1573_2907
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เทคโนโลยีคือ ทำกรอยรั้วไม้ไผ่และปลูกป่าชายเลน และใช้เทคโนโลยีคือทำ เป็นไส้กรอกทรายหรือถมหินอย่างเดียว ซึ่งวิธีการเหล่านี้อยู่ในขั้นทดลองและ ติดตามตรวจสอบประเมินผลที่เกิดขึ้นต่อไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากทะเลหรือชายฝั่งบางขุนเทียนเป็นแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และนับเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของ ชุมชนวิธีการฟื้นฟูและป้องกันที่เหมาะสมควรเป็นวิธีการที่ไม่ทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และจะต้องสร้างความสมดุลระบบนิเวศและ ธรรมชาติชายฝั่งทะเลอีกทางหนึ่งด้วย ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชา วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ทำไมไม่มีการระบาด ของไข้หวัดใหญ่ระลอก ๒” ความโดยสรุปว่า นับตั้งแต่มีการระบาดของไข้ หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ เกิดขึ้นในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ โรคดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือและ เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกอย่างใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นต้นมา มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน จึง เป็นการระบาดที่สำคัญในระลอกแรก โรคดังกล่าวได้สงบลงในช่วงเดือน กันยายนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ และได้มีการกล่าวถึงโรคดังกล่าวว่าจะมีการ ระบาดใหญ่ในระลอก ๒ ในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยมีการอ้างข้อมูลของไข้หวัดใหญ่สเปน ที่มีการระบาดใหญ่ในปี ๒๔๖๑ แต่ความเป็นจริงจากการศึกษาของศูนย์ เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลทุ่งส่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าการ ระบาดไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ คือไม่ได้มีการระบาดในระลอกที่ ๒ ทั้งนี้ เพราะประชากรส่วนใหญ่น่าจะมีพฤติกรรมทางด้านสุขอนามัยที่ดีขึ้น หรือเป็นเพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันกลุ่ม (Herd immunity) เกิดขึ้น เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ไม่เกิดการระบาดของโรคเกิดขึ้น ทางศูนย์เชี่ยวชาญฯ จึงได้ทำการตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสไข้หวัดสาย พันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ ด้วยวิธี Hemaglutination inhibition (HI) test โดยการ ใช้เม็ดเลือดแดงของไก่งวงในกลุ่มประชากรทั่วไปของชุมแพ จังหวัดขอนแก่น บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาล ทุ่งส่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช และนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติ การเกี่ยวกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ พบว่า ประชากรทั่วไปมีภูมิ ต้านทานต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ถึงร้อยละ ๓๔ และบุคลากร ทางการแพทย์ประมาณครึ่งหนึ่ง มีภูมิต้านทานต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่แล้ว โดยทั่วไปแล้วโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีอำนาจในการกระจาย โรค (R0) อยู่ที่ประมาณ ๑.๕-๒ ดังนั้นความต้องการของภูมิคุ้มกันกลุ่มจึง เท่ากับ ๑-๑/ R0 หรือเท่ากับ ๑-๑/๑.๕-๒ คือประมาณร้อยละ ๓๓-๕๐ ก็จะ ทำให้ไม่เกิดระบาดหนักของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ แต่โรคดัง กล่าวก็จะดำเนินการเข้าสู่ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ดังนั้นจากข้อมูลการศึกษา ภูมิต้านทานในประชากรไทยพบว่า ภูมิต้านที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อในระลอก แรก รวมทั้งภูมิคุ้มกันที่มีอยู่เดิมมีจำนวนมากพอที่จะป้องกันการระบาดใหญ่ ของโรคได้ จึงไม่เกิดการระบาดใหญ่ในระลอกที่ ๒ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ แต่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ มี ลักษณะการเกิดโรคแบบไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลซึ่งจะพบได้อีกช่วงหนึ่งใน เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมในปีต่อไป สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาสตราจารย์ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรม พื้นเมือง บรรยายเรื่อง “มหากาพย์สดุดีเจืองหาญ” ความโดยสรุปว่า เจือง เป็นชื่อตัวละครสำคัญที่พบในตำนาน