1573_2907

5 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ทางวรรณศิลป์ มีการเพิ่มรายละเอียดในด้านต่าง ๆ เช่น บทชมบ้านเมือง ชม โฉมตัวละคร คำพูดของตัวละคร บทพรรณนาอารมณ์ของตัวละคร ตลอดจน ฉากสู้รบ เป็นต้น เมื่อนำเนื้อเรื่องและรายละเอียดของเรื่องในมหากาพย์ ๓ แหล่งมาเปรียบเทียบกัน ก็พบว่า เนื้อเรื่อง ชื่อตัวละคร ชื่อช้างและชื่ออาวุธ ในมหากาพย์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและในมหากาพย์ ของคนไทในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีลักษณะตรงกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อพิจารณาเพิ่มเติมในด้านการใช้คำศัพท์พบว่ามหากาพย์ของคนไทใน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีคำที่มาจากภาษาบาลี นอกจากนี้ยังกล่าว ถึงแถนอิน ซึ่งหมายถึงพระอินทร์ เทพในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา และมี เมืองชื่อจาตุม อยู่บนสวรรค์ ซึ่งน่าจะมาจากชื่อสวรรค์จาตุมหาราชิก อาจ กล่าวได้ว่า มหากาพย์เรื่องขุนเจืองและเจืองหาญของคนไทในสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม ได้รับอิทธิพลมาจากมหากาพย์ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วมีนำไปการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมในด้าน รายละเอียด ทั้งนี้เนื่องจากคนไทในจังหวัดเซินลา และจังหวัดเง่อาน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอยู่ใกล้คนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ถ้อยคำภาษาที่ใช้ก็ใกล้เคียงกัน การรับตัวอักษรจากลาวไปใช้ จึงรับอิทธิพลด้านวรรณกรรมจากลาวด้วย ส่วนมหากาพย์ของไทลื้อมีส่วนที่ คล้ายคลึงกับมหากาพย์ของลาวน้อย แสดงให้เห็นว่าน่าจะแต่งขึ้นโดยไม่ได้รับ อิทธิพลจากมหากาพย์ของลาว มหากาพย์สดุดีเจืองหาญมีความสำคัญต่อชีวิตจิตใจของผู้ที่พูดภาษา ตระกูลไท มหากาพย์เรื่องเจืองหาญและเรื่องขุนเจืองของคนไทในจังหวัดเซิน ลาและจังหวัดเง่อาน รวมทั้งมหากาพย์ของไทลื้อ สิบสองพันนา ไม่ได้ สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น หากยังเป็นวรรณกรรม ที่มีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมเซ่นไหว้บวงสรวงเจืองหาญ มหากาพย์มีบทบาท หน้าที่บอกเล่าความเป็นมาของพิธีกรรม ในขณะเดียวกันก็เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วม ในพิธีตระหนักและภาคภูมิใจในวีรกรรมของเจืองหาญ วีรบุรุษไทในอดีตด้วย ในสังคมลาว มีวรรณกรรมเล่าเรื่องเจืองหาญที่เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะและ วรรณกรรมลายลักษณ์จำนวนมาก มีความเชื่อเรื่องไหหินที่แขวงเชียงขวางว่า เป็นไหเหล้าขุนเจือง ตำนานของขมุบางสำนวนก็ได้รับอิทธิพลมาจากลาว แสดงว่าเรื่องของเจืองหาญมีความสำคัญในชีวิตจิตใจของคนลาวในสมัยก่อน วรรณกรรมประเภทมหากาพย์ก็สร้างสรรค์ขึ้นหลายสำนวน