1573_2907

3 ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๒๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่องบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ รองศาสตราจารย์สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา บรรยายผลงานทาง วิชาการ เรื่อง “การคิดเชิงวิพากษ์และการอ้างเหตุผลบกพร่อง : ประเด็น สำคัญทางปรัชญา” ความโดยสรุปว่า การคิดเชิงวิพากษ์เป็นการอ้างเหตุผล อย่างเป็นระบบถูกต้องตามมาตรฐานทางปัญญา เป็นหัวใจสำคัญของปรัชญา และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลรู้จักคิด ใช้เหตุผลอ้างเหตุผลในการอยู่ร่วม กับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักแยกแยะข้อเท็จจริง พิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง สามารถเลือกตัดสินใจสิ่งที่ควรเชื่อควร กระทำได้ด้วยตนเอง ขณะเดียวกับก็สามารถพิจารณาการอ้างเหตุผลที่ บกพร่องและสามารถโต้แย้งได้อย่างมีเหตุผลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือไม่ถูกชักจูง หรือลู่ไหลไปตามกระแสต่าง ๆ ในสังคม ในทางปรัชญามองธรรมชาติที่ สำคัญของมนุษย์คือเป็นผู้มีเหตุผลเป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล หรือสิ่งมีภาวะที่มี เหตุผล เพลโตได้ย้ำและอธิบายความสำคัญของการคิดอย่างไตร่ตรองด้วย เหตุผลที่จะทำให้คนเราเข้าถึงความรู้ที่แท้จริง กระบวนสำคัญที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนคือ “การคิด” ซึ่งเริ่มจากการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นไปสู่การคิด หรือเริ่ม จากสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไปสู่โลกของปัญญา เพลโตเรียกสภาวะของจิตที่คิดว่า เป็นคุณลักษณะของผู้มีความรู้ (scientist) ความเป็นผู้มีความรู้เริ่มจากสิ่งที่ มองเห็น เริ่มต้นนำไปสู่ความจริงที่แท้ซึ่งรู้ได้ด้วยปัญญาไม่ใช่ด้วยการมองเห็น รับรู้ทางประสาทสัมผัสความรู้ศาสตร์ คำว่า “critical” ความหมายโดยทั่วไป คือ การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อหาข้อบกพร่อง นอกจากนี้ยังหมายถึง การคิด ด้วยปัญญาอย่างกระจ่างชัด การประเมินข้อเท็จจริงโดยไม่ใช้อคติส่วนตัว ไปปนนำไปสู่การสรุปอย่างมีเหตุผลว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำหรือควรเชื่อ การคิดเชิงวิพากษ์ถือเป็นมาตรฐานทางปัญญาที่แสดงออกถึงวิธีการคิด อย่างเป็นระบบ มาตรฐานทางปัญญา (intellectual standards) ประกอบ ด้วยลักษณะสำคัญคือ ความกระจ่าง ความเฉพาะเจาะจง ความถูกต้อง ความตรงกับความเป็นจริง ความมั่นคง ความถูกต้องทางเหตุผล ความ สมบูรณ์ และความเป็นธรรม ประโยชน์ของการคิดเชิงวิพากษ์มีหลาย ประการ คือ ประโยชน์สำหรับนักเรียนนักศึกษา การจัดให้นักเรียนนักศึกษา รู้จักคิดเชิงวิพากษ์ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหน้าที่ของผู้สอน นักเรียนนัก ศึกษาแต่ละคนมีโลกทางความคิด ความเชื่อของตนเป็นพื้นฐาน การเริ่ม ทบทวนความคิดความเชื่อของตนเอง การเปิดใจรับฟังความคิดของผู้อื่นที่ ต่างจากตนการรู้จักวิเคราะห์ประเมินความคิดการอ้างเหตุผลของผู้อื่น และ การรู้จักพัฒนาการอ้างเหตุผลของตนเอง ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้เรียน รู้จักคิดวิเคราะห์สิ่งที่ตนเรียน รู้จักหาข้อสรุปด้วยตนเอง ประโยชน์ในการทำงาน การทำงานนอกจากความรู้ความสามารถของ บุคคลแล้ว การมีความคิดที่ดีเป็นระบบ การสามารถสื่อสารกับผู้อื่นรวมถึง การสามารถเผชิญปัญหาแก้ปัญหาได้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายปฏิบัติ ประโยชน์ในการดำรงชีวิต การใช้ชีวิตในสังคมที่ต้องอยู่ในระบบ การเมืองเศรษฐกิจ การรู้จักคิดเชิงวิพากษ์ช่วยให้บุคคลสามารถมองปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ ประโยชน์ในสังคมประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของ ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ ประชาชนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการคิด อย่างใช้วิจารณญาณ การวิพากษ์ เพื่อพิจารณาข้อมูลที่ได้รับการจากฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งโดยไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คุณค่าของการคิดเชิงวิพากษ์คือการช่วยให้บุคคลพ้นจากความเชื่อความ คิดที่ผิด เชื่อตามที่เคยเชื่อกันมา เชื่อตามความคิดของผู้อื่นที่มาชักจูง รวมถึง พ้นจากความคิดอคติ เป็นการช่วยให้บุคคลเป็นตัวของตนเอง ควบคุมตนเอง การอ้างเหตุผล (Argument) เป็นส่วนหนึ่งของความคิด ความเชื่อเชื่อม โยงไปถึงการกระทำ ในทางปรัชญาการอ้างเหตุผลถือเป็นหัวใจสำคัญและ สัมพันธ์กับการคิดเชิงวิพากษ์ เพราะการโต้แย้งในเชิงปรัชญาจะใช้การอ้าง เหตุผลมาสนับสนุนความคิดของผู้พูดในชีวิตของคนเราการพูดจะแฝงด้วยการ อ้างเหตุผลเสมอ การอ้างเหตุผลจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับองค์ ประกอบที่สำคัญ ๒ ประการ ประการแรกข้ออ้างหรือข้อตั้งหลักที่นำมาอ้าง ต้องเป็นความจริง ประการที่ ๒ รูปแบบของการอ้างเหตุผลจะต้องมีความสม เหตุสมผลตามกฎของตรรกศาสตร์ ในสังคมมนุษย์ผู้ที่มีความฉลาดทางความคิด ฉลาดในการพูดมักจะมีวิธีการอ้างเหตุผลที่ทำให้ผู้อื่นคล้อยตามหรือเชื่อตามนั้น สมัยกรีกโบราณโสฟิสท์เป็นพวกที่มีความสามารถในการใช้วาทศิลป์พูด จูงใจให้คนเชื่อคล้อยตามด้วยวิธีการอ้างเหตุผลที่ดูน่าเชื่อถือ แต่เมื่อพิจารณา แล้วจะพบว่าเป็นการอ้างเหตุผลที่บกพร่องซึ่งทางตรรกศาสตร์เรียกว่า fallacy คำว่า fallacy มีหลายความหมาย ได้แก่ บกพร่อง ผิดพลาด ขาด ความสมบูรณ์ ผิด ความเชื่อที่ผิด ข้อสรุปที่ไม่สอดคล้องหรือตรงตามข้อตั้ง หรือข้ออ้าง การอ้างเหตุผลที่บกพร่องย่อมนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดรวม ถึงมีผลต่อการกระทำ มีผู้แบ่งรูปแบบของการอ้างเหตุผลที่บกพร่องหลาย รูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ (๑) การอ้างอำนาจ (๒) การศอกกลับ (๓) การอ้าง ความไม่รู้ (๔) การเย้ยหยัน (๕) การอ้างปรมาจารย์ (๖) การอ้างความน่าสงสาร ขอความเห็นใจ (๗) การรีบสรุป (๘) การอ้างเหตุผลบกพร่องแบบปลุกใจ (๙) การอ้างเหตุผลบกพร่องแบบคาดการณ์จากอดีต (๑๐) การอ้างเหตุผล บกพร่องแบบอ้างสาเหตุผิด (๑๑) การอ้างเหตุผลบกพร่องแบบใช้ภาษา กำกวม (๑๒) การอ้างเหตุผลบกพร่องแบบตั้งประเด็นซ้อน (๑๓) การอ้าง เหตุผลบกพร่องแบบหัวรุนแรง (๑๔) การอ้างเหตุผลบกพร่องแบบทวนปัญหา สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวนศาสตร์ บรรยายเรื่อง “แนวทางการฟื้นฟูและป้องกันการพังทลายชายฝั่งทะเล : กรณีบางขุนเทียน” ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้ง ทางด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามันประมาณ ๒,๗๐๐ กิโลเมตร ปัจจุบัน ประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตรของชายฝั่งทั้งหมดมีปัญหาเรื่องกัดเซาะชายฝั่ง อย่างรุนแรง บางขุนเทียนเป็นพื้นที่หนึ่งเดียวของกรุงเทพมหานครที่ติด ชายฝั่งทะเลและมีปัญหาเรื่องการกัดเซาะพังทลายที่ดินชายฝั่งอย่างรุนแรง ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปี จนถึงปัจจุบันพื้นที่ ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนได้สูญหายไปไม่ต่ำกว่า ๔,๘๐๐ ไร่ และจะหดหาย เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีการแก้ไขที่ถูกวิธีอย่างเร่งด่วน พื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนมีความสมบูรณ์มีทั้งป่าชายเลน สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลานานาชนิด มีการเพาะเลี้ยงชายฝั่งหลายประเภท ซึ่งเสมือน “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของชุมชนชาวบางขุนเทียน นอกจากนี้ยังมีปลาโลมาและนก นานาชนิดที่เหมาะกับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันได้มีการวางแผนและดำเนินการฟื้นฟูชายฝั่งบางขุนเทียนทั้งภาค รัฐและชุมชนเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้วิธีการหลายอย่างรวมถึง วิธีการธรรมชาติคือ ปลูกป่าชายเลน วิธีการธรรมชาติกับภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ ทำรั้วไม้ไผ่และปลูกป่าเลน วิธีการธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้านและ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=