พงศาวดาร และมหากาพย์หลาย สำนวน เจืองในมหากาพย์ของชนชาติไทเป็นวีรบุรุษที่สู้รบศัตรูอย่างห้าวหาญ ได้รับชัยชนะ เกียรติยศเป็นที่เลื่องลือ และท้ายที่สุดเสียชีวิตในสนามรบหลัง จากสู้รบอย่างทรหด จึงมีผู้เรียกขานวีรบุรุษผู้นี้อย่างยกย่องว่า “เจืองหาญ” บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของมหา กาพย์สดุดีเจืองหาญแต่ละสำนวนกับวรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษผู้ นี้ และเพื่อศึกษาความสำคัญในสังคมของมหากาพย์สดุดีเจืองหาญ “เจือง” เป็นนามของเทพและบุคคลสำคัญในวรรณกรรมประเภทตำนานและ พงศาวดารของกลุ่มชน ๒ กลุ่ม ได้แก่ ตำนานของขมุและสะเตียงซึ่งเป็นกลุ่ม ชนที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร และตำนานพงศาวดารของกลุ่มชนที่พูด ภาษาตระกูลไท เจืองในตำนานของชนเผ่าขมุมีลักษณะ 2 แบบ แบบหนึ่งเป็น เทพผู้สร้างฟ้าดินและสรรพสิ่ง อีกแบบหนึ่งเป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรม คือ เป็นผู้ให้ความรู้เรื่องการทำมาหากิน วิธีการในการดำรงชีวิตและขนบธรรมเนียม ประเพณีแก่บรรพบุรุษของกลุ่มชนต่าง ๆ “เจียง” ในเรื่องเล่าของเผ่าสะเตียง ก็มีลักษณะเป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรมเช่นกัน กลุ่มชนมอญ-เขมรและม้ง บางกลุ่มยังเชื่อว่า เจือง คือผู้ที่จะช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากการถูกกดขี่ จากชนกลุ่มอื่น และจะช่วยให้มีความสุขสมบูรณ์ในอนาคต อย่างไรก็ดี กลุ่มชนมอญ-เขมรบางสำนวนกล่าวถึงเจืองสู้รบกับแกว ด้วยประเด็นนี้ ตรงกับอนุภาคสำคัญในวรรณกรรมว่าด้วยเรื่องราวของวีรบุรุษนามว่า เจือง หรือ เจืองหาญ ของชนชาติไท เรื่องราวของวีรบุรุษนามว่า เจือง หรือ เจืองหาญ ปรากฏในวรรณกรรม มุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ของกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไท หลายสำนวน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วประเภทตำนาน พงศาวดาร และบทร้อยกรอง ประเภทมหากาพย์ บริเวณที่พบวรรณกรรมดังกล่าว ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคอีสานของไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขต ปกครองตนเองสิบสองพันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน และในกลุ่มคนไทบาง กลุ่มในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พญาเจืองในตำนานและพงศาวดาร ของล้านนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๙ แห่งอาณาจักรเงินยาง และเป็นบรรพบุรุษ ของพระเจ้ามังรายปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา พญาเจืองเป็นคนกล้า หาญ เด็ดเดี่ยว และมีเดชานุภาพมาก เคยช่วยลุงสู้รบกับกองทัพแกวซึ่งยก มาประชิดเมืองเงินยาง และได้ยกทัพไปปราบเมืองแกวปะกันหรือแกวพระกัน ได้ จนมีชื่อเสียงเลื่องลือ พญาเจืองเสียชีวิตขณะสู้รบกับพญาแกวแมนตา ทอกขอกฟ้าตายืน วรรณกรรมประเภทมหากาพย์ที่แต่งขึ้นเพื่อสดุดีวีรบุรุษ นามเจือง หรือ เจืองหาญ ขณะนี้พบใน ๓ ดินแดน คือ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและเขตปกครอง ตนเองสิบสองพันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน วรรณกรรมลาวที่แต่งเป็นมหา กาพย์น่าจะมีหลายสำนวน เท่าที่พบขณะนี้ มีทั้งที่น่าจะเป็นสำนวนของนัก ปราชญ์ราชบัณฑิต ได้แก่ เรื่องท้าวบาเจือง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ท้าวฮุ่งท้าว เจือง และสำนวนพื้นบ้านใช้ชื่อเรื่องต่างๆ กัน เช่น เรื่อง ท้าวยี่ ท้าวเจือง หาญ และท้าวยี่-บาเจือง ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามพบมหากาพย์ สดุดีขุนเจืองหรือเจืองหาญของกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไท ๒ กลุ่ม คือ ไท ดำที่จังหวัดเซินลา และไทที่เมืองกุยเจา จังหวัดเง่อาน แต่ละกลุ่มมีหลาย สำนวน ไทลื้อใน สิบสองพันนา มีมหากาพย์ชื่อว่า คำขับค่าวเจ้าเจืองหาญ ผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวของพญาเจืองในตำนานและ พงศาวดารของล้านนากับขุนเจืองหรือเจืองหาญในมหากาพย์จาก ๓ แหล่ง และพบว่ามีโครงเรื่องหลักตรงกัน แสดงว่า ตำนาน และพงศาวดารล้านนา กับมหากาพย์ของลาวและมหากาพย์ของคนไทในสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนามน่าจะมีที่มาจากเรื่องเล่าเรื่องเดียวกัน ซึ่งเล่าต่อ ๆ กันมา ผู้แต่ง มหากาพย์ได้นำโครงเรื่องดังกล่าวมาพัฒนาให้เป็นบทร้อยกรองขนาดยาว มี การบรรยายให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ สะเทือนอารมณ์ ประกอบด้วยความงาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=