อาจเป็นไปได้ว่า มหากาพย์สดุดีเจืองหาญของลาวก็เคยมีบทบาทสำคัญในสังคมเช่นเดียวกับ มหากาพย์ของคนไทในสาธารณรัฐเวียดนามและคนไทลื้อในสิบสองพันนา • วันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยาย เรื่อง “การใช้ประโยชน์จากพจนานุกรมที่มีชื่อว่า ‘รัตนมาลา’ ในกรณีศึกษา คำว่า ‘มุก’ หรือ ‘มุข’” ความโดยสรุปว่า เมื่อเอ่ยถึงพจนานุกรมที่มีชื่อว่า รัตนมาลา แทบทุกคนอาจปฏิเสธได้ว่าไม่เคยได้ยิน หรือเห็นพจนานุกรมเล่ม นี้มาในทำเนียบหนังสือเล่มใด ๆ มาก่อนเลย ซึ่งผู้เขียนจะขอชี้แจงดังต่อไปนี้ รัตนมาลา เป็นพจนานุกรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บโบราณิกศัพท์ที่ปรากฏใน หนังสือของไทยทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง นับแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากจะให้ความ หมายของศัพท์ทุกศัพท์โดยพิจารณาจากบริบทของการใช้ที่ปรากฏในงาน นิพนธ์ดังกล่าวที่สามารถเก็บรวบรวมได้ ดังนั้นศัพท์ที่ปรากฏจะแสดงที่มา ก่อนเป็นสำคัญ บางศัพท์จะมีตัวอย่างที่มาเป็นจำนวนมาก บางศัพท์ก็จะมีไม่ มาก แล้วแต่จำนวนที่ปรากฏ ในการระบุที่มานั้นจะให้รายละเอียดที่มา คือ เรื่อง ตอนหรือบท และหน้า เพราะจากประสบการณ์ของผู้เขียน การอ้าง เพียงชื่อเรื่องของแหล่งที่มาเพียงสั้น ๆ เช่น รามเกียรติ์ หรือ อิเหนา ไม่ สามารถที่จะทำให้ค้นพบข้อมูลได้โดยง่าย ต้องใช้เวลาค้นหาเป็นเวลานาน ดัง นั้นในพจนานุกรมเล่มนี้จะให้เลขหน้าอย่างชัดเจน ความถูกต้องของการให้ นิยามศัพท์ซึ่งกว่าครึ่งเป็นโบราณศัพท์ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนให้ความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง เพราะงานใหญ่ในระดับนี้ เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นประการแรก แต่โดยที่การรวบรวมศัพท์ได้นำมาจากบริบทจากที่ต่าง ๆ บริบทเป็นตัว กำหนดความหมายได้ดีที่สุด และถูกต้องที่สุด ตัวอย่างที่ขอยกคือคำ “วากเว้” ซึ่งจากการสำรวจมีที่ใช้ ๒ ที่ในวรรณคดีดังนี้ “อารมณ์ร้อนรนสกลกาย พี่ชายจะ วากเว้ ทุกเวลา” ดอกสร้อยสวรรค์ พิจารณาอย่างผิวเผิน คำว่า “วากเว้” น่าจะมีความหมายว่า “ว้าเหว่” ได้ แต่บริบทจาก โคลงโลกนิติ ว่า “ท่านสี่ตีอย่าได้ วากเว้ วางหนี” จะช่วยกำหนดความหมายของคำว่า วากเว้ ได้อย่างชัดเจนว่า หลีกหนี หรือ ห่างเหิน นอกจากการให้นิยามความหมายของคำเป็นสำคัญในลำดับแรกแล้ว การ ปรากฏของคำในบริบทในแต่ละสมัย ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะใน ทรรศนะของผู้เขียน การที่จะอธิบายหรือชี้แจงว่า คำใดเป็นโบราณิกศัพท์ ผู้ อธิบายควรจะสามารถอธิบายได้ว่า คำนี้เริ่มใช้เมื่อใด และมีการใช้ในสมัยใด ในหนังสือเล่มใดบ้าง และหากเป็นไปได้การเลิกใช้ศัพท์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างศัพท์ ๒ ศัพท์ อันได้แก่ คำว่า “กว่า” และ “ร้อย