1573_2907
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ข้างต้นนี้ค่อนข้างยืดยาว ผู้เขียนมุ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับพจนานุกรมเล่มแรกใน เมืองไทยที่มีการรวบรวมในลักษณะนี้ การดำเนินการนี้ใช้เวลากว่า ๔๐ ปี ของช่วงชีวิตนักวิชาการคนหนึ่ง ใช้ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่องานนี้ ในต่อไปนี้ผู้เขียน จะเข้าถึงประเด็นที่ตั้งหัวข้อไว้ในตอนต้นเรื่อง ก็คือ เรื่องการสะกดคำว่า “มุก” หรือ “มุข” ซึ่ง รัตนมาลา ก็ได้บันทึกการใช้คำนี้ในหนังสือเล่มต่าง ๆ อย่างละเอียด ดังนี้ – อีกอื่นผู้เข็ญใจ มุข มงคล ก็ดี – ช่วงบ้า มุก บาป ทาษีใจหยาบ – ถือเสกด้วยพระเวท มุข ใหญ่ – เจ้าคิดขับขึ้นสัก มุข เถิดลูกเอ๋ย – เล่านิยายจบราวสักเก้า มุก – อ้ายไม้เสือกเข้าไปรับเล่านิทานให้เขาฟัง เล่าไปไม่ได้ถึงครึ่ง มุข – ตอนหัวค่ำผลัดกันเล่าเรื่องรามเกียรติ์คนละ มุข – ให้เข้าเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน ผลัดกันเล่าคนละ มุข – ฉันจะค้างอยู่ที่นี่ ขอฟังนิทานสัก มุข เถิด – นายเล่าสัก มุข เปนไรจ๊ะ – เรื่องยังอยู่อีกมาก เพียงนี้ได้ มุข หนึ่งเท่านั้น – บางครั้งว่า หยอดตาลงขลุ้กขลุ้ก จะเล่นกัน มุก ใดไฉนนี่ ผู้อ่านคงสามารถวินิจฉัยได้เองแล้วว่า คำนี้ ควรเขียน มุก หรือ มุข โดยที่ ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องให้ข้อวินิจฉัย อนึ่งผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าในภาษาไทย มีการเล่น “ชั้นเชิง” เสมอ เมื่อจะใช้คำในความหมายว่า “พูด” ก็ไม่จำเป็น ต้องใช้คำที่มีความหมายตรง ๆ หากแต่ใช้ “ชั้นเชิง” ก็ได้ ดังเช่น “เผยอ พระโอษฐ์” ก็แปลว่า “พูด” ได้เช่นนี้ พจนานุกรมในลักษณะที่แสดงการใช้ใน แต่ละสมัย พัฒนาของความหมายโบราณิกศัพท์ และที่มา ดังเช่น รัตนมาลา เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงความรู้ในเรื่องภาษาที่หลายประเทศที่มี ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมอย่างยาวนาน มีการรวบรวมและจัดทำ พจนานุกรมในลักษณะเช่นนี้ เป็นการแสดงถึงพุทธิปัญญาในเรื่องภาษาที่ สั่งสมกันมาช้านาน ศาสตราจารย์วิสุทธ์ บุษยกุล (ราชบัณฑิต) ได้เล่าให้ผู้ เขียนฟังว่า กระบวนการทำพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด ของอังกฤษ จะมีนักวิชา การ ผู้เชี่ยวชาญทางภาษากว่าแสนคน รวบรวม และจัดส่งข้อมูลไปให้คณะ กรรมการต่อไป ในประเทศไทยก็มีเพียงนักวิชาการที่ทำงานชิ้นนี้เพียงคน เดียวมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๔๐ ปีแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่าชั่วชีวิตของเธอที่ นั่งเขียน นั่งค้นงานอย่างไม่หยุดยั้ง วันแล้ววันเล่าอย่างไม่ย่อท้อด้วยความ หวังว่า จะให้พจนานุกรมนี้ได้ปรากฏโฉมในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อเป็นเครื่อง แสดงเกียรติยศและศักดิ์ศรีของประเทศสืบไป • วันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บรรยายเรื่อง “เหตุใดในอดีตอักษร พ และ ท จึงใช้แทนหน่วยเสียง /b/ และ /d/ ในคำปาฬิ และคำยืมปาฬิภาสาในภาษาไทย แต่ปัจจุบันบางครั้งมิได้ใช้แทนเสียงปาฬิ แล้ว” ความโดยสรุปว่า ในอดีตนั้นภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมีทั้งภาษาปาฬิ สันสกฤต และเขมร แต่ภาษาที่มีอิทธิพลมากที่สุดภาษาหนึ่ง พบวงศัพท์ทั้ง ทางศาสนาและขยายออกไปยังวงศัพท์อื่น ๆ ได้แก่ปาฬิภาสา หรือที่ปัจจุบัน เรียกว่าภาษาปาฬิ (บาลี) นั่นเอง ในประเทศไทยจารึกภาษาปาฬิรุ่นแรก ๆ มี เนื้อหาทางศาสนา จารึกเหล่านี้มักมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ แต่บางหลักเชื่อว่าเก่าถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๘ นั่นย่อมแสดงได้ว่าภาษาปาฬิ อาจแพร่กระจายในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ หรืออย่างช้า ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา เมื่อคนไทยอพยพเข้ามายังบริเวณดัง กล่าว ภาษาไทยจึงได้รับอิทธิพลจากภาษาปาฬิตั้งแต่ก่อนเกิดอาณาจักร สุโขทัยแล้ว อักษรไทยสมัยสุโขทัยแสดงให้เห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับอักษร ปัลลวะ อักษรขอม และอักษรมอญ กล่าวคือ อักษรอินเดียชนิดนี้เป็นเค้ามูล ของอักษรที่ชนชาติมอญ เขมร และชาติอื่น ๆ ที่เคยอยู่ในประเทศนี้ ในตอน ต้นนั้น เสียงในภาษาไทยโบราณคงจะใกล้เคียงกับเสียงภาษาปาฬิ แม้แต่ ภาษาไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงก็มีหน่วยเสียงใกล้เคียงกับภาษาปาฬิ อย่างไรก็ตาม ภาษาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีหน่วยเสียง บางเสียงที่ไม่มีในภาษาปาฬิ ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงและเพิ่มเติมอักษรบางตัว หรือเพิ่มเครื่องหมายพิเศษขึ้นเพื่อแทนเสียงบางเสียง ในส่วนของภาษาไทย ก็มีการสร้างตัวอักษรเพิ่มเติมขึ้นมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น อักษร ด ไทย ใช้แทนเสียง /*? δ / และอักษร บ ไทยใช้แทนเสียง /*? β / อักษรที่ไทยรับ จากอินเดียใต้นี้ยังคงรักษาการเรียงอักษรตัวนั้นไว้ตามเดิม แม้จะ เปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอดจนคุณสมบัติทางเสียงบางประการ เช่น ราวก่อน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในภาษาไทยพยัญชนะชุดโฆษะ (voiced) จะยังคงรักษา พยัญชนะตัวเดิมไว้ในตำแหน่งเดิม ทั้งๆ ที่พยัญชนะโฆษะนั้นจะกลายเป็น เสียงอโฆษะ ธนิต (voiceless aspirated sound) ไปแล้ว กล่าวในอีกนัย หนึ่งคือ อักษร (ท) เปลี่ยนแปลงจากเสียงโบราณ /* δ / เป็นเสียง / τη / ในภาษาไทยปัจจุบัน และอักษร (พ) เปลี่ยนแปลงจากเสียงโบราณ /* β / เป็นเสียง / πη / ในภาษาไทยปัจจุบัน เดิมในภาษาไทยเองก็มีเสียงพยัญชนะ กลุ่มเสียงอโฆษะ ธนิต อยู่แล้ว ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ทำให้เกิดการรวม เสียงพยัญชนะต้นขึ้น ดังต่อไปนี้ อักษรสูง เสียง อักษรต่ำ เสียง เสียง โบราณ โบราณ ปัจจุบัน ถ /* τη / ท /* δ / τη ผ /* πη / พ /* β / πη พยัญชนะทั้ง ๔ คู่แทนเสียงที่มีพัฒนาการแตกต่างกัน คือกลุ่มอักษรสูงมี พัฒนาการมาจากเสียงพยัญชนะดั้งเดิมอโฆษะ ธนิต ส่วนกลุ่มอักษรต่ำมี พัฒนาการมาจากเสียงพยัญชนะดั้งเดิมโฆษะ หลังการเปลี่ยนแปลงทางเสียง แม้จะมีเสียงพยัญชนะต้นซ้ำกันแต่ก็มีการผันวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันแทน ด้วยเหตุดังกล่าว คำยืมภาษาปาฬิที่เข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนการเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเสียงพยัญชนะจากเสียงโฆษะ เป็นอโฆษะ ธนิต จึง เปลี่ยนแปลงเสียงไปตามเสียงพยัญชนะภาษาไทยด้วย ดังนั้นคำยืมภาษาปา ฬิที่เขียนด้วยพยัญชนะปาฬิ พ และ ท ที่เดิมออกเสียงเป็นเสียงโฆษะ / β / และ / δ / ตามลำดับจึงเกิดเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะตามภาษาไทย แม้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะต้นจะมีการยืมคำปาฬิเข้ามาแต่การ ออกเสียงก็ยังคงยึดตามแนวทางเทียบเดิมคือออกเสียงเป็น / πη / และ / τη / ตามภาษาไทย ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการที่คำยืมภาษาปาฬิในภาษาไทยให้ ความสำคัญที่การรักษารูปเขียนมาก เสียงพยัญชนะพัฒนาการตัวอักษรกับ การเปลี่ยนแปลงเสียงอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แนวโน้มที่ปรากฏให้เห็นได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเสียงไปเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์อักษร • วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา บริสุทธิ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง “การเขียนคำแสดงมุทิตาจิต” ความโดยสรุปว่า ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่มีคำว่า “มุทิตาจิต” มีแต่คำ “มุทิตา” ซึ่งมีความหมายว่า “ความมีจิตพลอยยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ดังนั้น คำว่า “มุทิตาจิต” จึงน่าจะหมายถึงจิตที่เปี่ยมไปด้วยมุทิตา ปัจจุบันมักใช้คำว่า “มุทิตาจิต” ในความหมายว่า ข้อความที่เขียนในหนังสือที่เจ้าของวันเกิดพิมพ์ แจกเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มีอายุครบ ๕ รอบ ๖ รอบ ๗ รอบ ฯลฯ แล้วขอให้ ผู้ที่สนิทสนมหรือผู้ที่ตนนับถือเขียนคำแสดงมุทิตาจิต ซึ่งมักมีความยาวคนละ ๑-๒ หน้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=