัง กล่าวนั้น จิตรกรที่ชื่นชอบการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำมัน ได้มีการ สร้างสรรค์ด้วยกลวิธีต่าง ๆ มาแล้วนับด้วยร้อยกลวิธีทีเดียว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=