ชั่ง” ดังนี้ คำว่า “กว่า” เท่าที่มีหลักฐานยืนยันใช้ที่เก่าที่สุดคือ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง ที่ว่า “ลูกเจ้าลูกขุนล้มหายตายกว่า” คำว่า “กว่า” นี้มี ความหมายว่า “ไป” และมีการใช้ต่อเนื่องมาถึงในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในหนังสือกาพย์ห่อ โคลงนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ที่ว่า “กวักกว่า กว่าจะมา เห็นยางเจ่าพี่เจ่าคอย” ส่วนความหมายของคำ ก็คือ ไป นั่นเอง คำว่า (แม่) ร้อยชั่ง รัตนมาลาได้บันทึกลำดับของการใช้คำนี้ ในแต่ละ สมัย ดังนี้ – พระพี่ ร้อยชั่ง มาฟังน้อง – ร้อยชั่ง มาดับสังขาร์ – ร้อยชั่ง แม่อย่าละห้อยไห้ – ร้ อยชั่ง ขึ้นฝั่งได้ เจ้าคลาไคลตามเมียมา – ร้อยชั่ง จงฟังคำมารดา – ใครจะเอี่ยมเทียมเจ้าสาวน้อย ร้อยชั่ง ไม่มีใครปาน – เชยชมลูกยา ร้อยชั่ง พังงา – ให้คอยท่า ร้อยชั่ง อยู่น่าแกล – พระ ร้อยชั่ง สงไสยเปนนักหนา ข้อมูลข้างต้นนี้คงเป็นคำอธิบายที่ถูกต้องของคำว่า “ร้อยชั่ง” ที่มิได้เกิด ขึ้นในช่วงที่มีการประกวดนางสาวไทยตามความเข้าใจของคนทั่วไป และ “ร้อยชั่ง” ในที่นี้ก็มิได้มีราคาเท่ากับจำนวนเงิน ๘,๐๐๐ บาท ตามที่เข้าใจและ อธิบายกันต่อ ๆ มา หากแต่จำนวนนี้หมายถึงทองร้อยชั่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับที่มาของศัพท์ รัตนมาลา ก็ได้คำนึงถึงความสำคัญของ ประเด็นนี้เช่นกัน แต่โดยที่ตระหนักถึงศักยภาพของผู้ทำซึ่งมีเพียงคนเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะรับภาระในเรื่องนี้ เพราะการทำงานในลักษณะนี้ต้องระดม กำลังสมองของนักวิชาการในหลายด้าน แต่ถึงกระนั้น รัตนมาลา ก็มิได้เพิก เฉยในเรื่องนี้ ผู้เขียนได้ค้นคว้าและรวบรวมมาเสนอเท่าที่จะกระทำได้ คำ ชี้แจงเกี่ยวกับการรวบรวมศัพท์ใน รัตนมาลา มีข้อตกลงเบื้องต้นอยู่บาง ประการดังเช่น ที่มาของข้อมูลจะปรากฏอย่างละเอียด แต่มีข้อจำกัดว่า ข้อมูลนั้นต้องมาจากเล่มที่ระบุ ข้อมูลบรรณานุกรมที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ ฉบับที่ตรงกัน จึงพบศัพท์ที่ต้องการในหน้านั้น ๆ อนึ่ง ในการรวบรวมศัพท์นั้น จะเก็บศัพท์ที่ปรากฏในเรื่อง ในเล่ม เพียงครั้งเดียว เว้นแต่จะเป็นศัพท์เฉพาะ ที่มีใช้ในหนังสือเล่มนั้นเพียงเล่มเดียว เช่นคำว่า ประรูกล ซึ่งแปลว่า “ข่มขืน” คำนี้มาจากคำในภาษามลายู มีใช้ ๓ ครั้ง ในพระราชนิพนธ์บท ละครเรื่อง ดาหลัง ใน รัตนมาลา ก็บันทึกการใช้ทั้ง ๓ ครั้งไว้ เพื่ออำนวย ความสะดวกในการค้นคว้า สำนวนบางสำนวนมีที่ใช้ในหนังสือที่แต่งในช่วง เวลาเดียวกัน รัตนมาลา ก็จะให้ข้อมูลในทุกที่ที่ปรากฏใช้ศัพท์นี้ เช่น “เที่ยง นางกลางคืน” มีใช้ ๖ แห่ง ในวรรณคดี ๖ เรื่อง งามทั้งห้าไร่ ที่แปลว่า น่า อับอาย ฉาวโฉ่ มีใช้ ๕ แห่ง ในวรรณคดี ๕ เรื่อง ความข้างต้นที่พรรณนา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=